เมื่อเทคโนโลยีทางสุขภาพทำให้เราผิดพลาด

เส้นแบ่งระหว่างการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องกับการเข้าใจผิดว่าตนเองป่วยจากข้อมูลออนไลน์
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เมื่อเทคโนโลยีทางสุขภาพทำให้เราผิดพลาด

การวินิจฉัยด้วยตนเองทางออนไลน์กำลังกลายเป็นกิจวัตรของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ตระหนักถึงแหล่งข้อมูลทางสุขภาพออนไลน์ปริมาณมหาศาล และอยากจะรู้สึกว่าตนเองควบคุมร่างกายและสุขภาพได้ แทนที่จะรอนัดพบแพทย์ อธิบายอาการป่วยกับแพทย์ และบางครั้งอาจต้องร้องขอการตรวจบางอย่างเพิ่มเติม คนไข้ผู้มีศักยภาพเหล่านี้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บและเปรียบเทียบการวินิจฉัยแต่ละอย่างกับอาการของตนเองจนกระทั่งพบสิ่งที่น่าจะใช่มากที่สุด

อินเทอร์เน็ตทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ซึ่งช่วยให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสุขภาพของตนและทำให้สามารถตัดสินใจเรื่องทางเลือกในการรักษาได้โดยมีข้อมูล มีตัวอย่างของผู้ที่วินิจฉัยด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องหลังได้รับการวินิจฉัยผิด ๆ มาหลายปี เมื่อเร็ว ๆ นี้คือ ความโชคร้ายของบรองเต้ ดอยน์ แพทย์บอกให้เธอหยุดวินิจฉัยตัวเอง เธอเสียชีวิตจากภาวะที่เธอระบุได้ แต่แพทย์ที่รักษาเธอระบุไม่ได้และเพิกเฉยจนสายเกินไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในอีกแง่หนึ่ง การค้นหาอาการของตนเองจากกูเกิลอาจไม่ใช่ทางออก และในหลายกรณีก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลโดยไม่จำเป็น เปลี่ยนจากพวกหมกมุ่นวินิจฉัยตนเอง(hypochondriac) ให้กลายเป็น cyberchondriac (หมกมุ่นกับการหาโรคให้ตนเองจากการค้นทางออนไลน์) ในปัจจุบันบางคนอาจเสพติดการค้นหาข้อมูลทางสุขภาพออนไลน์ ตรวจตนเอง และหาความมั่นใจ เช่นเดียวกับการเรียกร้องขอตรวจหรือการตรวจคัดกรองที่อาจไม่เหมาะสม

อาการที่เป็นมากขึ้นโดยไม่เป็นอันตราย

อาการที่พบได้บ่อยอาจทำให้ผู้ใช้พร้อมที่จะเริ่มค้นหาแบบเจาะลึกเกี่ยวกับภาวะร้ายแรงที่หาได้ยาก การสำรวจขนาดใหญ่ที่ทำในปี 2008 แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์ที่ใช้ค้นหา (web search engine) มีศักยภาพที่จะเพิ่มความกังวลด้านสุขภาพของผู้ที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์หรือมีเพียงเล็กน้อย

การศึกษาแสดงให้เห็นว่า อัตราที่เพิ่มขึ้นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากปริมาณและการกระจายของข้อมูลด้านการแพทย์ที่ผู้ใช้พบ การใช้คำที่ทำให้รู้สึกตื่นตระหนกตามหน้าเว็บไซต์ที่พวกเขาเข้าดู และแนวโน้มที่คนคนนั้นจะเกิดความวิตกกังวล ในทางตรงกันข้าม บางคนก็สามารถให้การวินิจฉัยตัวเองได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะหากอาการของพวกเขามีความจำเพาะและพบได้ยาก ตัวอย่างเช่น ในกรณีของบรองเต้ บางครั้งแพทย์ก็มองข้ามสิ่งที่ปกตและรักษาตามอาการโดยทั่วไป แม้ที่จริงแล้วจะไม่ใช่ก็ตาม

 

การป้องกันการวินิจฉัยผิดพลาด

Clinical decision support system (CDSSs) เป็นแอปพลิเคชั่นที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ ซึ่งขณะนี้สามารถช่วยผู้ให้บริการทางสุขภาพตัดสินใจได้โดยมีหลักฐานอ้างอิงและสามารถทำนายผลการรักษาได้ ส่วนหนึ่งคือเป็นการตอบสนองต่อคำวิจารณ์ที่ว่าแพทย์ให้การวินิจฉัยผิดพลาดบ่อย ให้การรักษามากหรือน้อยเกินไป หรือไม่ส่งตัวไปรักษาต่อ CDSSs ถือเป็นรูปแบบหลักของปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ และคาดว่าจะมีประสิทธิภาพ และทำงานได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเราปฏิรูปการดูแลทางสุขภาพไปเป็นแบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์

CDSSs ใช้กันมากขึ้นในการตรวจคัดแยก คัดกรอง ประเมินความเสี่ยง ให้การวินิจฉัย การรักษา และการติดตาม และยังสามารถเชื่อมต่อไปยังข้อมูลของผู้ป่วยจากบันทึกอิเล็กทรอนิกส์ของข้อมูลทางสุขภาพได้อีกด้วย

รูปแบบของ CDSSs ที่ได้รับความชื่นชอบจะอ้างอิงมาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลทางพันธุกรรม ทางอาการ(clinical) และข้อมูลทางสังคมและทรัพยากร (socio-demographic) CDSSs เป็นส่วนหนึ่งของ  “การแพทย์ที่พัฒนาให้เหมาะสมกับบุคคล” ที่ไม่ได้อ้างอิงจากประชากร แต่เน้นไปยังยาและการรักษาที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคล การศึกษาของ Dr. Peter Elkin ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ Mount Sinai’s center for Biomedical Informatics ระบุว่า CDSSs ทำให้ขอบเขตของการวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnosis) กว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้มีโอกาสวินิจฉัยถูกต้องได้มากกว่า ใช้เวลาพักในโรงพยาบาลสั้นกว่า ช่วยชีวิต และเกิดคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ทั้งต่อผู้ป่วยและผู้ให้บริการ

ยังไม่มีการใช้ CDSSs กันอย่างกว้างขวางในการทำงานทางการแพทย์ในปัจจุบัน แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายเชื่อว่าเครื่องมือดังกล่าวสามารถช่วยให้เอาชนะกรณีจำเพาะที่เกิดขึ้นในการให้บริการทางสุขภาพในปัจจุบันได้ เทคโนโลยีทางสุขภาพประเภทนี้จะช่วยปิดช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติจริงที่มักมีอิทธิพลต่อกระบวนการวินิจฉัย และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่พอใจ ผู้ป่วยและแพทย์จำเป็นต้องคุ้นเคยกับสิ่งที่เทคโนโลยีทางสุขภาพช่วยเราได้ โดยเอาชนะความท้าทายหากเกิดข้อขัดข้องทางเทคโนโลยีได้ด้วย เมื่อเครื่องมือเหล่านี้ได้รับการพัฒนาไปมากขึ้น ก็มีความหวังว่าผู้ใช้จะมีอุปกรณ์ที่ดีกว่าเพื่อช่วยในการตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่พร้อมและดีกว่าสำหรับทางเลือกในการรักษาของตนเอง


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)