มีเมือก หรือมีน้ําใสๆไหลออกมาท้องไหม

ความปกติกับความผิดปกติแยกออกจากกันได้ไม่ยาก แค่รู้จักสังเกตให้ถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มีเมือก หรือมีน้ําใสๆไหลออกมาท้องไหม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เป็นเรื่องธรรมชาติที่ผู้หญิงทุกคนจะมีของเหลว หรือสารคัดหลั่งไหลออกมาจากช่องคลอด โดยของเหลวเหล่านี้จะประกอบไปด้วยเซลล์เยื่อบุ แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ข้างในช่องคลอด และเมือกเหลว
  • ปริมาณของสารคัดหลั่งจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย รวมถึงความข้นเหนียวที่จะแตกต่างกันไปตามร่างกายผู้หญิงแต่ละคน
  • สาเหตุที่สารคัดหลั่งมีความจำเป็นต่อร่างกายของผู้หญิงทุกคน ก็เพราะมันช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดมีความนุ่มลื่น ชุ่มชื้น ป้องกันความระคายเคือง และการติดเชื้อโรค อีกทั้งทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้อย่างสะดวกขึ้นด้วย
  • ของเหลวหลักๆ ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจะได้แก่ ตกขาว เป็นเมือกใส หรือของเหลวสีขาวที่ร่างกายผู้หญิงทุกคนต้องมี แต่จะมีปริมาณมากในช่วงตกไข่ และใกล้มีประจำเดือน ของเหลวอย่างที่ 2 คือ น้ำคร่ำ จะมีขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยจะทำหน้าที่เป็นของเหลวซึ่งอยู่ในถุงที่โอบอุ้มทารกเอาไว้
  • ความผิดปกติของสารคัดหลั่งในร่างกายสามารถสังเกตได้จากสี กลิ่น ฟองที่เกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงอาการบวม คันระคายเคืองช่องคลอด รู้สึกปวดแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ ซึ่งหากเกิดอาการขึ้น คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการโดยเร็วที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ได้ที่นี่)

ของเหลว หรือสารคัดหลั่งที่ไหลมาจากช่องคลอดสามารถเกิดได้ตามธรรมชาติ ของเหลวเหล่านั้นมีส่วนประกอบของเซลล์เยื่อบุต่างๆ ร่วมกับแบคทีเรียประจำถิ่นและเมือก ส่วนจะมีปริมาณมาก หรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นหลัก โดยมากมักมีปริมาณราว 2-5 ซีซี  ลักษณะมีความขุ่นใส  ส่วนจะเหนียวมาก หรือน้อยนั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละคน  

ร่างกายสร้างของเหลวในกรณีนี้ขึ้นมาเพื่ออะไร

การที่ร่างกายสร้างของเหลวเหล่านี้ขึ้นก็เพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดมีความนุ่มลื่น ชุ่มชื้น ลดอาการระคายเคือง ป้องกันการติดเชื้อโรค และเพื่อให้มีเพศสัมพันธ์ด้วยความสะดวก อธิบายแบบชัดๆ ได้ว่า เมื่อร่างกายของผู้หญิงถูกกระตุ้น ผนังช่องคลอดก็จะหลั่งเมือก หรือน้ำใสนี้ออกมา เพื่อให้ช่องคลอดมีความชุ่มชื้น ไม่แห้ง พร้อมสำหรับการมีเพศสัมพันธ์  นอกจากนี้ร่างกายจะสร้างของเหลวขึ้นในภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง เช่น วัยรุ่น ภาวะก่อนมีประจำเดือน การรับประทานยาคุมกำเนิดบางประเภท การตั้งครรภ์ หรือ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นในกรณีนี้มีอะไรบ้าง

ตกขาว

ตกขาวจะมีลักษณะเป็นเมือก หรือน้ำใสๆ ปกติจะไม่มีกลิ่นเหม็น หรืออาการคันและไม่มีอาการแสบใดๆ ในช่วงที่มีฮอร์โมนสูงคือ ช่วงกึ่งกลางของรอบเดือน ตกขาวจะมีปริมาณมากกว่าช่วงอื่นและอาจมีสีขาวขุ่นคล้ายกับแป้งเปียกรวมทั้งอาจมีกลิ่นเล็กน้อย เหล่านี้ถือเป็นตกขาวปกติ แต่จะไม่มีอาการดังต่อไปนี้ เช่น คันช่องคลอด มีไข้ 

ส่วนตกขาวที่ผิดปกติมักจะมีสีเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น สีเหลือง สีเขียว หรือสีเทา มีลักษณะเป็นก้อนคล้ายนมบูด มีกลิ่นเหม็น และมีปริมาณมาก ร่วมกับอาการแสบคันตามอวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด และรู้สึกเจ็บช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ อาการเหล่านี้เป็นความผิดปกติ ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างถูกต้อง

น้ำคร่ำ

เป็นของเหลวที่อยู่ในถุงล้อมรอบทารก พบได้ตั้งแต่ระยะสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์และจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุครรภ์  น้ำคร่ำมีองค์ประกอบหลักคือ น้ำและสารต่างๆ เช่น โปรตีน กรดยูริก สารยูเรีย รวมทั้งปัสสาวะของทารก ลักษณะเป็นน้ำใสๆ ทำหน้าที่ช่วยให้ทารกดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยในมดลูก อีกทั้งยังมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเจริญเติบโตของทารกเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้ออีกด้วย

หากมีเมือก หรือน้ำใสๆ ออกมาจากช่องคลอดในระยะตั้งครรภ์ มีอาการไหลแบบต่อเนื่องคล้ายปัสสาวะ นั่นหมายถึงทารกพร้อมแล้วที่จะคลอดออกมา ไม่ว่าจะครบ หรือไม่ครบตามอายุครรภ์ก็ตาม แต่ถ้าไหลก่อนอายุครรภ์จะครบ โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์น้อยๆ อาจเกิดจากทารกไม่สมบูรณ์ หรือมีความผิดปกติ อาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้

สำหรับน้ำคร่ำที่ไหลออกมาก่อนเจ็บท้องคลอด หรือที่เรียกว่า “น้ำเดินก่อนเวลา” เกิดจากมารดาที่เคยมีประวัติถุงน้ำคร่ำแตกมาก่อน หรือติดเชื้อในช่องคลอด รวมถึงอาจเกิดการติดเชื้อที่มดลูก หรือปากมดลูก การดื่มสุรา สูบบุหรี่ เสพยาเสพติด หรือเคยผ่าตัดมดลูก จะก่อให้เกิดถุงน้ำคร่ำแตกแล้วมีน้ำใสๆ ไหลออกมาจากช่องคลอดได้เช่นกัน

กรณีที่เกิดน้ำคร่ำออกมาจากช่องคลอดนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดการติดเชื้อระหว่างคลอดแล้วอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และตัวมารดาเองได้

ดังนั้นการมีเมือก หรือน้ำใสๆ ออกมาจากช่องคลอด พบได้ทั้งที่ปกติและผิดปกติ  สำหรับลักษณะที่ผิดปกติซึ่งมักจะสังเกตได้ชัดเจน เช่น กลิ่นเหม็นมาก สีปนเลือด ฟองเขียวเหลือง อาการคันหรือบวม บริเวณช่องคลอด ปวดแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ ปวดมากเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หรือปวดท้องน้อยร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์ ไม่ควรรักษาเองอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้การวินิจฉัยล่าช้า และการรักษายากลำบากมากขึ้น 

ดูแพ็กเกจตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก และรังไข่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zemouri C, Wi TE, Kiarie J, Seuc A, Mogasale V, Latif A, The Performance of the Vaginal Discharge Syndromic Management in Treating Vaginal and Cervical Infection: A Systematic Review and Meta-Analysis. AU Epub, 5 October 2019.
Jack D Sobel , M.D., Vaginal discharge in adult woman, Jan 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การใช้ยาเหน็บช่องคลอด
การใช้ยาเหน็บช่องคลอด

ยาใช้เฉพาะที่ซึ่งควรศึกษาวิธีใช้งานให้ดี เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของตัวยาและป้องกันไม่ให้เกอดภาวะแทรกซ้อน

อ่านเพิ่ม