วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติคืออะไร ครอบคลุมบริการอะไรบ้าง

รวมข้อมูลสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ความแตกต่างกับสิทธิประกันสังคม ตัวอย่างบริการที่ครอบคลุม
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 16 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติคืออะไร ครอบคลุมบริการอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ บริการด้านการแพทย์จากทางรัฐ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพ การรักษาอาการเจ็บปวดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีอีกชื่อที่หลายคนรู้จัก คือ "สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค"
  • คนไทยทุกคนสามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยให้ไปลงทะเบียนสิทธิที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือหน่วยบริการทางการแพทย์ในระบบหลักประกันสุขภาพประจำจังหวัด
  • ความแตกต่างระหว่างประกันสุขภาพแห่งชาติกับประกันสังคมคือ ประกันสังคมจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันส่งเงินไปที่กองทุนประกันสังคม แต่ประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นไม่ต้องส่งเงินไปที่กองทุนแต่อย่างใด และสามารถใช้สิทธิ์ได้ทุกคน เพียงแต่ประกันทั้ง 2 อย่างนี้ไม่สามารถใช้พร้อมกันได้
  • การพิจารณาคุ้มครองค่าใช้จ่ายในประกันสุขภาพแห่งชาติจะขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ด้วย และมีบริการด้านการแพทย์บางส่วนที่ไม่ครอบคลุมอยู่ในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น การผ่าตัดแปลงเพศ การทำศัลยกรรม การบำบัดยาเสพติด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงถือเป็นอีกปัจจัยที่สามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งสำหรับแต่ละคน แต่ละสถานที่ที่เข้ารับการรักษาก็มีราคาแตกต่างกัน

หากคุณยังไม่มีประกันสุขภาพ ซึ่งสามารถเข้ารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ตามเงื่อนไขที่ทำสัญญาไว้ในกรมธรรม์ คุณจึงควรศึกษาผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากภาครัฐในฐานะคนไทยเอาไว้ เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพประหยัด และคุ้มค่ามากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ประกันสุขภาพที่จัดทำโดยรัฐมีอะไรบ้าง? 

ปัจจุบันประเทศไทยมีการทำประกันสุขภาพให้กับคนไทยทุกคนซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  • สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • สิทธิประกันสังคม
  • สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
  • สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
  • สิทธิคุ้มครองของหน่วยงานรัฐอื่นๆ

ความหมายของประกันสุขภาพแห่งชาติ

ประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Coverage Scheme: UCS) หมายถึง การให้บริการด้านการแพทย์ และด้านสาธารณสุขที่ทางหน่วยงานรัฐอำนวยให้กับประชาชนชาวไทย เพื่อให้สามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพ การวินิจฉัย และรักษาโรค รวมถึงอาการบาดเจ็บต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

คนไทยหลายคนอาจคุ้นชื่อประกันสุขภาพแห่งชาติในอีกชื่อว่า “สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค”

ผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงประกันสุขภาพแห่งชาติ

ผู้ที่มีสิทธิใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติจะต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้

  • มีสัญชาติไทย
  • มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • ไม่มีสวัสดิการ หรือสิทธิประกันสุขภาพอื่นๆ จากหน่วยงานรัฐ ซึ่งได้แก่ สิทธิประกันสังคม สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของหน่วยงานส่วนท้องถิ่น และสิทธิคุ้มครอง หรือสิทธิรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ

การลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า ต้องถึงวัยทำงาน หรือบรรลุนิติภาวะก่อน จึงจะสามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติได้ แต่ความจริงแล้ว สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถใช้ได้ตั้งแต่ทารกแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ 

เพียงแต่ต้องมีการลงทะเบียนเพื่อให้สามารถใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติได้เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถทำได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่โรงพยาบาล หรือหน่วยบริการประจำในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของแต่ละจังหวัด

ผู้ใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถใช้หน่วยบริการที่ไปลงทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำตัวของตนเอง ในการเข้ารับบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้ 

ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจลงทะเบียน ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนว่า จะเลือกหน่วยบริการแห่งใดเป็นหน่วยประจำของตนเพราะสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติจะสามารถใช้ได้ในหน่วยบริการที่เลือกไว้เท่านั้น นอกจากเกิดอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน จึงจะสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการที่ใกล้ที่สุดได้

แต่หากต้องการเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ ผู้ใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถเปลี่ยนหน่วยบริการของตนเองได้ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง

เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แก่

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางหน่วยงานราชการออกให้ โดยมีรูปถ่าย และเลขประจำตัวประชาชน ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สูติบัตร (ใบเกิด) แทน
  • หนังสือรับรองการพักอาศัย ในกรณีที่อยู่ปัจจุบันไม่ตรงกับที่อยู่ในบัตรประชาชน ซึ่งจะต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน และหลักฐานว่า ผู้มาลงทะเบียนอาศัยอยู่ที่สถานที่นั้นๆ จริง อาจเป็นสัญญาเช่าห้อง บิลค่าน้ำค่าไฟ 

ในกรณีที่พักอาศัยอยู่ในบ้านที่นายจ้างจัดหาให้ ก็สามารถใช้หนังสือรับรองการพักอาศัยจากนายจ้างได้ และให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้างมาด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

บริการด้านการแพทย์ที่หลักประกันสุขภาพแห่งชาติคุ้มครองค่าใช้จ่ายให้

บริการด้านการแพทย์ต่อไปนี้ เป็นบริการที่ทางรัฐคุ้มครองค่าใช้จ่ายให้ เพราะถือว่าอยู่ในสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ทั้งนี้การคุ้มครองค่าใช้จ่ายจะมีขอบเขตแตกต่างกันไปตามการประเมินของแพทย์และคณะกรรมการหลักประกันสังคมแห่งชาติ ได้แก่

1. บริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค

เป็นบริการที่ผู้ใช้สิทธิสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อหาความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายต่างๆ ได้ รวมถึงสามารถเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ด้วย

บริการนี้จะแบ่งออกได้หลากหลายตามวัยของผู้ใช้ประกันสุขภาพ เช่น

  • กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก การให้ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก การประเมินสุขภาพจิตระหว่างตั้งครรภ์

  • กลุ่มเด็กอายุ 0-2 ขวบ สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อรับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ โรคหัด โรคคางทูม โรคไข้หวัดใหญ่ ตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน ตรวจความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

  • กลุ่มเด็กอายุ 6 ขวบ - 24 ปี สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับตรวจความดันโลหิต ตรวจสุขภาพตา ตรวจสุขภาพเหงือก และฟัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ตรวจคัดกรองความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสเอชไอวี

  • กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 25-29 ปี สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติในการเข้าตรวจคัดกรองความเสี่ยงของโรคต่างๆ จากการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติด การตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก การคุมกำเนิด

  • กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับตรวจความดันโลหิต ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน คัดกรองภาวะซึมเศร้า ตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน ให้ความรู้ด้านการออกกำลังกายและบำรุงสมอง

2. บริการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรค

โดยประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้ครอบคลุมแค่การรักษาโรคทั่วไปเท่านั้น และยังรวมไปถึงโรคเรื้อรังที่มีค่าใช้จ่ายสูงด้วย เช่น

  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคไต
  • โรคเอดส์

3. การคลอดบุตร

หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติในการคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และยังใช้ได้กับทั้งการคลอดแบบธรรมชาติ และการผ่าตัดคลอด อีกทั้งหากต้องการจะทำหมันหลังคลอดบุตรก็สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติคุ้มครองค่าใช้จ่ายได้

แต่ในระหว่างการตั้งครรภ์ อาจมีบางกระบวนการที่ไม่ครอบคลุมอยู่ในการใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น การทำอัลตราซาวด์เพื่อดูเพศบุตร เนื่องจากไม่ได้มีข้อบ่งชี้ หรือภาวะความผิดปกติใดๆ ทางการแพทย์

4. บริการทันตกรรม

เช่น อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด การเคลือบหลุมร่องฟัน ใส่เพดานเทียมในผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ การทำฟันปลอมใหม่ในผู้สูงอายุ

5. ค่ายา และเวชภัณฑ์

ประกันสุขภาพแห่งชาติจะคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านยารักษาโรคให้กับผู้ป่วยด้วย แต่ต้องอยู่ในกรอบของบัญชียาหลักแห่งชาติ

6. ค่าอาหาร และห้องสามัญ

หากต้องนอนพักที่โรงพยาบาล คุณสามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติในการออกค่าห้อง และค่าอาหารระหว่างที่นอนพักอยู่ที่โรงพยาบาลได้ แต่ต้องเป็นโรงพยาบาลที่เป็นหน่วยบริการภายใต้ประกันสุขภาพแห่งชาติ

7. การจัดการส่งต่อ

หากผู้ป่วยต้องย้ายแผนกการรักษาเพื่อส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ รักษาโรคต่อไป ค่าใช้จ่ายในระหว่างกระบวนการเหล่านี้ สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติคุ้มครองได้

