กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

หน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ตลอดเวลา สาเหตุมาจากอะไร?

เรียนรู้วิธีดูแลตนเองเมื่อหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ บ้านหมุน ต้องทำอย่างไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ตลอดเวลา สาเหตุมาจากอะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการหน้ามืด เวียนหัว เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคทางสมองและระบบประสาท ความผิดปกติในหูชั้นในและดวงตา ฮอร์โมนเพศแปรปรวน การดื่มแอลกอฮอล์ น้ำตาลในเลือดต่ำ อาหารเป็นพิษ ฯลฯ
  • ผลข้างเคียงจากยารักษาโรคสามารถทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนหัวได้ เมื่อเกิดอาการจะต้องรีบปรึกษาแพทย์ว่า ผลข้างเคียงเหล่านี้อันตรายหรือไม่
  • หากมีอาการหน้ามืด เวียนหัวเรื้อรัง คุณจะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และรักษาให้หาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
  • เมื่อมีอาการ แนะนำให้นั่งพักในที่ที่อากาศปลอดโปร่ง อาจดมยาดม หรือดื่มน้ำขิงเพื่อบรรเทาอาการ หากอาเจียน หรือมีอาการคลื่นไส้ สามารถรับประทานยาไดเมนไฮดริเนตเพื่อยับยั้งอาการได้
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจะช่วยให้คุณรู้เท่าทันโรค (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

อาการหน้ามืด เวียนหัว เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ แต่หากคุณนั่งพัก ดื่มน้ำหรือรับประทานยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แถมยังมีความรู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนเข้ามาเพิ่มอีก 

มันอาจถึงเวลาที่คุณต้องหาคำตอบว่าอาการเหล่านี้บ่งบอกถึงอะไรได้บ้าง มีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณหรือไม่ ดังนั้นมาดูกันว่าสาเหตุของอาการหน้ามืด เวียนหัวเกิดจากอะไร และเราจะแก้ไขยังไงได้บ้าง

สาเหตุของอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้

  • เป็นโรคหรือมีความผิดปกติทางสมองและระบบประสาท: เพราะโรคเหล่านี้มักมาพร้อมอาการปวดศีรษะ มึนงง สับสน ทำให้พูดช้าลงหรือไม่สามารถลำดับประโยคการพูดได้และต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เช่น 
  • มีความผิดปกติภายในหูชั้นใน: ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการโคลงเคลง เสียการทรงตัวและเดินโซเซ บางรายอาจเสี่ยงต่อการล้มและต้องนั่งกับพื้น รวมถึงรู้สึกบ้านหมุน เช่น 
    • มีการติดเชื้อในหู 
    • น้ำในหูไม่เท่ากัน 
    • กระดูกในหูเจริญผิดปกติ 
    • ตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน 
  • มีความผิดปกติของตา: บางครั้งการมีสายตาสั้น ยาว หรือเอียงผิดปกติ ก็ทำให้การมองเห็นผิดเพี้ยนจนมีอาการวิงเวียนหัวคลื่นไส้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะถ้ามีอาการตามัว คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่ามีโรคแทรกซ้อนหรือไม่ 
  • ฮอร์โมนเพศแปรปรวน: สาเหตุนี้มักเกิดในเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงก่อน หรือระหว่างมีประจำเดือน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวคุณผู้หญิงอาจมีอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้อาเจียนได้ โดยการเหล่านี้สามารถเรียกได้ในชื่อ "อาการพีเอ็มเอส (Pre-Menstrual Symptoms: PMS)" นอกจากนี้ ในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณมือใหม่หลายรายอาจอาจ้องเผชิญกับอาการนี้เช่นกัน
  • ความดันโลหิตผิดปกติ: ความดันโลหิตสูงหรือต่ำเกินไป ล้วนทำให้เกิดอาการปวดหัว วิงเวียน และคลื่นไส้ได้ โดยเป็นผลมาจากเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น หรือแม้แต่ผลข้างเคียงจากยาลดความดันบางชนิดก็ทำให้เกิดการเวียนหัวได้
  • เป็นการตอบสนองของประสาทสัมผัส: เมื่อเราเห็นภาพที่ไม่อยากเห็น ได้สูดดมกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือรับรสชาติที่ไม่ชื่นชอบ หลายๆ ครั้งร่างกายจะตอบสนองโดยเกิดอาการเวียนหัวคลื่นไส้ อยากอาเจียนขึ้นได้เช่นกัน
  • ดื่มแอลกอฮอล์: เราสามารถเรียกอาการจากสาเหตุนี้ได้ในชื่อที่หลายคนคุ้นหูอย่าง "อาการเมาค้าง" เพราะการบริโภคแอลกอฮอล์มากๆ จนเมาหนักสามารถทำให้เกิดอาการปวดหัว เวียนหัวคลื่นไส้ได้ และอาการนี้ยังคงอยู่นานหลายชั่วโมงจนกว่าจะหายดี
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ: ผู้ที่อดอาหารหรือรับสารอาหารไม่เพียงพอ จะมีความรู้สึกหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ได้ และอาการดังกล่าวมักจะมาพร้อมกับความอ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิ 
  • ได้รับสารเคมีบางอย่าง: เช่น สูดดมทินเนอร์ สารกำจัดศัตรูพืช แก๊สและควันท่อไอเสีย รวมถึงการรับสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งหากรับในปริมาณมากก็อาจก่อให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ได้
  • อาหารเป็นพิษ: สารพิษของเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร นอกจากจะทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้แล้ว บางครั้งยังส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเวียนศีรษะได้เช่นกัน
  • เป็นผลข้างเคียงจากยา: เช่น ยาเคมีบำบัดรักษามะเร็ง และยาสมุนไพรบางชนิด ซึ่งหากคุณใช้ยาเหล่านี้แล้วมีอาการปวดหัว คลื่นไส้ ให้รีบปรึกษาแพทย์ว่าอาการข้างเคียงเหล่านี้เป็นอันตรายหรือไม่ 
  • ภาวะทางจิตเวช: มักพบร่วมกับผู้ที่มีอาการหวาดระแวงหรือโรควิตกกังวล (Anxiety disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) หรือโรคซึมเศร้า (Depression) 

การรักษาอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้

หากเกิดอาการหน้ามืด เวียนหัวคลื่นไส้ คุณอาจทำการรักษาเบื้องต้นด้วยตนเองได้ ดังนี้

  • นั่งลงพิงหลังในที่ที่ปลอดโปร่ง มีอากาศถ่ายเท และสูดหายใจเข้าลึกๆ
  • อาจดมยาดม หรือแอมโมเนียระเหย เพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนได้
  • ดื่มเครื่องดื่มผสมน้ำตาลที่มีฤทธิ์ช่วยแก้เวียนหัวคลื่นไส้ เช่น น้ำขิง หรือชาร้อน
  • หากอาเจียนออกมาหลายครั้ง ควรดื่มน้ำเกลือ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อชดเชยสารน้ำและแร่ธาตุที่เสียไป
  • หากคุณมีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง คุณอาจต้องหายาแก้คลื่นไส้อาเจียนรับประทานเพื่อยับยั้งอาการไว้ก่อน เช่น ยาไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)  และควรพกยาแก้คลื่นไส้อาเจียนติดตัวไว้บ้างเพื่อป้องกันเมื่ออาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
  • หากอาการที่เกิดขึ้นรุนแรงมากๆ หรือเรื้อรังไม่หาย คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหาสาเหตุเพิ่มเติม เพราะการตรวจหาอาการอาจจะต้องส่งผ่านการตรวจพิเศษหรือการทดสอบทางห้องแลป เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dommaraju S, An approach to vertigo in general practice. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27052132), Apr 2016
Herbert L. Muncie, MD, Dizziness: Approach to Evaluation and Management(https://www.aafp.org/afp/2017/0201/p154.html), 1 February 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม