การเจาะน้ำไขสันหลังในเด็กทารกคืออะไร ราคา วิธีการเตรียมตัว การพักฟื้น และวิธีการดูแลตัวเองหลังการเจาะ

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเจาะน้ำไขสันหลังในเด็กทารกคืออะไร ราคา วิธีการเตรียมตัว การพักฟื้น และวิธีการดูแลตัวเองหลังการเจาะ

มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการเจาะน้ำไขสันหลังในเด็กทารก ว่าเป็นหัตถการทางการแพทย์เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ทำแล้วมีผลอะไรต่อร่างกายหรือไม่ ต้องนอนพักฟื้นนานเท่าใด อีกทั้งมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน บทความนี้เรามีคำตอบมาอธิบายค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเจาะน้ำไขสันหลังในเด็กทารกคืออะไร

การเจาะน้ำไขสันหลังเป็นการเจาะนำเอาของเหลวที่อยู่ในช่องว่างใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมองออกมา โดยมีจุดประสงค์ดังนี้

  1. รักษาโรค เป็นการระบายน้ำในสมองอันเนื่องมาจากภาวะที่โพรงในสมองโต เป็นการลดความดันในโพรงกะโหลกศีรษะ หรือเพื่อฉีดยาชาเข้าไประงับอาการปวดในการผ่าตัด หรือฉีดยาเพื่อการรักษาโรคบางชนิดอย่างเช่นโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายที่เยื่อหุ้มสมอง
  2. การวินิจฉัยโรค ด้วยการเจาะเอาน้ำที่หล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังมาตรวจ เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคว่ามีการติดเชื้อในระบบประสาทหรือไม่ เช่น ทารกมีไข้สูงและเกิดอาการชัก

น้ำที่เจาะออกมาได้นั้นเรียกว่า น้ำหล่อเลี้ยงสมองหรือน้ำเลี้ยงไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid : CSF) เป็นของเหลวที่ทำหน้าที่ป้องกันหรือช่วยพยุงไม่ให้สมองและไขสันหลังเกิดการเลื่อนไหล แต่ถ้าการตรวจหากพบว่ามีความผิดปกติของน้ำหล่อเลี้ยง นั่นก็หมายความว่าเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังมีความผิดปกติเกิดขึ้นนั่นเอง

การเจาะน้ำไขสันหลังอันตรายหรือไม่

ขณะทำการเจาะน้ำไขสันหลัง เมื่อทารกอยู่ในท่านอนตะแคงและงอเข่าให้ชิดได้แล้ว แพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะพร้อมกับฉีดยาชาให้ จากนั้นจึงใช้เข็มปลายแหลมเจาะเพื่อนำ CSF ออกมา เมื่อได้ปริมาณที่ต้องการแล้วจึงดึงเข็มเจาะออกและทำความสะอาดก่อนปิดแผลด้วยปลาสเตอร์ ขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลาเพียง 10 – 20 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของทารกในการให้ความร่วมมือของแต่ละคนด้วย

การเจาะน้ำไขสันหลังมีความรู้สึกเจ็บ แต่อันตรายที่เกิดจากการเจาะน้ำไขสันหลังมีน้อยมาก อาจมีเพียงอาการแทรกซ้อนหลังทำการเจาะบ้างอย่างเช่นปวดศีรษะหรือปวดหลัง และพบว่ามีจำนวนน้อยมากที่มีอาการรุนแรง กล่าวคือมีภาวะเลื่อนกดทับก้านสมองจนอาจทำให้มีอาการหัวใจหยุดเต้นแล้วเสียชีวิต ซึ่งจะเกิดกรณีนี้เฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันในโพรงกะโหลกสูง และต้องระบายน้ำ CSF ออกเป็นจำนวนมาก

ราคาการเจาะน้ำไขสันหลังในเด็กทารก

การเจาะน้ำไขสันหลังเป็นหัตถการทางการแพทย์ ด้วยการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เช่นเข็มเจาะเข้าทางด้านหลัง เป็นการตัดสินใจของแพทย์ว่าควรต้องทำหรือไม่และทำเพื่อจุดประสงค์เพื่ออะไร ดังนั้นก่อนเข้ารับบริการควรปรึกษาแพทย์ที่จะทำการเจาะ จึงจะได้คำตอบที่ชัดเจนกว่า หากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลราคาก็ย่อมจะถูกกว่าโรงพยาบาลของเอกชนอย่างแน่นอน

วิธีการเตรียมตัวและการพักฟื้น

    1. ทารกไม่ต้องงดอาหารหรือน้ำ
    2. ญาติจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับวิธีการทำของแพทย์ เพราะเด็กทารกยังไม่สามารถสื่อสารและพร้อมให้ความร่วมมือกับแพทย์ ซึ่งอาจต้องให้ญาติเข้าไปพร้อมกับทารก
    3. การพักฟื้นในโรงพยาบาลเป็นแค่การเจาะน้ำในไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยโรคเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล แต่ถ้ามีโรคที่ต้องรักษาอยู่แล้วอย่างเช่นเจาะเพื่อให้เคมีบำบัดแบบนี้ ก็จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาต่อไปตามปกติ

    วิธีการดูแลตัวเองหลังการเจาะน้ำไขสันหลัง

      1. หลังการเจาะน้ำไขสันหลังแล้ว ควรให้ทารกนอนหงายเป็นเวลา 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไขสันหลังไหลออกและให้แผลที่เจาะนั้นปิดสนิท ทั้งนี้ทารกยังคงสามารถดื่มน้ำได้และไม่มีข้อห้ามในการกินนมหรืองดอาหาร ยกเว้นกรณีที่ทารกจะมีอาการไม่รู้สึกตัว แต่ก็ควรต้องให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์อีกด้วย
      2. แผลเจาะเป็นเพียงแผลเล็กๆ เหมือนการเจาะเลือดทั่วไป ดังนั้นการดูแลแผลเจาะน้ำไขสันหลังจึงไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่ควรต้องปิดแผลด้วยปลาสเตอร์เพื่อป้องกันเลือดที่แผลเจาะซึมออกมาเท่านั้น โดยทิ้งไว้ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง ก็แกะออกและสามารถอาบน้ำให้ทารกได้

      หากมีปัญหาใดๆ ควรปรึกษาแพทย์และทำความเข้าใจถึงจุดประสงค์ที่ต้องทำการเจาะให้ถ่องแท้ รวมทั้งให้ความร่วมมือกับแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์สูงสุดในที่มีต่อตัวเด็กทารกนั่นเอง


      11 แหล่งข้อมูล
      กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
      Spinal cord injury facts and figures at a glance. National Spinal Cord Injury Statistical Center. https://www.nscisc.uab.edu/. Aug. 20, 2019.
      Provider profile. CARF International. http://www.carf.org/providerProfile.aspx?cid=8020.

      บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

      ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

      ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
      (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)