กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์

ยาอะไรบ้างที่ควรหยุดใช้ หากตั้งใจจะตั้งครรภ์

เรื่องสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้เมื่อคิดจะตั้งครรภ์ หรือกำลังตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและทารกในครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาอะไรบ้างที่ควรหยุดใช้ หากตั้งใจจะตั้งครรภ์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หากกำลังจะตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างตั้งครรภ์ ควรหยุดใช้ยาเพื่อความปลอดภัยต่อแม่และทารก เช่น ยาเสพติดทุกชนิด แอลกอฮอล์ ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดทุกชนิด กลุ่มยาระบบทางเดินอาหาร กลุ่มยาฆ่าเชื้อ กลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน
  • งดใช้กลุ่มยาแก้ปวดอักเสบ (non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs) ได้แก่ ไดโคลฟีแนก(diclofenac) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) โดยเฉพาะข้อหลังที่อาจส่งผลต่อการตกไข่ของผู้หญิง การฝังตัวของตัวอ่อน  
  • งดใช้กลุ่มยาระบบผิวหนัง โดยเฉพาะยารักษาสิวโดยเฉพาะ Tetracycline หรือ Isotretinoin รวมถึงยา Retin-A เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดได้
  • หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่แล้วและตั้งใจจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ได้สูงกว่าปกติ
  • ไม่ว่าคุณจะสุขภาพแข็งแรง หรือมีปัญหาสุขภาพ หากคิดจะตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างตั้งครรภ์ ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณและทารกในครรภ์ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง

แม้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะแนะนำว่า ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงกำลังตั้งครรภ์ควรหยุดรับประทานยาทุกชนิด แต่ความเจ็บป่วยก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณจึงอาจต้องใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสามัญประจำบ้าน เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ ด้วยตัวเอง 

อย่างไรก็ตาม มียาบางชนิดที่ควรหยุดใช้โดยเด็ดขาด (pregnancy category: X) เพราะพบว่า เป็นอันตรายต่อแม่และทารก และมีโทษมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากกำลังจะตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างตั้งครรภ์ ตัวอย่างยาที่ควรหยุดใช้มีอะไรบ้าง?

ยาเสพติดทุกชนิด แอลกอฮอล์ ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดทุกชนิด กลุ่มยาระบบทางเดินอาหาร กลุ่มยาฆ่าเชื้อ กลุ่มยาแก้ปวดอักเสบ (non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs)

กลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน กลุ่มยาระบบผิวหนัง กลุ่มยาระบบหัวใจและหมุนเวียนโลหิต กลุ่มยาระบบประสาท ยารักษาโรค SLE 

รายละเอียดของยาในแต่ละกลุ่ม ที่ควรหยุดใช้หากกำลังจะตั้งตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างตั้งครรภ์

กลุ่มยาระบบทางเดินอาหาร

ได้แก่ ไมโสพรอสทอล (misoprostol)

กลุ่มยาฆ่าเชื้อ

ได้แก่ เมทโทรนิดาโซล (metronidazole) กริซิโอฟัลวิน (Griseofulvin) TMP/SMX แบคทริม (Bactrim)

กลุ่มยาแก้ปวดอักเสบ (non-steroidal anti-inflammatory drugs; NSAIDs)

ได้แก่ ไดโคลฟีแนก(diclofenac) ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เซเลค็อกซิป (celecoxib) ในไตรมาสที่สาม

  • Ibuprofen อาจส่งผลต่อการตกไข่ในผู้หญิง และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีสภาพไม่เหมาะสมแก่การฝังตัวของตัวอ่อน คุณผู้หญิงจึงควรงดใช้ยาตัวนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่สาม

กลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน

ได้แก่ เมทโทเทรกเสด (methotrexate)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กลุ่มยาระบบผิวหนัง

ได้แก่ ยารักษาสิวบางชนิด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงที่มีการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดสิวบริเวณต่างๆ มากกว่าปกติ หากเป็นสิวในระหว่างตั้งครรภ์ สามารถรักษาได้โดยใช้ยาทาภายนอก เช่น  Benzoyl peroxide gel ยาต้านแบคทีเรียชนิดทาภายนอก เช่น Clindamycin gel หรือ Erythromycin gel

