ถอดหรัส สีของน้ำปัสสาวะ(ฉี่) บ่งบอกอะไรกับเราได้บ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

คุณทราบหรือไม่ว่าสีของน้ำปัสสาวะที่เราขับออกมาในแต่ละครั้งนั้นสื่อสารอะไรได้มากมายเกี่ยวกับร่างกายของเรา เช่น ระดับของน้ำในร่างกาย หรือแม้กระทั่งการทำงานของอวัยวะต่างๆภายใน การที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสีของน้ำปัสสาวะเหล่านี้อย่างถูกต้องจะช่วยให้เรารับรู้ถึงปัญหาสุขภาพที่กำลังซุ่มก่อตัว เพื่อที่จะได้หาทางแก้ไขได้อย่างทันเวลา

ถอดรหัสสีของน้ำปัสสาวะ

เมื่อพูดถึงสีของน้ำปัสสาวะแล้ว หลายคนมักนึกถึงเพียงสีใส และสีเหลือง แต่ความจริงแล้วสีของน้ำปัสสาวะมีมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำตาล สีแดง หรือแม้กระทั้งสีเขียวหรือสีฟ้า แน่นอนว่าสีกลุ่มหลังนี้ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยนักและฟังดูไม่ปกติเสียเท่าไหร่ เราจึงมีคำแนะนำในการถอดรหัสสีของน้ำปัสสาวะเหล่านี้มาฝาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ปัสสาวะสีใส

หากน้ำปัสสาวะมีสีใสมากจนเหมือนน้ำเปล่า แปลว่าระดับน้ำในร่างกายนั้นค่อนข้างสูงมาก ความจริงแล้วการดื่มน้ำมากนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ผลกระทบจากการดื่มน้ำที่มากเกินไปจนทำให้น้ำปัสสาวะมีสี 'ใสแจ๋ว' ก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน ระดับของน้ำในร่างกายที่สูงเกินไปจะทำให้เกิดภาวะโซเดียมหรือเกลือในเลือดเจือจาง และภาวะนี้สามารถส่งผลให้สมองทำงานได้ช้าลงหรือแม้กระทั่งหยุดทำงานได้ในที่สุด

2. ปัสสาวะสีเหลือง

สีของน้ำปัสสาวะที่อยู่ในเกณฑ์ปกติก็คือสีเหลืองอ่อน ซึ่งบ่งบอกว่าน้ำในร่างกายอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว แต่เมื่อไหร่ที่สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มคล้ายสีของน้ำผึ้ง ร่างกายกำลังเตือนว่าคุณดื่มน้ำน้อยเกินไป

3. ปัสสาวะสีน้ำตาล

เมื่อพบว่าน้ำปัสสาวะมีสีน้ำตาลหรือสีเหลืองเข้มปนน้ำตาล สาเหตุอย่างหนึ่งเลยก็คือการที่ร่างกายขาดน้ำเป็นอย่างมาก แต่หากน้ำปัสสาวะยังคงมีสีน้ำตาลอยู่ แม้ว่าจะดื่มน้ำเพิ่มมากขึ้นแล้ว นั่นแปลว่าคุณอาจกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเกี่ยวกับตับ ส่วนใหญ่แล้วมักมีสาเหตุมาจากการตกค้างของเกลือน้ำดี (bile salts) ที่ร่างกายขับออกไม่หมด ทางที่ดีควรรีบปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้

4. ปัสสาวะสีแดง

การที่สีของน้ำปัสสาวะมีสีแดงหรือชมพูโดยที่ไม่ได้มาจากสีของอาหารหรือประจำเดือนนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก เพราะสีแดงที่เจือปนออกมาในน้ำปัสสาวะนั้นคือเลือดนั่นเอง ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะปนเลือดนั้นมีอยู่มากมาย อย่างเช่น โรคไต โรคนิ่วในไต โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ และโรคมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งไต กระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก หากคุณกำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

5. ปัสสาวะสีเขียว หรือ สีฟ้า

หากพบว่าน้ำปัสสาวะสีเขียวหรือสีฟ้าคงเป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่น้อย เพราะว่าพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก การถอดรหัสปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องจึงเป็นไปได้ยากเช่นกัน ปัจจุบันมีการระบุโรคที่เกี่ยวข้องไว้เพียงโรคเดียว นั่นก็คือ โรคผีดูดเลือด (หรือโรคพอร์ไฟเรีย - Porphyria) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นไม่มากนักในประเทศไทย หากไม่แน่ใจว่าตนกำลังเป็นโรคนี้หรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาที่มาของน้ำปัสสาวะสีแปลกนี้โดยด่วน


กลิ่น และปริมาณฟองของปัสสาวะ

นอกจากสีแล้ว มีข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับ กลิ่น และ ปริมาณฟอง ที่มาพร้อมกับน้ำปัสสาวะ ว่าสามารถบ่งบอกถึงภัยสุขภาพได้ด้วยหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำตอบเกี่ยวกับ 2 ข้อสงสัยไว้ดังนี้

  1. กลิ่นของน้ำปัสสาวะนั้นมีกลิ่นเหม็นอยู่แล้วตามธรรมชาติ ซึ่งกลิ่นนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่เรารับประทานเข้าไปและไม่สามารถใช้เป็นสิ่งชี้วัดการทำงานของอวัยวะภายในได้
  2. การที่น้ำปัสสาวะมีฟองมากนั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการที่น้ำปัสสาวะถูกขับออกมาด้วยแรงเบ่งที่สูง แต่ในบางกรณีที่มีฟองมากเป็นพิเศษก็เป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพไตได้เช่นกัน

เมื่อพบว่าน้ำปัสสาวะมีสีผิดปกติหรือมีฟองมากเป็นพิเศษและไม่แน่ใจว่าเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปหรือเกิดจากปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Urine: Color, Odor, and Your Health. WebMD. (https://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/truth-about-urine#1)
5 causes of dark urine. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324469)
Urine Color Chart: What’s Normal and When to See a Doctor. Healthline. (https://www.healthline.com/health/urine-color-chart)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป