กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เลี้ยงเอ็มบริโอแบบใดในการทำ IVF ที่ให้ผลดีที่สุด ?

การเลี้ยงเอ็มบริโอภายหลังจากการปฏิสนธิไข่กับอสุจิในกระบวนการทำ IVF มีขั้นตอนอย่างไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และประเภทไหนดีที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เลี้ยงเอ็มบริโอแบบใดในการทำ IVF ที่ให้ผลดีที่สุด ?

จากแผนภาพด้านล่าง จะเห็นว่า หลังการปฏิสนธิในการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ เอ็มบริโอจะเจริญและเพิ่มจำนวนเซลล์ขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในท่อนำไข่ไปจนถึงผนังมดลูกซึ่งเป็นที่ฝังตัว จนกระทั่งพัฒนากลายเป็นทารกในครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในระหว่างการทำ IVF จะมีการปรับสภาพห้องปฏิบัติการให้คล้ายกับภายในท่อนำไข่และมดลูก เพื่อให้เอ็มบริโอสามารถเจริญได้เช่นเดียวกับภายในร่างกาย ก่อนที่จะย้ายเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูก

การเลี้ยงเอ็มบริโอเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ในอดีต คลินิกต่างๆ สามารถเลี้ยงเอ็มบริโอได้ถึงระยะแรกของการแบ่งตัวเท่านั้น คือประกอบด้วย 5 - 7 เซลล์ ซึ่งก็ได้ผลดีในระดับหนึ่ง แต่ทุกวันนี้คลินิกจำนวนมากสามารถเลี้ยงเอ็มบริโอได้ถึงระยะบลาสโตซิสต์ คือประกอบด้วย 60 - 100 เซลล์ และสามารถแยกเอ็มบริโอได้เป็นส่วนเซลล์ที่อยู่ด้านใน (ซึ่งจะกลายเป็นฟีตัสในอนาคต) และส่วนเปลือกหุ้มด้านนอก (Trophectoderm) ซึ่งจะกลายไปเป็นรก

การเลี้ยงเอ็มบริโอจนถึงระยะบลาสโตซิสต์ ถือเป็นการคัดกรองเอ็มบริโอที่ด้อยคุณภาพออกไปก่อนจะนำเข้าสู่มดลูก เพราะเอ็มบริโอที่สมบูรณ์ แข็งแรง และเจริญได้ดีเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าสู่ระยะบลาสโตซิสต์ได้ ส่วนเอ็มบริโอที่คุณภาพต่ำจะหยุดเจริญภายในจานเพาะเชื้อ

ข้อดีของการเลี้ยงเอ็มบริโอจนถึงระยะบลาสโตซิสต์

ข้อดีของการเลี้ยงเอ็มบริโอจนถึงระยะบลาสโตซิสต์ มีดังนี้

  • มีอัตราความสำเร็จสูงกว่า ในการนำเข้าสู่มดลูกแต่ละครั้ง เอ็มบริโอที่เจริญถึงระยะบลาสโตซิสต์ มีโอกาสที่จะนำไปสู่การตั้งครรภ์และคลอดเป็นทารกได้สูงกว่า มีการรวบรวมจากผู้ป่วยกว่า 1,600 คน ในการศึกษา 15 ชิ้น ซึ่งพบว่าการนำเอ็มบริโอระยะบลาสโตซิสต์เข้าสู่มดลูก มีโอกาสคลอดเป็นทารกที่มีชีวิตรอดได้สูงกว่าการใช้เอ็มบริโอในระยะแรกของการแบ่งตัว 1.5 เท่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ใช้เอ็มบริโอระยะบลาสโตซิสต์ยังมีโอกาสเกิดความล้มเหลวในการนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกต่ำกว่าด้วย
  • ปลอดภัยมากกว่าในการนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกเพียง 1 เอ็มบริโอ นอกจากเอ็มบริโอที่ใช้จะมีสภาพสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว แพทย์ยังสามารถนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกเพียงเอ็มบริโอเดียวได้ในการทำ IVF แต่ละครั้ง และมีโอกาสสำเร็จสูงขึ้นมาก การนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกเพียงเอ็มบริโอเดียวจะทำให้โอกาสเกิดครรภ์แฝดลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดกับแม่และทารกในครรภ์ได้

  • ปลอดภัยกว่าสำหรับการตรวจทางพันธุกรรม การเลี้ยงเอ็มบริโอจนถึงระยะบลาสโตซิสต์มีผลดีกับผู้ที่ต้องการตรวจพันธุกรรมในเอ็มบริโอก่อนนำเข้าสู่มดลูก เพราะเอ็มบริโอที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ส่วนมากจะไม่สามารถเจริญไปเป็นทารกและคลอดออกมาอย่างปลอดภัยได้ แต่การนำเซลล์บางส่วนออกมาจากเอ็มบริโอในระยะแรกของการแบ่งตัว จะสร้างความเสียหายต่อเอ็มบริโอได้มากกว่าในระยะบลาสโตซิสต์
  • ปลอดภัยกว่าสำหรับการเก็บแช่แข็งและนำมาใช้ใหม่ การเลี้ยงเอ็มบริโอจนถึงระยะบลาสโตซิสต์เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการเก็บเอ็มบริโอแช่แข็งไว้แล้วนำมาใช้ภายหลัง เพื่อทิ้งระยะไว้รอจนฮอร์โมนของผู้หญิงกลับเข้าสู่ภาวะสมดุล เอ็มบริโอก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ในช่วงที่มดลูกมีสภาพเตรียมพร้อมมากที่สุด

กรณีที่ต้องใช้เอ็มบริโอในระยะแรกของการแบ่งเซลล์

มีบางกรณีที่แพทย์ตัดสินใจหยุดการเจริญของเอ็มบริโอภายในจานเพาะเชื้อไว้เพียงระยะแรกของการแบ่งตัว แล้วนำเข้าสู่มดลูกเลย เช่น เจ้าหน้าที่ประจำคลินิกไม่เชี่ยวชาญในการเลี้ยงเอ็มบริโอจนถึงระยะบลาสโตซิสต์ แต่สามารถเลี้ยงเอ็มบริโอถึงระยะแรกของการแบ่งตัวได้

ที่มาของข้อมูล

Growing Embryos To Cleavage or Blastocyst Stage (https://www.fertilityiq.com/courses/ivf-in-vitro-fertilization/cleavage-vs-blastocyst-embryos-day3-day5#embryo-development)


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
IVF - What happens. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/ivf/what-happens/)
Egg Donor IVF: The Basics You Should Know. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/egg-donor-ivf-basics-4114768)
Embryo culture media for human IVF: which possibilities exist?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3939101/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)