วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ตกขาวเป็นสีขาว ถือว่าไม่มีความผิดปกติจริงหรือไม่?

ตกขาวสีขาวสามารถบอกความผิดปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอะไรได้บ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ตกขาวเป็นสีขาว ถือว่าไม่มีความผิดปกติจริงหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การมีตกขาวเป็นสีขาวใสซึ่งเป็นสีปกติของตกขาว ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่มีภาวะ หรือความผิดปกติของสุขภาพเลย
  • การติดเชื้อราทำให้ตกขาวเป็นสีขาวเหลือง สีขาวขุ่น สีเทา และมีกลิ่นเหม็นได้โดยเฉพาะเชื้อยีสต์
  • ผู้หญิงที่พยายามมีลูกสามารถสังเกตตกขาวเพื่อดูช่วงไข่ตกของตนเองได้ โดยในช่วงวันแรกๆ ที่ไข่ตก ตกขาวจะเป็นมูกเหนียวสีใสมากกว่าสีขาวและมีปริมาณมากกว่าปกติ
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน โรคติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ตกขาวจะมีสีเหลือง มีหนองปน และมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
  • วิธีสังเกตว่า ตกขาวของคุณผิดปกติหรือไม่ ให้สังเกตที่กลิ่น และอาการระคายเคือง หากตกขาวมีกลิ่นแรง และรู้สึกคันช่องคลอด มีผื่นแดงรอบๆ อวัยวะเพศ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ตกขาวเป็นสารคัดหลั่งบริเวณช่องคลอดซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของผู้หญิง โดยตกขาวจะทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นบริเวณช่องคลอด และปากมดลูก 

นอกจากนี้ตกขาวยังสามารถเป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้ เช่น การมีตกขาวสีเขียว สีเหลือง หรือสีแดงอมชมพู

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คุณจะไม่ได้มีตกขาวเป็นสีอื่นที่ผิดปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การมีตกขาวเป็น “สีขาว” คือ ความปกติของร่างกาย ตรงกันข้ามการมีตกขาวสีขาวนั้นอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในร่างกายก็เป็นได้

เรามาดูพร้อมๆ กันว่า ตกขาวสีขาวสามารถบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพอะไรได้บ้าง

ลักษณะตกขาวปกติ

ตกขาวปกติจะเป็นมูกเหลวใส มีลักษณะคล้ายแป้งเปียก อาจมีสีขาวปน ไม่มีกลิ่น ไม่ทำให้รู้สึกคัน โดยปกติจะมีทุกวัน แต่มักมีปริมาณน้อย และมากขึ้นในช่วงใกล้มีประจำเดือน หรือตกไข่

สาเหตุที่มักทำให้ตกขาวสีขาวเกิดการเปลี่ยนแปลง

แม้จะยังมีตกขาวเป็นมูกสีขาวใสอยู่ แต่หากกลิ่นของตกขาว ความใส หรือปริมาณมีการเปลี่ยนแปลงไปก็อาจบ่งบอกว่า ร่างกายของคุณกำลังมีความผิดปกติ หรือกำลังมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เช่น

1. การติดเชื้อรา

การติดเชื้อราบริเวณช่องคลอดมักทำให้ตกขาวเปลี่ยนจากสีขาวมาเป็นสีขาวเหลือง สีขาวขุ่น หรือเทา และมีกลิ่นเปรี้ยวคล้ายนมบูด

เชื้อราที่มักทำให้ตกขาวมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ เชื้อยีสต์ (Vaginal Yeast Infection) ชื่อว่า “แคนดิดา อัลบิแคน (Candida Albicans)” 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เชื้อราตัวนี้จะส่งผลให้ตกขาวเปลี่ยนเป็นก้อนสีขาวขุ่น หรือคล้ายเศษเนยแข็ง (Cottage cheese) ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว หรือเหลืองเมื่ออาการลุกลามหนักขึ้น

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อยีสต์จะมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็วที่สุด

  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ผู้ป่วยบางรายอาจมีกลิ่นเหม็นขั้นรุนแรง
  • รู้สึกคันระคายเคืองบริเวณช่องคลอด โดยเฉพาะเวลาปัสสาวะ
  • รู้สึกเจ็บแสบช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • รอบๆ อวัยวะเพศ หรือช่องคลอดมีรอยแดง หรือผื่นขึ้น

การติดเชื้อยีสต์ยังเป็นโรคที่พบได้ในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนมากแพทย์จะให้รักษาโดยการทาครีมต้านเชื้อรา สำหรับผู้ที่มีผื่นรอบๆ อวัยวะเพศ หรือใช้ยาเหน็บช่องคลอดในผู้ที่ติดเชื้อในช่องคลอด ร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น

  • สวมใสกางเกงชั้นในที่ระบายอากาศ ไม่รัดแน่นเกินไป
  • ไม่ปล่อยให้อวัยวะเพศอับชื้น โดยเฉพาะหลังจากอาบน้ำ หรือจากออกกำลังกาย
  • รับประทานโยเกิร์ต หรืออาหารที่ทำให้สมดุลของแบคทีเรียดีในช่องคลอดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การมีประจำเดือน

เมื่อคุณใกล้มีประจำเดือน ตกขาวจะมีลักษณะเหนียวข้นมากขึ้น ไม่เป็นมูกใส บางรายอาจมีตกขาวสีเหลืองเล็กน้อยปนด้วย เราสามารถเรียกช่วงเวลานี้ได้อีกอย่างว่า “ช่วงหลังไข่ตก (Luteal phase)”

หลังจากประจำเดือนหมดไป คุณอาจมีตกขาวเป็นสีน้ำตาล หรือสีแดงซึ่งเป็นเลือดประจำเดือนเก่าที่ยังออกมาไม่หมด

หลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน ตกขาวจะมีปริมาณน้อย หรืออาจไม่มีเลย จากนั้นก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นโดยมีสีขาวใส เป็นมูกเหนียว หรือเป็นก้อน ซึ่งเป็นช่วงที่ไข่ในระบบสืบพันธุ์เริ่มสุก เราเรียกช่วงเวลานี้ได้อีกอย่างว่า “ช่วงก่อนไข่ตก (Follicular phase)”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. การตั้งครรภ์

ในวันแรกๆ ของช่วงไข่ตก หรือในช่วงกลางรอบมีประจำเดือน ตกขาวจะมีสีใสมากกว่าสีขาว มีลักษณะเป็นมูกเหนียว ยืดได้ และมีปริมาณมากกว่าปกติ 

ผู้หญิงที่กำลังพยายามมีลูก หรือรอวันไข่ตกอยู่สามารถใช้ลักษณะของตกขาวในการรู้ช่วงเวลาไข่ตกของตนเองได้

ในหญิงตั้งครรภ์อ่อนๆ บางรายยังอาจมีตกขาวเป็นสีขาวในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ด้วย

สาเหตุอื่นๆ

ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ตกขาวเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อีก เช่น

1. การรับประทานยาคุมกำเนิด

การรับประทานยาคุมกำเนิดสามารถส่งผลทำให้ปริมาณตกขาวเพิ่มมากขึ้นได้ เพราะตัวยาได้ไปเร่งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระบบสืบพันธุ์ ซึ่งหากคุณไม่สบายใจ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

2. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคก็สามารถทำให้ตกขาวเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

  • โรคหนองในแท้ (Gonorrhea)
  • โรคหนองในเทียม (Chlamydia)
  • โรคติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด (Trichomonas)

โดยตกขาวที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มักจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลือง และมีหนองปน ร่วมกับมีกลิ่นแรง ทำให้มีอาการคันระคายเคือง

3. พฤติกรรมการใช้ชีวิตผิดๆ 

วิถีชีวิตที่ไม่คำนึงถึงสุขภาพก็สามารถส่งผลกระทบทำให้ความสมดุลของเชื้อแบคทีเรียดีในช่องคลอดเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และทำให้ตกขาวเกิดความผิดปกติไปจากเดิม เช่น

  • การสูบบุหรี่
  • การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • ไม่รักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาด
  • การใช้ห้องน้ำที่สกปรก การใช้สายฉีดในห้องน้ำสาธารณะซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ตกขาวที่เกิดจากความไม่สมดุลของเชื้อแบคทีเรียดีในช่องคลอดมักมีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นคาวปลา ร่วมกับมีสีขาวขุ่น หรือสีเทา

วิธีสังเกตเกี่ยวกับความผิดปกติของตกขาว

มีวิธีสังเกตง่ายๆ ว่า ตกขาวของคุณผิดปกติหรือไม่ โดยให้สังเกต “กลิ่น” และ “อาการระคายเคือง” เป็นหลัก

หากรู้สึกว่า สีตกขาวยังเป็นปกติ แต่มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับมีอาการคันช่องคลอด รอบๆ อวัยวะเพศมีผื่นแดง ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

ความผิดปกติของตกขาวที่ควรไปพบแพทย์

หากมีความผิดปกติของตกขาวร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที

  • ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น สีเทา สีเหลือง
  • มีกลิ่นเหม็นรุนแรง
  • มีผื่นแดงรอบอวัยวะเพศ
  • รู้สึกคันระคายเคือง หรือรู้สึกเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือปัสสาวะ

ความผิดปกติของตกขาวร่วมกับอาการที่กล่าวไปข้างต้นสามารถส่งผลอันตรายในหญิงตั้งครรภ์ได้ด้วย หรืออาจเป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ คุณจึงไม่ควรละเลยอาการผิดปกติเหล่านี้อย่างเด็ดขาด

วิธีป้องกันไม่ให้ตกขาวผิดปกติ

วิธีป้องกันไม่ให้ตกขาวเกิดความผิดปกติที่ดีที่สุด คือ การดูแลสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาดเสมอ ได้แก่

  • สวมกางเกงชั้นในที่ไม่รัดจนเกินไป
  • ไม่ปล่อยให้อวัยวะเพศอับชื้น
  • เข้าห้องน้ำสาธารณะที่สะอาด
  • ไม่ใช้น้ำยาพิเศษ หรือสารเคมีในการล้างอวัยวะเพศ ใช้แต่น้ำสะอาดล้างก็เพียงพอแล้ว
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เช่น ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งและใช้อย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • เมื่อมีประจำเดือน ควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ1-2 ชั่วโมง
  • งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ หรือรู้สึกถึงความผิดปกติใดๆ ก็ตาม คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและให้คำแนะนำในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Debra Rose Wilson, Vaginal Discharge During Pregnancy: What’s Normal? (https://www.healthline.com/health/pregnancy/vaginal-discharge-during-pregnancy#1), 18 June 2020.
Holly Ernst, Thick White Discharge: What It Means (https://www.healthline.com/health/thick-white-discharge), 18 June 2020.
NHS, Vaginal discharge (https://www.nhs.uk/conditions/vaginal-discharge/), 27 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)