สิ่งที่สื่อไม่ได้สอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องเพศ

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สิ่งที่สื่อไม่ได้สอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องเพศ

1. สื่อมีอิทธิพลต่อการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น

การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ของมูลนิธิ Kaiser family พบว่าเด็กอายุ 8-18 ปี ใช้เวลาเฉลี่ย 7 ชั่วโมง 38 นาที ไปกับการเสพสื่อบันเทิงทุกวัน การศึกษาก่อนหน้านี้ก็แสดงให้เห็นเช่นกันว่าสื่อบันเทิงเป็นแหล่งข้อมูลใหญ่ในเรื่องเพศสำหรับวัยรุ่น โชคไม่ดีที่เมื่อภาพลักษณ์เรื่องเพศจากสื่อขาดข้อมูลไปหลายอย่าง แน่นอนว่าภาพลักษณ์เรื่องเพศจากสื่อไม่ได้เลวร้ายไปเสียทั้งหมด แต่ก็มีเรื่องทางเพศอีกมากที่วัยรุ่นจะไม่ได้เรียนรู้จากรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่ มิวสิกวิดีโอ และภาพยนตร์

2. การพูดคุยเรื่องเพศเป็นสิ่งสำคัญของเพศสัมพันธ์

สื่อมักจะแสดงให้เห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องง่าย ๆ และเป็นไปตามอารมณ์ เราสามารถเห็นตัวละครในโทรทัศน์และภาพยนตร์มีเพศสัมพันธ์กันในรถ บนเตียง และในบาร์ภายในไม่กี่ชั่วโมงแรก (หรือนาที ! ) ที่ได้พบกัน เราแทบจะไม่เคยเห็นตัวละครพูดคุยกันเรื่องสถานะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของพวกเขา หรือต่อรองเพื่อมีเพศสัมพันธ์โดยมีการป้องกัน ความจริงก็คือ เรื่องหลัก ๆ ของการมีเพศสัมพันธ์คือการพูดคุยสื่อสารเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังจะทำ และจะทำมันอย่างไร การไม่ใช้วิจารณญาณกับบทสนทนาทางเพศในสื่อทำให้วัยรุ่นมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. การมีเพศสัมพันธ์มีความเสี่ยง

การศึกษาในปี 2008 โดย Nabi และ Clark พบว่าแทบไม่มีการแสดงความเสี่ยงและผลที่ตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อเลย น่าเศร้าที่งานวิจัยของพวกเขาเปิดเผยว่ามีเพียง 14% ของรายการที่มีเนื้อหาทางเพศในปี 2005 มีการถกเถียงในประเด็นของผลที่ตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ยิ่งไปกว่านั้นคือแทบไม่มีการแสดงให้เห็นการมีเพศสัมพันธ์โดยมีการป้องกันเลย เมื่อวัยรุ่นได้รับข้อมูลเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยจากภาพยนตร์ งานวิจัยพิสูจน์ให้เห็นว่ามีผลตอบรับในแง่บวกสำหรับความเห็นที่ว่าการคุมกำเนิดไม่ใช่เรื่องจำเป็นในการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้นด้วย

4. ผู้หญิงไม่ได้เป็นเพียงวัตถุ

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ดูละครซิทคอมและละครโทรทัศน์มีแนวโน้มจะเชื่อในกรอบเหมารวมทางเพศ (sexual stereotypes) และการเป็นเพียงวัตถุของผู้หญิง

ยิ่งไปกว่านั้น เด็กผู้ชายที่ดูมิวสิกวิดีโอที่เล่นอย่างต่อเนื่องหรือรายการมวยปล้ำ มีแนวโน้มที่จะเห็นว่าการข่มขืนแฟนเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ สิ่งที่ต้องการสรุปก็คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้รับการยินยอมนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยอมรับได้ และไม่ใช่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงทุกคนจะชอบการมีเพศสัมพันธ์ในลักษณะที่เหมือนกันไปทั้งหมด แต่สำหรับผู้เยาว์ที่เคยเห็นเรื่องนี้ผ่านทางสื่อเพียงอย่างเดียวก็อาจไม่เข้าใจประเด็นดังกล่าวชัดเจนอย่างที่ควรจะเป็น

5. เพศสัมพันธ์ไม่ได้ดีเสมอไป

ในสื่อ ตัวละครที่มีเพศสัมพันธ์โดยยินยอมมักแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีช่วงเวลาที่ดีทุกครั้ง ความเป็นจริงคือ บางครั้งก็ดี แต่บางครั้งก็ไม่เป็นอย่างนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นค่ำคืนที่สมบูรณ์แบบสำหรับความปรารถนาที่ได้วางแผนไว้แล้วก็ตาม เพศสัมพันธ์มักไม่ได้เป็นไปตามที่เราหวังไว้ และสิ่งที่ไม่ได้แสดงให้เห็นคือความผิดหวังที่คุณอาจรู้สึกได้เมื่อการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เป็นไปตามคาด เช่นเดิม งานวิจัยกล่าวไว้ว่าความผิดหวังดังกล่าวอาจมีบทบาทสำคัญในเรื่องเพศสำหรับวัยรุ่น โดยเฉพาะเมื่อเป็นประสบการณ์ครั้งแรก และที่น่าตกใจคือ ความเห็นต่อเนื้อหาทางเพศในโทรทัศน์มีความเชื่อมโยงกับความน่าจะเป็นที่จะพบความผิดหวังมากกว่าภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์

6. ไม่ใช่ว่าทุกคนจะไปถึงจุดสุดยอดได้ง่าย ๆ

ไม่ใช่ผู้ชายทุกคน และแน่นอนว่าไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนจะสามารถไปถึงจุดสุดยอดได้จากการกระแทกและบดเบียด แต่ในสื่อมักจะแสดงให้เห็นการถึงจุดสุดยอดว่าเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายไม่ว่าผู้หญิงจะอยู่ข้างล่างหรือข้างบน ยิ่งไปกว่านั้น สื่อยังมักแสดงให้เห็นผู้หญิงในลักษณะที่ไม่มีขีดจำกัดทางกายและความพึงใจเมื่อพวกเธอกำลังจะไปถึงจุดสุดยอด เป็นเรื่องจริงที่ผู้หญิงหลายคนรักการถึงจุดสุดยอด แต่อีกส่วนหนึ่งก็ไปถึงได้อย่างยากลำบาก ไม่ว่าจะทั้งทางร่างกายหรือจิตใจ และผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้ถึงจุดสุดยอดได้จากการสอดใส่ทางช่องคลอดเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นความจริงที่คุณจะไม่มีทางได้รู้จากฉากเพศสัมพันธ์ที่แสดงให้เห็นในจอแน่

และยังมีใบหน้าเปี่ยมสุขที่มักจะใช้กันทั่วไป ซึ่งแสดงให้เห็นผู้หญิงครางและบิดตัวด้วยความสุขสม ซึ่งความเป็นจริงคือ ทุกคนจะมีการถึงจุดสุดยอดในแบบของตัวเอง ในเวลาของตนเอง ซึ่งจะนานกว่ามากหากเทียบกับช่วงเวลาไม่กี่นาทีที่แสดงให้เห็นในรายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่เน้นฉากอย่างว่าเพื่อให้เกิดกระแสฮือฮา


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)