กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความแตกต่างระหว่างโรคลมหลับชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 คืออะไร?

อาการผล็อยหลับและการตรวจไฮโปเครตินจะช่วยแยกชนิดของโรคได้
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความแตกต่างระหว่างโรคลมหลับชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 คืออะไร?

โรคลมหลับ (Narcolepsy) มีอาการจำเพาะ คือ ง่วงนอนมากในเวลากลางวัน แต่ก็ยังมีอาการอื่นๆ อีกและมีผลตรวจที่ใช้แยกชนิดย่อยของภาวะนี้ โรคลมหลับมีสองชนิด แต่อะไรคือความแตกต่างระหว่างชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ล่ะ? เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างเหล่านี้ รวมถึงบทบาทของอาการผล็อยหลับและการตรวจระดับไฮโปเครติน (Hypocretin) ในน้ำไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid)

อาการของโรคลมหลับอาจช่วยแยกชนิดได้

โรคลมหลับทั้งสองชนิดมีอาการง่วงนอนที่ควบคุมไม่ได้หรือมีอาการเผลอหลับในเวลากลางวัน หากไม่มีอาการง่วงนอนก็ไม่เหมาะสมที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคลมหลับ ยังมีอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีก และอาการบางอย่างยังใช้แยกชนิดย่อยของโรคได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคลมหลับมีสองชนิด คือ ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 โดยชนิดแรกจะรวมถึงการมีอาการผล็อยหลับ (Cataplexy) คือ มีช่วงที่กล้ามเนื้อทั้งสองข้างของร่างกายอ่อนแรงอย่างฉับพลันเป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยที่ยังมีสติอยู่ อาการอ่อนแรงดังกล่าวอาจถูกกระตุ้นจากอารมณ์ที่รุนแรง โดยอารมณ์ดังกล่าวมักเป็นในแง่บวก เช่น อาการผล็อยหลับมักสัมพันธ์กับการหัวเราะ อาการอ่อนแรงอาจเกิดที่หน้า แขน หรือขา บางคนอาจมีอาการหนังตาตกปากอ้า ลิ้นยื่น หรือคอตก บางคนอาจล้มลงไปกับพื้นในขณะที่มีอาการผล็อยหลับ

โรคลมหลับทั้งสองชนิดอาจมีอาการผีอำ (Sleep Paralysis) และการเห็นภาพหลอนขณะกำลังจะหลับ (Hypnagogic Hallocunations) ได้ การนอนหลับได้เป็นช่วงๆ ในเวลากลางคืนมักจะเกิดขึ้นได้ในโรคลมหลับทั้งสองชนิดเช่นกัน

บทบาทของการตรวจ Hypocretin และตรวจความง่วงนอน (MSLT)

การตรวจจำเพาะอาจใช้แยกโรคลมหลับสองชนิดออกจากกันได้ อาการง่วงนอนมากกว่าปกติในเวลากลางวันจะบอกได้จากผลการตรวจความง่วงนอน (Multiple Sleep Latency Test หรือ MSLT)

การตรวจนี้ทำคล้ายการตรวจการนอนหลับตามมาตรฐานและรวมถึงโอกาสในการงีบ 4-5 ครั้งในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับโอกาสให้นอนหลับ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคผล็อยหลับจะหลับไปในเวลาไม่เฉลี่ยไม่เกิน 8 นาที นอกเหนือจากนั้น การหลับแบบ REM จะเกิดขึ้นภายในเวลา 15 นาทีตั้งแต่เริ่มหลับอย่างน้อยสองครั้งของการงีบ

ยิ่งไปกว่านั้น การตรวจระดับ Hypocretin ในน้ำไขสันหลังจากการเจาะหลังเพื่อตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar Puncture) ก็สามารถช่วยเฉลยคำตอบได้เช่นกัน หากระดับของ Hypocretin น้อยกว่า 110 pg/mL ก็จะเข้าได้กับการวินิจฉัยโรคลมหลับชนิดที่ 1 แต่หากระดับปกติหรือไม่ได้วัดและไม่มีอาการผล็อยหลับก็จะวินิจฉัยเป็นโรคลมหลับชนิดที่ 2 หากผลตรวจความง่วงนอนเป็นบวก หากระดับ Hypocretin ถูกวัดได้ว่าต่ำในภายหลังหรือหากอาการผล็อยหลับมาเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ก็สามารถเปลี่ยนการวินิจฉัยไปเป็นชนิดที่ 1 ได้

ถึงแม้ว่าโรคลมหลับจะเป็นภาวะที่หาได้ยาก แต่ก็พบได้พอควร โดยพบว่าเป็นชนิดที่ 1 ได้ราวๆ 1 ใน 5,000 คน การวินิจฉัยควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับที่สามารถทำการตรวจได้อย่างเหมาะสมและให้การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณกังวลว่าคุณอาจมีอาการของโรคลมหลับก็ควรเข้ารับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับที่สามารถให้การดูแลและความช่วยเหลือที่คุณต้องการได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)