ส่วนยาที่ควรหลีกเลี่ยงเด็ดขาด ได้แก่ Tetracycline หรือ Isotretinoin รวมถึงยา Retin-A เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกเกิดความผิดปกติแต่กำเนิด 

หากคุณกำลังรับประทานยาในกลุ่มนี้อยู่ให้หยุดยาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนพยายามจะตั้งครรภ์ และควรงดใช้ยาดังกล่าวในระหว่างตั้งครรภ์

กลุ่มยาระบบหัวใจและหมุนเวียนโลหิต

ได้แก่ ยาลดไขมัน (กลุ่ม statins) วาฟาริน (warfarin

สำหรับยารักษาโรคความดันโลหิตสูง หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อยู่แล้วและตั้งใจจะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน โดยแพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร เพื่อให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับที่น่าพอใจก่อน 

จากนั้นจึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ได้สูงกว่าปกติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ยาหลายตัวที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง เช่น ACE inhibitors ยังอาจไม่ปลอดภัยหากรับประทานในขณะตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังมียาลดความดันโลหิตสูงที่สามารถใช้ได้ขณะตั้งครรภ์ 

ดังนั้นคุณจึงควรมีการฝากครรภ์และติดตามประเมินผลโดยแพทย์อย่างต่อเนื่อง

กลุ่มยาระบบประสาท

ได้แก่ ไตรอะโซแลม (triazolam) ทีมาซีแปม (temazepam)

มีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงมักมีอาการปวดศีรษะไมเกรนหลังจากการตั้งครรภ์ และผู้ที่เป็นไมเกรนอยู่แล้วก็มักมีอาการบ่อยขึ้น หรือปวดศีรษะรุนแรงขึ้น เนื่องจากความแปรปรวนของฮอร์โมนและความวิตกกังวลจากการตั้งครรภ์

แต่การใช้ยาเพื่อรักษาอาการไมเกรนบางชนิดยังไม่มีการยืนยันว่า ปลอดภัยและสามารถใช้ได้ในขณะตั้งครรภ์ เช่น 

  • ยา Ergotamine (Cafergot): ห้ามใช้ขณะตั้งครรภ์ 
  • ยา Imitrex (ยาฉีด): ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดนี้
  • ยา Propranolol: ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดนี้ในช่วงก่อนตั้งครรภ์

ส่วนยารักษาไมเกรนที่สามารถใช้ได้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ได้แก่ ยา Acetaminophen ยากลุ่ม Narcotics

    ยารักษาโรค SLE

    โรค Systemic Lupus Erythematosus (SLE) เป็นโรคความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ หากมีอาการรุนแรงระหว่างตั้งครรภ์ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะคลอดก่อนกำหนด และภาวะแท้งบุตร 

    การรักษาโรค SLE ในบางครั้งต้องใช้ยาสเตียรอยด์ปริมาณสูง เช่น prednisolone ที่อาจเป็นอันตรายหากใช้ในช่วงก่อน หรือระหว่างตั้งครรภ์ 

    ดังนั้นผู้ป่วยโรค SLE จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าจะตั้งครรภ์ได้หรือไม่ เพราะผู้ป่วยโรค SLE หลายคนที่ควบคุมอาการได้ ก็สามารถตั้งครรภ์และคลอดทารกที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ตามปกติ

    สิ่งสำคัญที่ผู้หญิงซึ่งกำลังเริ่มตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงกำลังตั้งครรภ์ ควรปฏิบัติคือ การฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อรับการตรวจและดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ 

    ไม่ควรหาซื้อยามาใช้ด้วยตนเองอย่างเด็ดขาด ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัดเท่านั้น  

    เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอปiOS และ Android 


    10 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    V. Ahuja et al., Drugs contraindicated during pregnancy, Journal of Veterinary Pharmacology & Toxicology 2002.
    Ronald A. Black et al., Over-the-Counter medications in pregnancy (https://www.aafp.org/afp/2003/0615/p2517.html), 15 February 2020.
    Punam Sachdeva et al.,Drug use in pregnancy; A Point to ponder (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2810038/), 15 February 2020.

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

    บทความต่อไป
    ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
    ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

    เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

    อ่านเพิ่ม
    อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
    อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

    เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

    อ่านเพิ่ม
    การพัฒนาของทารกในครรภ์
    การพัฒนาของทารกในครรภ์

    เปิดปฏิทิน 9 เดือนของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

    อ่านเพิ่ม