8. บริการแพทย์แผนไทย

เช่น การนวดเพื่อบำบัด หรือรักษา การประคบสมุนไพร ยาใช้ยาสมุนไพร หรือยาแผนไทยเพื่อรักษาโรค หรือเพื่อฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดบุตร

9. บริการเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย

ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทหารผ่านศึกที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ สามารถเข้ารับบริการฟื้นฟูสุขภาพภายใต้การคุ้มครองของสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติได้ เช่น

  • ทำกายภาพบำบัด
  • การฟื้นฟูการมองเห็น
  • การฟื้นฟูการได้ยิน
  • การทำจิตบำบัด
  • การทำพฤติกรรมบำบัด
  • การรับอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างใช้ชีวิตตามประเภทของความพิการ

อย่างไรก็ตาม มีบริการด้านการแพทย์บางส่วนที่ไม่ครอบคลุมอยู่ในสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น

  • การผ่าตัดแปลงเพศ
  • การทำศัลยกรรม
  • การรักษาภาวะมีบุตรยาก
  • การผสมเทียม
  • การตรวจดีเอ็นเอเพื่อยืนยันว่า เป็นบุตรทางสายเลือดกัน
  • การบำบัดยาเสพติด
  • การปลูกถ่ายอวัยวะ

ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในการครอบคลุมของสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย

เพื่อให้คุณได้ใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ และประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้มากที่สุด ควรสอบถามแพทย์เพิ่มเติมด้วยว่า สามารถใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาอาการ หรือภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ได้หรือไม่

ความแตกต่างระหว่างสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติกับสิทธิประกันสังคม

หลายคนอาจไม่เข้าใจว่า สิทธิประกันสุขภาพกับสิทธิประกันสังคมแตกต่างกันอย่างไร เพราะประกันทั้งสองอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ และการรักษาพยาบาลทั้งคู่

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจความหมายของสิทธิประกันสังคมโดยกระชับก่อน

สิทธิประกันสังคมคือ สวัสดิการของทางรัฐซึ่งเกิดจากนายจ้าง หรือลูกจ้างได้ส่งเงินไปยังกองทุนประกันสังคมทุกเดือน เมื่อมีเหตุที่ผู้จ้าง หรือลูกจ้างเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุ ก็จะสามารถใช้สิทธิประกันสังคมนี้ในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้

เด็กๆ หรือนักศึกษาที่ยังไม่ทำงานอาจยังไม่เข้าใจถึงสิทธิประกันสังคม จนเมื่อเข้าไปทำงานในบริษัท ก็จะพบว่า ทุกๆ เดือน ทางบริษัทจะหักเงินเดือนของลูกจ้าง 5% เพื่อปันเงินส่วนนั้นส่งไปยังกองทุนประกันสังคม เพื่อที่เมื่อทุกคนมีเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพ จะได้มีประกันสังคมคุ้มครองเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปส่วนหนึ่ง

ดังนั้นความแตกต่างระหว่างสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติกับสิทธิประกันสังคมก็คือ สิทธิประกันสุขภาพเป็นการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่จำเป็นต้องส่งเงินสมทบกองทุนแต่อย่างใด

แต่สิทธิประกันสังคมจะสามารถใช้ได้ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกัน (ผู้ที่จะใช้สิทธิประกันสังคม) จ่ายเงินเพื่อสมทบกองทุนประกันสังคมเท่านั้น

สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติกับสิทธิประกันสังคมจะไม่สามารถใช้พร้อมกันได้

เพราะตามที่กล่าวไปข้างต้นในคุณสมบัติผู้ที่สามารถเข้าถึงสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติว่า ผู้ที่สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติได้จะต้องไม่มีสวัสดิการทางการแพทย์อื่นๆ ที่ได้จากรัฐ

นอกเหนือจากบริการทางการแพทย์ที่ได้กล่าวไปในบทความนี้ ยังมีบริการอื่นๆ และสิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขอีกมากมายที่ครอบคลุมอยู่ในประกันสุขภาพแห่งชาติ

หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถโทรสอบถามไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้โดยตรงที่เบอร์ 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.nhso.go.th/

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, กองทุนประกันสังคม (https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/45e217178d3833079890a2541305fc78.pdf), 22 กรกฎาคม 2563.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, เรื่องนี้ 1330 มีคำตอบสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (http://ebook.dreamnolimit.com/nhso/097/), 22 กรกฎาคม 2563.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 10 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (http://ebook.dreamnolimit.com/nhso/004/), 22 กรกฎาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม