กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

7 สิ่งที่จะเกิดกับร่างกายเมื่อคุณเครียด

เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะแสดงอาการออกมาอย่างไรบ้าง บางอย่างอาจเป็นอาการทั่วไปที่คุณไม่รู้ตัว
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 สิ่งที่จะเกิดกับร่างกายเมื่อคุณเครียด

ความเครียดถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยอาจมีสาเหตุมาจากเรื่องครอบครัว การเรียน การงาน หรือเรื่องปัญหาด้านการเงิน ความเครียดไม่เพียงแต่ทำให้คุณมีอารมณ์ขุ่นมัวเศร้าหมองเท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อร่างกายได้อีกหลายทางเลย 

1. ทำให้หมดแรง

นอกจากความเครียดจะทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลแล้ว มันก็ยังไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาในกระแสเลือด ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ทำให้สมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น และปล่อยพลังงานส่วนเกินออกมาเพื่อให้ร่างกายรับมือกับความเครียด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่หากคุณเครียดบ่อยครั้ง ภาวะอารมณ์นี้ก็จะทำให้สมองจำกัดปริมาณของคอร์ติซอลที่ส่งไปยังกระแสเลือด ส่งผลให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย หรือหมดแรงได้ 

2. ส่งผลต่อความต้องการทางเพศ

ความเครียดเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนของร่างกายได้ ซึ่งฮอร์โมนนี้มีส่วนในการทำงานของระบบสืบพันธุ์ หากคุณปล่อยให้ความเครียดอยู่กับคุณนานเกินไป มันก็อาจทำให้คุณมีความต้องการทางเพศลดลง 

ถ้าไม่อยากให้ชีวิตคู่ หรือเกี่ยวกับเรื่องเพศของตนเองมีปัญหา คุณควรลดระดับความเครียดให้น้อยลง ปรึกษาคู่ชีวิตว่า ตนเองกำลังมีปัญหาอะไรอยู่ และมีภาวะอารมณ์อย่างไร หรืออาจไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา เนื่องจากความเครียดได้ลุกลามไปถึงปัญหาเรื่องบนเตียงแล้ว 

3. ทำให้ท้องผูก

สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกอยู่แล้ว คุณยิ่งต้องรีบหาทางรับมือกับความเครียด เพราะความรู้สึกเครียดอย่างต่อเนื่องสามารถส่งผลต่อฮอร์โมนที่หลั่งโดยต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมที่ควบคุมระบบเผาผลาญ 

หากระดับของฮอร์โมนชนิดนี้ผิดปกติ ก็สามารถทำให้คุณท้องผูกได้ สำหรับวิธีแก้ปัญหาคือ ให้ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีกากไย หรือไฟเบอร์มากๆ รวมถึงดื่มน้ำเยอะๆ แต่หากยังมีอาการท้องผูกอยู่ ก็ควรไปปรึกษาเภสัชเพื่อขอยาระบาย หรือไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

4. ทำให้สิวมาเยือน

ในขณะที่คุณกำลังเครียด หรือสติแตก ระดับของฮอร์โมนเพศที่ชื่อว่า "แอนโดรเจน (Androgen)" จะหลั่งมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาสิวตามมา รวมถึงยังทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะความวิตกกังวลจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา ซึ่งสามารถทำให้เกิดผื่น หรือทำให้ผิวเกิดการติดเชื้อได้ 

5. ความจำแย่ลง

ความเครียดที่เกิดขึ้นหลังจากที่คุณรู้สึกว่า ชีวิตถูกคุกคาม รู้สึกหวาดกลัวบางสิ่งบางอย่าง หรือรู้สึกหมดหนทางขอความช่วยเหลือนั้นสามารถส่งผลต่อสมองส่วนที่เก็บความทรงจำอย่างฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) 

โดยความเครียดจะทำให้สมองส่วนนี้มีขนาดเล็กลง ทำให้คุณจดจำความจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้แย่กว่าเดิม รวมถึงยังทำให้ยากต่อการสร้างความจำใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นได้

6. ผมร่วง

นอกจากความเครียดจะทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนพุ่งสูงจนทำให้สิวขึ้นแล้ว มันยังสามารถทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน อาการนี้มักเกิดขึ้น 3-6 เดือนหลังจากที่คุณเจอสถานการณ์ที่ตึงเครียดมาก 

แต่อาการนี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น การรับประทานอาหารให้สมดุล ร่วมกับการใช้ยาสระผมสำหรับรักษาผมร่วงสามารถช่วยให้เซลล์ต่อมรากผมสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้

7. ทำให้ปวดหลัง

ในขณะที่คุณเครียด อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้น และทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อตกอยู่ในอันตราย เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตรอด หรือที่เรียกว่า "การตอบสนองแบบต่อสู้ (Fight-or-flight response)" 

การตอบสนองแบบนี้สามารถทำให้กล้ามเนื้อของคุณบีบตัวแน่น และอาการอาจหนักขึ้น หากลักษณะงานที่ทำเป็นงานที่ต้องนั่งอยู่กับโต๊ะทั้งวัน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถต่อสู้กับอาการปวดหลังที่เกิดจากความเครียด โดยลุกขึ้นยืนทุกชั่วโมง ลองหาเวลาว่างสัก 5-10 นาทีเพื่อยืดเส้นยืดสาย

ความเครียดสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากกว่าที่เราคิด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรหาวิธีคลายเครียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อทั้งสุขภาพจิต หรือสุขภาพกายในภายหลัง


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Effects of Stress on Your Body. Healthline. (https://www.healthline.com/health/stress/effects-on-body)
Stress symptoms: Effects on your body and behavior - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/stress-management/in-depth/stress-symptoms/art-20050987)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป