กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Rectal Prolapse (ไส้ตรงปลิ้น)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ลำไส้ตรงปลิ้น (Rectal prolapse) เป็นภาวะที่เกิดเมื่อลำไส้ตรงบางส่วน หรือทั้งหมดมีการเคลื่อนตัวออกมาภายนอกทวารหนัก สามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ แต่มักพบในเด็กเล็กและพบในผู้ใหญ่เพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • สาเหตุส่วนมากมักเกิดจากภาวะอ้วน ขับถ่ายน้อย หรือท้องผูกเรื้อรัง แต่ก็อาจจะเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างและกล้ามเนื้อบริเวณรอบทวารหนัก ไส้ตรง และกระบังลมได้
  • อาการแสดงของภาวะลำไส้ตรงปลิ้น ได้แก่ มีเนื้อเยื่อสีแดงยื่นออกมานอกรูทวารหนัก (เนื้อเยื่อนี้อาจมีเลือดออก หรือมีมูก และสามารถเคลื่อนกลับเข้าไปในร่างกายได้ หรืออาจค้างอยู่นอกทวารหนักก็ได้) มีปัญหาในการเริ่มถ่าย ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้
  • นิยมรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมบริเวณที่มีการปลิ้นและป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำ หรือใช้วิธีอื่นๆ เช่น ยาระบาย การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย

ลำไส้ตรงเป็นส่วนสุดท้ายของลำไส้ใหญ่ก่อนที่จะถึงรูทวารหนัก (รูเปิดที่อุจจาระออกมาภายนอกร่างกาย) ส่วนลำไส้ตรงปลิ้น (Rectal prolapse) เป็นภาวะที่เกิดเมื่อลำไส้ตรงบางส่วน หรือทั้งหมดมีการเคลื่อนตัวออกมาภายนอกทวารหนัก

ภาวะ Rectal prolapsed เป็นภาวะที่ทำให้เกิดความไม่สบายตัวและได้รับการรักษาเพื่อแก้ไข

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับใคร?

Rectal prolapse เป็นภาวะที่พบได้น้อย โดยพบได้ในประชากรน้อยกว่า 3 คนใน 100,000 คน แม้จะสามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ แต่มักพบในเด็กเล็กและพบในผู้ใหญ่เพศหญิงมากกว่าเพศชาย 

ทั้งนี้ความเสี่ยงของภาวะ Rectal prolapsed นี้ จะเพิ่มมากขึ้นตามวัยที่เพิ่มขึ้น ส่วนการเกิดภาวะนี้ในผู้ชายนั้นค่อนข้างคงที่  

ภาวะนี้เกิดจากอะไร?

มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้ แต่ส่วนมากมักเกิดจากภาวะอ้วน ขับถ่ายน้อย หรือท้องผูก แต่ก็อาจจะเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างและกล้ามเนื้อบริเวณรอบทวารหนัก ไส้ตรง และกระบังลมได้

การตั้งครรภ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการคลอดก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด rectal prolapse

  • ท้องผูกเรื้อรัง (ขับถ่ายลำบาก และถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์)
  • ท้องเสียเรื้อรัง (ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำที่มากกว่า 3 ครั้งต่อวันเป็นประจำ)
  • มีประวัติเบ่งถ่ายเป็นเวลานาน
  • กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง
  • ประวัติการผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน
  • เคยคลอดทางช่องคลอดมาก่อน

อาการของ rectal prolapse

  • มีเนื้อเยื่อสีแดงยื่นออกมานอกรูทวารหนัก (เนื้อเยื่อนี้อาจมีเลือดออก หรือมีมูก และสามารถเคลื่อนกลับเข้าไปในร่างกายได้ด้วยตนเอง หรืออาจจะค้างอยู่ภายนอกทวารหนักก็ได้)
  • ความรู้สึกไม่สบายตัว เช่น รู้สึกว่ามีบางอย่างหลุดออกมา หรือรู้สึกเหมือนกำลังนั่งอยู่บนลูกบอล
  • มีปัญหาในการเริ่มถ่าย
  • รู้สึกว่าถ่ายไม่สุด
  • ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้

การรักษาภาวะไส้ตรงปลิ้น

แพทย์จะเป็นผู้กำหนดว่า จะใช้หัตถการแบบไหนในการรักษาอาการดังกล่าว  โดยทั่วไป การรักษาขั้นแรกของภาวะนี้คือ "การผ่าตัด" เป้าหมายคือ การซ่อมแซมบริเวณที่มีการปลิ้นและป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำ

สำหรับการเลือกทำหัตถการด้วยวิธีผ่าตัดต้องพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่ อายุ โรคประจำตัว ประวัติสุขภาพ เช่น เคยมีปัญหาเรื่องท้องผูกเรื้อรังมาก่อนหรือไม่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หลังจากการผ่าตัด อาการอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับภาวะนี้ควรจะหายไปด้วยเช่นกัน โดยส่วนมากแล้วผู้ป่วยมักพบว่าภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้นั้นดีขึ้น

การผ่าตัดสำหรับโรค rectal prolapse

มีวิธีการผ่าตัด 2 วิธีที่มักใช้รักษาภาวะนี้

วิธีที่ 1 Abdominal repair เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะ rectal prolapsed ผ่านทางหน้าท้อง มักจะมีแผลผ่าตัดเล็กๆ หลายรอยบริเวณท้องน้อย แพทย์จะทำการดึงลำไส้ตรงกลับขึ้นไปในร่างกายและยึดลำไส้ไว้กับกระดูกชิ้นเล็กๆ บริเวณหลังส่วนล่าง เพื่อไม่ให้มีการยื่นกลับออกมาอีก

วิธีที่ 2 Rectal repair การผ่าตัดชนิดนี้จะทำผ่านรูทวารหนักแทนการเปิดแผลบริเวณหน้าท้อง เป็นการผ่าตัดที่นิยมทำให้ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัวมาก ทั้งนี้วิธีในการทำ rectal repair ที่ใช้บ่อย 2 วิธีคือ

  • Altemeier วิธีนี้แพทย์จะทำการตัดลำไส้ตรงบางส่วนที่ยื่นออกมาภายนอกรูทวารหนักออก ก่อนที่จะดันลำไส้ตรงส่วนที่เหลือกลับเข้าสู่ร่างกายและยึดกับด้านในของทวารหนัก
  • Delorme วิธีนี้แพทย์จะทำการตัดเยื่อบุด้านในของลำไส้ตรงที่ยื่นออกมาออก ก่อนจะทำการพับเยื่อบุส่วนนอกและเย็บกลับขึ้นไปเพื่อไม่ให้ยื่นออกมาอีก

การรักษา Rectal prolapse โดยใช้วิธีอื่น

  • ยาระบาย เพื่อลดอาการเบ่งถ่าย
  • การสวนอุจจาระ
  • การออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือที่เรียกว่า "การออกกำลังกายแบบ Kegel" เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย
  • การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง (มีเส้นใยอาหารอย่างน้อย 25-30 กรัมต่อวัน)
  • การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน 
  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การหลีกเลี่ยงความเครียด 

แม้ภาวะ Rectal prolapsed จะไม่ใช่โรค แต่ก็อาจสร้างความรำคาญ ไม่สบายใจ วิตกกังวล หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ 

ดังนั้นหากตรวจพบว่า มีความผิดปกติบริเวณดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยแยกระหว่างโรคริดสีดวงทวารกับภาวะนี้ จาก นั้นจะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย  จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Goldstein SD, Maxwell PJ. Rectal prolapse. Clinics in colon and rectal surgery 2011;24(1):39-45. National Center for Biotechnology Information. (Available via: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3140332/)
Medscape, Rectal Prolapse: Background, Anatomy, Pathophysiology (https://emedicine.medscape.com/article/2026460-overview), 11 November 2019.
Johns Hopkins Medicine, Rectal Prolapse (https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/rectal-prolapse), 12 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อยากทราบเกี่ยวกับโรคฝีคันทสูตรค่ะ เพราะคอนนี้เป็นอยู่ มีแนวทางการรักษาแบบไหน หรือต้องผ่าตัดอย่างเดียว
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปกติเป็นคนถ่ายแข็งอยู่แล้วแต่ช่วงนี้รู้สึกมีก้อนที่บริเวณทวาร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทวารหนักตีบจากการผ่าตัดริดสีดวง2ครั้งมีวิธีรักษามั้ยคะนอกจากการถ่างขยายรูทวาร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)