เมื่อขนคุด (ตรงส่วนนั้น) คอยกวนใจ จะกำจัดอย่างไรให้ได้ผล?

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อขนคุด (ตรงส่วนนั้น) คอยกวนใจ จะกำจัดอย่างไรให้ได้ผล?

เมื่อขนคุด (ตรงส่วนนั้น) คอยกวนใจ จะกำจัดอย่างไรให้ได้ผล?

ปัญหาขนในที่ลับคงเป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจสาวๆ อยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะทำให้ไม่มั่นใจเวลาสวมใส่เสื้อผ้าชิ้นเล็กๆ อย่างชุดว่ายน้ำแล้ว ยังยากต่อการดูแลทำความสะอาด ทำให้เกิดความอับชื้นและกลิ่นไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย แต่ครั้นจะลงมือกำจัดขนด้วยการโกนหรือการแว็กซ์ ก็กลายเป็นต้องเจอกับปัญหาขนคุดตามมาซะงั้น! ปัญหาไม่เพียงทำให้ผิวหนังบริเวณจุดลี้ลับของเราขรุขระเหมือนหนังไก่ แต่ยังก่อให้เกิดอาการคันยุบยิบจนเรากังวลใจอีก … เพื่อให้สาวๆ กลับมาสวมบิกินีเว้าสูงได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง เรามารู้จักขนคุด และวิธีรักษาขนคุดในจุดซ่อนเร้นกันดีกว่า

ขนคุดคืออะไร?

ขนคุด คือการที่รูขุมขนเกิดการอุดตัน จากการสร้างเคอราตินมากกว่าปกติ ทำให้ขนที่ควรจะงอกขึ้นมาไม่สามารถงอกพ้นผิวหนังมาตามปกติได้ จึงเกิดเป็นตุ่มเล็กๆ ขรุขระคล้ายหนังไก่ มักมีอาการระคายเคือง แดงและคันด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

รักษาขนคุดได้อย่างไรบ้าง?

1. ใช้แหนบถอนขน

วิธีนี้ควรใช้กับขนคุดที่งอกออกมาจากรูขุมขนแล้วเท่านั้น ถ้าขนยังอยู่ใต้ผิวหนังอยู่ไม่ควรเอาแหนบไปแคะจนเลือดซิบเด็ดขาด วิธีที่จะทำให้ขนโผล่ออกมาได้ง่ายคือการเช็ดบริเวณนั้นด้วยน้ำอุ่น และสครับผิวเบาๆ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง (ย้ำว่าเบาๆ เท่านั้น! เพราะผิวบริเวณจุดซ่อนเร้นบอบบางมาก) การทำเช่นนี้จะทำให้รูขุมขนเปิด และถอนขนได้ง่ายขึ้น แม้วิธีนี้จะง่ายและประหยัดสุดๆ แต่ก็ต้องใจแข็งไม่น้อย เพราะอาจเจ็บปวดจนน้ำตาร่วงได้เหมือนกัน

2. การใช้ยา/ครีม

ยาที่ช่วยกำจัดขนคุดมีหลายชนิด แต่อย่าลืมว่าจุดเร้นลับตรงนั้นเป็นส่วนเฉพาะที่มีผิวบอบบางเป็นพิเศษ การเลือกยาหรือครีมมาใช้จึงต้องดูให้ถ้วนถี่ ยาที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่

  • ครีมผลัดเซลล์ผิว ที่มักมีส่วนผสมเป็นกรดชนิดต่างๆ เช่น กรดวิตามินเอ กรดซาลิไซลิก ซึ่งจะช่วยผลัดเคอราตินที่ผิวหนัง และทำให้ขนคุดลดลงได้ แต่มีข้อเสียคืออาจกัดและระคายเคืองผิวที่บอบบางได้ ดังนั้น จึงไม่ควรเริ่มใช้ด้วยการชโลมอย่างหนักมือ แต่ควรค่อยๆ ทาทีละนิดดีกว่า
  • ยาทาสเตียรอยด์ มักใช้สำหรับแก้อาการแสบคัน และตุ่มแดง มากกว่าจะช่วยรักษาขนคุดโดยตรง ยาสเตียรอยด์ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น และควรใช้แต่น้อย เนื่องจากการทาเป็นประจำจะทำให้ผิวบางลงได้

3. การเลเซอร์

การใช้เลเซอร์แบบต่างๆ เช่น ไอพีแอล (IPL) จะช่วยกำจัดขนให้ลดน้อยลง รักษาอาการแดง ระคายเคือง และรอยดำจากขนคุดได้ แต่วิธีนี้อาจมีราคาสูง ต้องทำต่อเนื่องหลายครั้ง และไม่สามารถรักษาความขรุขระของผิวได้มากนัก

การดูแลผิวที่จุดซ่อนเร้นเมื่อเกิดขนคุด

  • ไม่แคะ แกะ เกา บริเวณตุ่มขนคุด เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบ และอาจเป็นแผลเลือดออกได้
  • ดูแลความสะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากเหงื่อไคลและความอับชื้น จะทำให้อาการแสบคันยิ่งรุนแรงขึ้น และอาจเกิดการติดเชื้อในรูขุมขนได้
  • ไม่ทำให้ผิวตรงจุดนั้นแห้งเกินไป เพราะผิวที่แห้งจะยิ่งคันและระคายเคือง รวมถึงมีโอกาสเกิดขนคุดลุกลามมากขึ้น ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการล้างด้วยสบู่รุนแรง และอาจทาโลชันหรือออยล์บางๆ เพื่อทำให้ผิวชุ่มชื้นได้
  • สวมชั้นในและกางเกงที่ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อป้องกันการเสียดสี และความอับชื้นในจุดซ้อนเร้น


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ingrown hair cyst: Treatments, causes, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320976)
How to Get Rid of Ingrown Hair, Removal Tips & Remedies. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/ingrown_hair/article.htm)
Treating and Preventing Ingrown Pubic Hair: What to Avoid and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/treating-preventing-ingrown-vaginal-hair)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เคราติน (Keratin) คืออะไร?
เคราติน (Keratin) คืออะไร?

ไขความกระจ่าง ความหมาย และประโยชน์ของเคราติน

อ่านเพิ่ม