กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Psoriatic Arthritis (โรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 11 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่มักเกิดร่วมกับโรคสะเก็ดเงิน อีกทั้งสามารถเกิดได้จากการติดเชื้อเนื่องมาจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • อาการของโรคสะเก็ดเงินที่พบได้บ่อย คือ ข้อปวดร่วมกับรู้สึกปวดข้อ นิ้วมือกับนิ้วเท้าปวด ปวดหลังแบบเป็นๆ หายๆ
  • โรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ถึงขั้นทำลายกระดูกมือ และเท้า แต่มักไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่หากโรคนี้รุนแรงมากก็อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม
  • การรักษาน้ำหนักให้คงที่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช้ไขข้อต่างๆ หนักมากเกินไป เช่น ถือของ หิ้วของหนัก สามารถป้องกันการเกิดโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัด กระดูกและข้อ

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis) คือ โรคข้ออักเสบเรื้อรังหลายข้อชนิดหนึ่ง ที่มักเกิดร่วมกับโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยส่วนมากมักอยู่ในช่วงอายุ 30 - 50 ปี พบในเพศชายเท่ากับเพศหญิง

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินยังเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดหนึ่ง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะจู่โจมเข้าทำลายข้อต่อ นำไปสู่การอักเสบ และทำให้เจ็บปวดได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัจจัยเสี่ยงโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ เป็นโรคที่ยังไม่ทราบที่มาแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคได้ เช่น

  • เป็นโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบมากกว่าถึงประมาณ 15% ของคนทั่วไป
  • พันธุกรรม 40% ของผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบจะมีพ่อแม่หรือผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน
  • การติดเชื้อ โรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียซึ่งจะเริ่มมาจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
  • อายุ กลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่มีอายุในช่วง 30 - 50 ปี

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดข้ออักเสบอาจเริ่มเป็นโรคนี้ตั้งแต่เด็กๆ

อาการของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบเป็นโรคเรื้อรังที่มีระยะโรคสงบ และระยะโรคกำเริบที่จะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป 

อาการที่พบได้บ่อยของโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงินประกอบด้วย

  • ข้อบวมและปวด อาจรู้สึกร้อนผิวเมื่อสัมผัส โดยอาจเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย หรือทั้ง 2 ด้านก็ได้ และอาจจะเกิดขึ้นกับข้อเดียว หรือหลายข้อก็ได้เช่นกัน เช่น ที่ข้อศอกข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง หรือเกิดที่ข้อศอก และเข่าก็ได้
  • นิ้วเท้า และนิ้วมือบวม (Dactylitis) นิ้วของคุณอาจจะมีลักษณะบวมๆ นอกจากนั้นอาจเกิดรอยโรคที่เล็บได้ด้วยเช่นกัน อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นก่อนที่คุณจะเริ่มมีอาการปวดข้อ
  • ปวดเท้า คุณจะรู้สึกปวดในตำแหน่งที่เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ และเอ็นกระดูกที่ยึดติดเข้ากับกระดูก โดยเฉพาะบริเวณด้านหลังของส้นเท้า หรือที่ฝ่าเท้าอาการปวดนี้อาจเกิดขึ้นที่ข้อศอกได้ด้วยเช่นกัน
  • ปวดหลัง อาการปวดคอ หลังส่วนล่าง หรือปวดเมื่อก้มตัวอาจเกิดจาก "ภาวะ Spondylitis (การอักเสบที่กระดูกสันหลัง)" ทำให้เกิดการอักเสบที่ข้อระหว่างกระดูกสันหลังของคุณ
    อาการปวดหลังมักจะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง และมีช่วงเวลาที่โรคจะกำเริบกับช่วงเวลาที่โรคสงบ ส่วนมากแล้ว อาการของโรคจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

ไม่มีการทดสอบใดที่สามารถนำมาใช้ช่วยวินิจฉัยโรคนี้ได้ ดังนั้นแพทย์จึงมักทำการตรวจร่างกายของคุณร่วมกับการส่งตรวจเพื่อตัดโรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการแบบเดียวกันได้ 

ระหว่างการตรวจ แพทย์จะทำการมองตรวจข้อที่บวม และปวด ตรวจดูเล็บว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และกดที่เท้าของคุณเพื่อหาจุดกดเจ็บ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  1. ตรวจเลือดสำหรับโรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์ เนื่องจากโรคนี้อาจมีอาการเหมือนกับโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงินได้ แพทย์อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ ด้วย เช่น 
    ตรวจอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte Sedimenation Rate: ESR) การตรวจหาระดับ C-reactive protein (CRP) และ ตรวจหาแอนติบอดี Anti-cyclic citrullinated peptide (anti-CCP)
    หากผลการตรวจเหล่านี้ได้ผลบวก อาการปวดข้อดังกล่าวอาจเป็นอาการของโรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์ และไม่ได้เกิดจากโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน
  2. การตรวจน้ำไขข้อ การมีผลึกของกรดยูริกภายในน้ำไขข้อนั้นพบในโรคเกาท์ได้บ่อยกว่าโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน ดังนั้นหากตรวจพบผลึกดังกล่าวแสดงว่า คุณน่าจะเป็นโรคเกาท์มากกว่า
  3. เอกซเรย์ การตรวจเอกซเรย์สามารถช่วยระบุความเปลี่ยนแปลงของข้อซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงินได้
  4. การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การตรวจนี้สามารถระบุความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ และเอ็นยึดกระดูกที่เท้า หรือหลังส่วนล่างได้
  5. การส่งตรวจตัวอย่างผิวหนัง แพทย์อาจทำการตัดชิ้นส่วนของผิวหนังเพื่อนำไปตรวจหาโรคสะเก็ดเงิน

การรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

การใช้ยา การผ่าตัด และการเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตสามารถช่วยลดอาการปวดจากโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงินได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคนี้เป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษาแต่มีหลายวิธีที่สามารถช่วยลดอาการปวด และอาการอื่นๆ ของโรคนี้ นักวิจัยได้เสนอว่าการเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกสามารถช่วยลดการดำเนินของโรคได้ ดังนั้นขึงควรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ยาสำหรับรักษาโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน

1. กลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์  (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs: NSAIDs) ยากลุ่ม NSAIDs ที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาเช่น Aleve (Naproxen) และ Ibuprofen (Advil, Motrin)
โดยยากลุ่มนี้สามารถช่วยลดอาการปวด และการอักเสบที่เกิดจากโรคนี้ได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงตามมาระหว่างใช้ยา ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เช่น ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และอาจทำลายตับหรือไตได้

2. Disease-Modifying Antirheumatic drugs (DMARDs) : ยากลุ่มนี้ทำงานโดยการป้องกันการดำเนินของโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน และยังป้องกันการทำลายข้อ และเนื้อเยื่ออื่นๆ อย่างถาวรอีกด้วย 

ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย

  • Arava (Leflunomide)
  • Azulfidine (Sulfasalalzine)
  • Trexall (Methotrexate)

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ คือ อาจทำลายตับ กดการทำงานของไขกระดูก และเกิดการติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรงได้

3. ยากดภูมิ : ยากลุ่มนี้จะช่วยกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากสะเก็ดเงินมีการทำงานมากเกินไป แพทย์อาจสั่งจ่ายยา Azathioprine (Imuran, Azasan) หรือ Cyclosporine (Gengraf, Neoral, Sandimmune) ให้
อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียง คือ อาจทำให้คุณมีโอกาสในการติดเชื้ออื่นๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นหากอยู่ในระหว่างใช้ยาในกลุ่มนี้อยู่ควรจะต้องดูแลสุขภาพของตนเองอย่างระมัดระวัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4. สาร TNF-alpha inhibitors สารTumor necrosis factor-alpha (TNF-alpha) เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อเกิดการอักเสบ ดังนั้นยาในกลุ่มนี้จึงสามารถช่วยลดอาการปวดและข้อติดในตอนเช้าได้ และยังลดอาการปวดหรือบวมของข้ออีกด้วย ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย

  • Cimzia (Certolizumab)
  • Embrel (Etanercept)
  • Humira (Adalimumab)
  • Remicade (Infliximab)
  • Simponi (Golimumab)

ผลข้างเคียงของยาอาจประกอบด้วย อาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ผมร่วง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงได้

5. การฉีดสเตียรอยด์ การฉีดสเตียรอยด์เข้าไปยังข้อที่มีอาการนั้นสามารถลดอาการอักเสบ และอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ

หากข้อมีการถูกทำลายจากโรคนี้อย่างรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการใช้ชีวิตของคุณ คุณอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนใส่ข้อเทียม 

การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต

นอกเหนือจากการใช้ยาแล้วนั้น การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตยังอาจช่วยลดอาการของโรคได้

  1. คงน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม : การที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรืออ้วนนั้นจะทำให้เพิ่มแรงดันและความเครียดไปที่ข้อมากขึ้น
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ : การออกกำลังกายสามารถช่วยให้ข้อของคุณแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ การเดิน, ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำอาจให้ผลดีต่อข้อของคุณโดยไม่เพิ่มแรงดันต่อข้อ การเล่นโยคะก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
  3. ป้องกันข้อ : ไม่ควรใช้งานข้อมากเกินไป เช่น ไม่ควรหิ้วถุงจ่ายตลาดด้วยนิ้วเพียงไม่กี่นิ้ว แต่ควรใช้ทั้งมือในการหิ้ว อย่าเปิดประตูโดยการใช้มือดัน แต่ให้ใช้น้ำหนักตัวทั้งหมดช่วยดันเป็นต้น
  4. อย่าฝืนร่างกายมากเกินไป : นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ชวนหงุดหงิด แต่โรคนี้มักจะมาพร้อมกับช่วงเวลาที่ร่างกายอ่อนแอ ดังนั้นควรหยุดการใช้พลังงานอย่างเต็มที่ตลอดเวลา แต่ให้แบ่งการทำงานออกเป็นส่วนๆ ทีละ 10-15 นาทีแทน
  5. ประคบร้อนหรือประคบเย็น : การประคบร้อนและเย็นสามารถช่วยลดอาการปวดได้เมื่อเริ่มมีอาการปวดข้อ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน  

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มักมีผลข้างเคียงที่ทำให้โลหิตจาง เมื่อยล้า และซึมเศร้า นอกจากนี้ ยังอาจมีความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลสูง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก 

ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงยิ่งขึ้นของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ คือ การทำลายกระดูกนิ้วมือ และมือ และยังทำให้พิการถาวรด้วย แต่ก็มีผู้ป่วยเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงนี้ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา ผ่าตัดกระดูก และข้อ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Causes of psoriatic arthritis: Triggers and risk factors. Medical News Today. (Available via: https://www.medicalnewstoday.com/articles/316841)
What Is Psoriatic Arthritis? Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment, and Prevention. Everyday Health. (Available via: https://www.everydayhealth.com/psoriatic-arthritis/guide/)
Psoriatic arthritis: Diagnosis and treatment. American Academy of Dermatology. (Available via: https://www.aad.org/public/diseases/psoriasis/psoriatic-arthritis-treatment)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
โรคสะเก็ดเงินที่เล็บรักษาไม่หายจริงหรอค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรให้หายขาด
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เป็นโรคสะเก็ดเงินค่ะ ทำยังไงจึงหาย
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคสะเก็ดเงินทำให้โครงหน้าเปลี่ยนใช่ไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
โรคเรื้อนกวางเป็นโรคติดต่อมั้ยค่ะแล้วควรรักษายังไงค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)