แนวคิดเรื่องการฟื้นฟูคืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แนวคิดเรื่องการฟื้นฟูคืออะไร

แนวคิดเรื่องการฟื้นฟูเป็นการดูแลสุขภาพทางจิตแบบองค์รวมโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง แนวคิดนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และกำลังกลายเป็นมาตรฐานของการดูแลสุขภาพทางจิต

แนวคิดนี้มีรากฐานมาจากความคิดสองประการที่ไม่ซับซ้อน คือ 1. การฟื้นฟูสภาวะทางจิตนั้นเป็นไปได้ และ 2. การฟื้นตัวที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้นต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้นำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากคุณกำลังได้รับการบริการทางสุขภาพจิต หรือมีคนที่รักมีสภาวะทางสุขภาพจิต การรู้พื้นฐานของแนวคิดนี้สามารถช่วยให้คุณแนะนำสิ่งที่ดีที่สุดได้

ขอบเขตคร่าว ๆ ของแนวคิดนี้จะทำให้คุณสื่อสารได้สอดคล้องกับผู้ให้การดูแล เมื่อคุณจะบรรยายความเห็นของคุณในเรื่องการบริการ ข้อมูลของคุณอาจมีค่าอย่างประเมินไม่ได้ในการช่วยให้ผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตหันมาเห็นคุณค่าของแนวคิดนี้มากขึ้น 

การฟื้นตัวนั้นเป็นไปได้

ตามชื่อของแนวคิดนี้ หลักการคือความเชื่อที่ว่าคนสามารถฟื้นตัวจากความป่วยไข้ทางจิตใจและกลับมามีชีวิตที่สมบูรณ์และน่าพึงพอใจได้ แพทย์หลายคนเชื่อว่าผู้ป่วยภาวะทางจิตจะรู้สึดหดหู่ที่ต้องมีชีวิตอยู่กับโรคภัยของตนและจะไม่สามารถเข้าสังคมได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคจิตเภท schizoaffective disorder และ โรคไบโพลาร์

อย่างไรก็ตาม การศึกษาระยะยาวจากหลาย ๆ ประเทศในช่วงกลางทศวรรษ 1970 แสดงให้เห็นว่าความคิดดังกล่าวไม่ถูกต้อง 

ความเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นรากฐาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เพียงแค่หลักฐานที่เล่าลือกันมานั้นไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงระบบได้ กว่าความเชื่อพื้นฐานนี้จะได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ได้ก็ใช้เวลาถึงสองทศวรรษ

การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นจากความสามารถในการจัดการตนเองของผู้ป่วยในการรักษา เช่นเดียวกับที่แสดงให้เห็นจากประสบการณ์ว่าหากให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้เองในสังคม

ประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดพื้นฐานอีกอย่างของเรื่องการฟื้นฟูนี้ คือการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนที่สุดเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ป่วยเป็นผู้ลงมือทำเอง 

ลักษณะ 10 ประการของแนวคิดการฟื้นฟู

แนวคิดนี้มองชีวิตของคนเป็นองค์รวม โดยทางคณะผู้ให้บริการทางด้านการติดสารเสพติดและสุขภาพจิต (Substance Abuse and Mental Health Services Administration -SAMHSA) ได้กำหนดขอบเขตสี่ด้านที่ควรพิจารณาเมื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของผู้ป่วย

สุขภาพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ที่อยู่

วัตถุประสงค์

สังคม

ทางคณะยังได้สร้างหลักการแนะแนวทางสิบประการ ซึ่งการรักษาฟื้นฟูก็อ้างอิงจากหลักการดังกล่าว ซึ่งทุกสถาบันที่ให้การดูแลที่อ้างอิงตามแนวคิดฟื้นฟูควรนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยด้วย

การพึ่งพาตนเอง

ความเป็นตนเองและให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

การให้อำนาจแก่ตนเอง

ความเป็นองค์รวม

ไม่เป็นเชิงเดี่ยว

มีรากฐานจากความแข็งแรง

ให้การสนับสนุนอย่างเท่าเทียม

ให้ความเคารพ

ความรับผิดชอบ

ความหวัง 

การผลักดันของภาครัฐในการฟื้นฟู

ในปี 2003 การทำงานของผู้สนับสนุนแนวคิดการฟื้นฟูเริ่มแสดงให้เห็นผล George Bush สั่งให้คณะกรรมการสุขภาพจิตใช้การดูแลที่มีรากฐานจากแนวคิดฟื้นฟูเป็นแนวทางหลักแห่งชาติ วิสัยทัศน์ในรายงานนี้แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาอย่างแรงกล้า ความเป็นไปได้ และควรค่าแก่การทำซ้ำ

... เราเห็นอนาคตที่ผู้ป่วยโรคทางจิตทุกคนจะฟื้นตัว อนาคตที่โรคทางจิตสามารถป้องกันหรือรักษาได้ อนาคตที่ความเจ็บป่วยทางจิตจะถูกตรวจพบได้เร็ว และอนาคตที่ผู้ป่วยทางจิตเวชทุกคนไม่ว่าระยะใดของชีวิตจะได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและการสนับสนุน...

อีกทศวรรษต่อมา แนวคิดการฟื้นฟูก็เป็นเรื่องคุ้นเคยของผู้ให้บริการทางสุขภาพจิตส่วนใหญ่ แต่ก็ยังต้องเรียนรู้ในเรื่องของการจัดโปรแกรมและการรักษาโดยมีแนวทางจากหลักการดังกล่าว

ฉันกล้าพนันว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุดจะเกิดจากตัวผู้รับบริการนั่นแหละ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Recovery Model in Mental Health Care. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/what-is-the-recovery-model-2509979)
Recovery Model of Mental Illness: A Complementary Approach to Psychiatric Care. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4418239/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 วิธีการสร้างความรู้สึกดีให้กับตนเอง ในยามที่ทุกข์ใจ
5 วิธีการสร้างความรู้สึกดีให้กับตนเอง ในยามที่ทุกข์ใจ

หากคุณกำลังเหนื่อย ท้อแท้ หมดไฟ เพียงรู้วิธีสร้างความรู้สึกดีๆ ให้ชีวิต ความรู้สึกแย่ๆ เหล่านั้นก็จะหมดไปไม่ยาก

อ่านเพิ่ม
วิธีป้องกันการฆ่าตัวตาย
วิธีป้องกันการฆ่าตัวตาย

วิธีการวางแผนป้องกัน และการสื่อสารกับผู้ที่อยากฆ่าตัวตาย

อ่านเพิ่ม