กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เมื่ออาการปวดศีรษะนั้นไม่หายไป

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
เมื่ออาการปวดศีรษะนั้นไม่หายไป

จะทำอย่างไรที่จะหยุดอาการปวดศีรษะตุ๊บ ๆ นั้น และสัญญาณเตือนเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะของคุณที่อาจเป็นอันตราย

เมื่ออาการปวดศีรษะไมเกรนเกิดขึ้น Jacqueline G. ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากนอนพักในห้องมืด และรอจนกว่าอาการปวดนั้นจะหายไป “นี่มันทำให้อ่อนแรงไปมาก” หญิงวัย 73 ปีที่ประสบปัญหากับอาการปวดไมเกรนรุนแรงมาตั้งแต่ช่วงอายุ 20 ปีได้กล่าวไว้ “อาการคลื่นไส้ที่ตามมาในทันที ทำให้ฉันไม่สามารถทานอะไรได้เลย ไม่แม้แต่ขนมปังกรอบ หรือน้ำแข็ง และเป็นอยู่ได้นานทั้งวันตั้งแต่เช้าตื่นนอนจนถึงเที่ยงคืน”

อาการปวดศีรษะไมเกรนนั้นเป็นอาการปวดศีรษะที่รุนแรงมากอย่างนึง เนื่องจากมีอาการติดต่อกัน 4 อาการหลัก ๆ ด้วยกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อาการแรกคือ อาการนำ (prodrome or preheadache) เป็นความรู้สึกป่วย หรืออารมณ์ขุ่นมัว ที่อาจจะมีอาการนำมา 1-2 วันก่อนเริ่มมีอาการปวดศีรษะ
  • จากนั้นอาการที่ตามมาคือออร่า (aura) ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยไมเกรน 20% - เห็นแสงวูบวาบ แสงสว่างจ้า หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์ที่รบกวนการมองเห็นในช่วงเวลานาทีถึงชั่วโมง
  • ถัดมาอาการปวดศีรษะไมเกรนจึงค่อย ๆ เริ่มขึ้น อาการปวดศีรษะที่ค่อน ๆ เป็นหนักขึ้น ที่ทั้งปวดตุ๊บ ๆ คลื่นไส้ และอาจเป็นมากขึ้นตามเสียง หรือแสงที่กระตุ้น
  • ท้ายที่สุดคืออาการระยะภายหลังปวดศีรษะ (postdrome) “headache hangover” ที่จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย และอ่อนล้าเหมือนโดนสูบพลังออกไปเสียหมด โดยอาการนี้คงอยู่ได้เป็นวันหรือมากกว่า

อะไรเป็นสาเหตุของไมเกรน

นักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุได้แน่ชัดถึงสาเหตุของไมเกรน แต่อาการปวดศีรษะเหล่านี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลง และความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง เช่น serotonin ซึ่งเป็นตัวที่ช่วยควบคุมเรื่องอาการเจ็บปวด

ผู้หญิงสามารถเกิดไมเกรนได้มากกว่าผู้ชายมากถึง 3 เท่า เนื่องจากฮอร์โมน estrogen มีส่วนกระตุ้นอาการ แพทย์ระบบประสาทวิทยาจากรพ.Massachusetts “รพ.ร่วมสอนของ Harvard, Dr.John Stakes ได้กล่าวไว้ว่า “หลังจากเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน (menopause) อาการปวดไมเกรนในผู้หญิงนั้นเป็นน้อยลง ดังนั้นแล้วจึงน่าจะมีผลมาจากฮอร์โมน estrogen” แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ป่วยหญิงเช่น คุณ Jacqueline ที่ยังมีอาการปวดไมเกรนต่อเนื่องแม้ว่าจะหมดประจำเดือนมานานแล้วก็ตาม

ผู้หญิงที่มีอาการปวดไมเกรนอยู่บ่อยครั้งมักมีสิ่งกระตุ้น สิ่งกระตุ้นอาการไมเกรนที่พบได้บ่อยได้แก่

  • กลิ่นฉุน
  • ความเครียด
  • นอนหลับไม่เพียงพอ
  • เสียงดัง หรือ แสงสว่างจ้า
  • อากาศที่เปลี่ยนแปลง
  • ภาวะน้ำตาในเลือดต่ำจากการขาดมื้ออาหาร
  • อาหารบางประเภท เช่น ไวน์แดง ช็อคโกแลต ชีส ผลไม้แห้ง ถั่วเปลืองแข็ง ถั่วเขียว เนื้อหมู ซุบ bouillons ที่มีส่วนผสมของ MSG, เบียร์ ขนมปัง น้ำอัดลมที่มีส่วนประกอบของที่ให้ความหวาน เช่น aspartame

โครงสร้างทางกายวิภาคของอาการปวดศีรษะไมเกรน

อาการไมเกรนจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในสมองได้รับการกระตุ้น ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ความเครียด หรืออาหารบางชนิด โดยเซลล์ประสาทต่อไปนี้จะทำการหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่สามารถทำให้หลอดเลือดสมองมีการขยายตัว และอักเสบ แต่อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนมีลักษณะปวดตุ๊บ ๆ

วิธีบรรเทาอาการปวดศีรษะ 

เมื่อพูดถึงการรักษาไมเกรน “การเริ่มต้นการรักษาคือ การกำจัดสิ่งกระตุ้น” Dr.Stakes กล่าว “ก่อนที่เราจะเริ่มให้ยา เราจะเริ่มดูก่อนว่ามีปัจจัยอะไรที่เราสามารถกำจัดหรือลดได้บ้าง”

การจดบันทึกเกี่ยวกับอาหารปวดศีรษะสามารถช่วยชี้ได้ว่าอะไรเป็นสิ่งกระตุ้นสำหรับคุณ ให้ลองจดตามหัวข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้เป็นเวลาหนึ่งเดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เวลาที่อาการปวดศีรษะเริ่ม และหายไป
  • ความรุนแรง และตำแหน่งที่ปวด (เช่น หลังตา หรือ ท้ายทอย)
  • มีสัญญาณเตือนอะไรก่อนหรือไม่
  • สิ่งที่คุณทานในวันนั้น
  • คุณทำอะไรก่อนที่จะเริ่มมีอาการปวดศีรษะ (เช่น ออกกำลังกาย)
  • คุณได้ทำการรักษาอย่างไรบ้าง และวิธีนั้นช่วยหรือไม่

จากนั้นนำสิ่งที่บันทึกนี้ปรึกษากับแพทย์ของท่าน หรือแพทย์ระบบประสาท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่าจะสามารถกำจัด หรือปรับเปลี่ยนสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง หากเพียงแค่การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้นไม่ทำให้อาการปวดศีรษะนั้นหายไป แพทย์อาจเริ่มให้ยาทานในการรักษา โดยมีสองแนวทางด้วยกัน

สำหรับการรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนแบบเฉียบพลัน การรักษานี้จะเน้นในการบรรเทาอาการปวด และคลื่นไส้ โดยคุณจำเป็นต้องทานยาเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มมีอาการปวดศีรษะทันที ยาเหล่านี้ได้แก่

กลุ่มยา Triptans - ยาที่จำเพาะต่อไมเกรน โดยช่วยทำให้หลอดเลือดในสมองนั้นหดแคบลง ได้แก่ frovatriptan (Frova), naratriptan (Amerge), zolmitriptan (Zomig), rizatriptan (Maxalt) และ sumatriptan (Imitrex)

ยาแก้ปวด - NSAIDs รวมถึง aspirin, ibuprofen (Motrin, Advil) ที่สามารถใช้ช่วยบรรเทาอาการไมเกรนที่ไม่รุนแรงได้ Acetaminophen (Tylenol) สามารถใช้ในผู้หญิงที่มีอาการปวดไมเกรนได้ โดยยาแก้ปวดบางประเภทได้ทำสูตรที่เฉพาะต่อไมเกรนโดยเฉพาะ โดยผสมยาแก้ปวดกับคาเฟอีน (เช่น Excedrin Migraine) Indomethacin (Indocin) มีในรูปแบบยาเหน็บสำหรับผู้หญิงที่มักมีอาการคลื่นไส้ร่วมกับอาการปวดศีรษะ

ยาแก้คลื่นไส้ - metoclopramid (Reglan), prochlorperazine (Compazine) แลายาชนิดอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกผะอืดผะอมที่เกิดร่วมกับไมเกรนได้

ข้อควรระวัง การใช้ยารักษาไมเกรนมากไปอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะซ้ำ (rebound headache) ได้ โดยเฉพาะหากคุณมีการใช้ยามากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ปรึกษาแพทย์หากคุณสังเกตว่าคุณเริ่มมีอาการปวดศีรษะมากกว่าปกติในขณะที่กำลังทานยาเหล่านี้อยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาที่ใช้ในการป้องกัน สามารถช่วยคุมอาการไมเกรนได้ “สามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ” โดยยาเหล่านี้จะแนะนำในผู้หญิงที่มีอาการไมเกรนถี่ (มากกว่า 2-3 ครั้ง/สัปดาห์) หรือ ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น

ยาที่ใช้ในการป้องกันได้แก่

Botulinum toxin type A (Botox) สามารถช่วยในผู้หญิงที่มีไมเกรนเรื้อรังอย่างรุนแรงได้ ซึ่งเป็นยาชนิดเดียวกันกับที่ใช้รักษาริ้วรอย มีการศึกษาล่าสุดจาก Journal of the Americal Medical Association ที่พบว่า การฉีด Botox สามารถช่วยลดความถี่ของการเกิดไมเกรนได้ แต่การรักษานี้จำเป็นต้องได้รับยาฉีดบ่อยครั้ง และผลจะช่วยอยู่เพียงไม่กี่เดือน การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ การฝึก biofeedback สมุนไพร เช่น butterbur และ feverfew อาจช่วยในการรักษาไมเกรนได้

อาการปวดศีรษะอื่น ๆ

อาการปวดศีรษะไมเกรนไม่ใช่อย่างเดียวที่ทำให้เกิดความทุกข์กังวล ยังมีอาการปวดศีรษะอื่น ๆ ได้แก่

ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวจะมีลักษณะคือ รู้สึกเหมือนโดนบีบ รัด ตึงอยู่รอบศีรษะทั้งสองข้าง อาการปวดสามารถคงอยู่ได้ตั้งแต่ 30 นาที ถึงหลายวัน อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวนี้สามารถเกิดได้เรื่อย ๆ ไม่บ่อยนัก หรือตามในชีวิตประจำวัน สำหรับการรักษา : หาถึงปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดอาการตึงเครียด เช่น ความเครียด หยุดหายใจระหว่างนอนหลับ ซึมเศร้า กัดฟัน ยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดคือยากลุ่ม NSAIDs

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) อาการปวดศีรษะที่มาทันทีทันใดและเป็นรุนแรง โดยมักปวดมาเป็นชุด ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันของวัน ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือตอนกลางคืน โดยอาการปวดศีรษะนั้นมักเป็นที่ข้างใดข้างหนึ่งและรุนแรงมาก มักเป็นบริเวณหลังตา อาการปวดคงอยู่ได้ตั้งแต่ 5 นาทีถึง 1-2 ชั่วโมง อาจมีอาการน้ำมูกน้ำตาไหล กระสับกระส่าย สำหรับการรักษา การสูดดมออกซิเจนสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ lithium หรือ ยากลุ่ม triptans Calcium-channel blocker และยากันชักอาจช่วยลดความถี่ในการเกิดอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์

อาการปวดศีรษะไซนัส อาการปวดศีรษะชนิดนี้เกิดจากการที่เซลล์บุผิวในโพรงไซนัสนั้นมีอาการบวมและอักเสบ อาการปวดตุ๊บ ๆ มักเกิดบริเวณรอบดวงตา แก้ม และหน้าผาก มักพบว่ามีอาการคัดจมูก ไอ และน้ำมูกสีเขียวเหลือง สำหรับการรักษา : ยาปฏิชีวนะสามารถใช้รักษาไซนัสอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้ ยาพ่นจมูกที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยาแก้คัดจมูก และยาแก้ปวด รวมถึงการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ แต่หากสาเหตุของไซนัสอักเสบเป็นจากโรคทางกายเดิม เช่น ผนังกันช่องจมูกคด (Deviated septum) คุณอาจจะได้รับคำแนะนำให้รับการผ่าตัดรักษา

หากคุณมีอาการปวดหัวอยู่เป็นประจำ คุณอาจเริ่มสังเกตได้ถึงรูปแบบอาการปวดของคุณ ดังนั้นแล้วหากเมื่อไหร่ที่อาการปวดนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือรุนแรงมากขึ้น ให้ไปพบแพทย์ แม้ว่าอาการปวดศีรษะจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณไปแล้วก็ตาม ให้ปรึกษาแพทย์ หรือแพทย์ระบบประสาท เพื่อที่จะได้รับการรักษาที่เหมาะสมกะคุณในการบรรเทาอาการปวด หรือแม้กระทั่งสามารถรักษาให้อาการปวดศีรษะนั้นหายไปและไม่รบกวนชีวิตประจำวันคุณอีกต่อไป

เมื่ออาการปวดศีรษะส่งสัญญาณบอกถึงอันตราย

ในบางราย อาการปวดศีรษะบางส่วนเป็นสัญญาณบอกถึงภาวะอันตราย เช่น เนื้องอก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือหลอดเลือดในสมองโป่งพอง อาการต่อไปนี้เป็นสัญญาณเตือนที่คุณต้องรีบมาโรงพยาบาล

  • อาการปวดศีรษะที่เป็นขึ้นมาทันทีทันใดและรุนแรงมาก
  • อาการปวดศีรษะที่ตามมาด้วยไข้ คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก อ่อนแรงแขนขา สับสน มองเห็นภาพซ้อน คอแข็ง
  • อาการปวดศีรษะที่ “แย่ที่สุดที่เคยมีมาในชีวิต”
  • อาการปวดศีรษะที่เป็นอย่างรุนแรง ในขณะที่คุณแทบจะไม่เคยมีอาการปวดศีรษะมาก่อน
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดตามหลังจากการได้รับการกระทบกระแทก

10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
When headaches won't go away. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/pain/when-headaches-wont-go-away)
Headache that won't go away: Causes and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326091)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป