กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ. วรรณวนัช เสถียนธรรมมณี แพทย์ทั่วไป

กระดูกเชิงกรานคืออะไร?

กระดูกเชิงกราน กระดูกส่วนสำคัญที่มักถูกมองข้าม กับความผิดปกติที่ร้ายแรงถึงชีวิตได้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กระดูกเชิงกรานคืออะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กระดูกเชิงกราน ตั้งอยู่ในส่วนปลายที่สุดของกระดูกสันหลัง ภายในกระดูกเชิงกรานประกอบไปด้วย กระดูกปีกสะโพก กระดูกหัวหน่าว กระดูกใต้กระเบนเหน็บ กระดูกเชิงกรานทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในหลายชิ้น เช่น มดลูก รังไข่ ลำไส้ใหญ่ตอนปลาย 
  • หากกระดูกเชิงกรานผิดปกติ จะนำไปสู่อาการหลายอย่าง เช่น หากกระดูกเชิงกรานหัก จะปวดอย่ารุนแรง มีปัญหาขับถ่าย หากกระดูดเชิงกรานเคลื่อน อาจเกิดความผิดปกติช่วงล่าง
  • หากกระดูกเชิงกรานร้าว แม้จะมีความเจ็บปวดรุนแรงเช่นกัน แต่หากดูแลตัวเองอย่างดีก็มีโอกาสที่กระดูกจะประสานกันได้เหมือนเดิม หากกระดูกเชิงกรานอักเสบ อาจทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่น เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์ และปวดช่องท้อง
  • ความผิดปกติที่กล่าวมาทั้งหมด ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อทำการรักษาหรือให้คำแนะนำ หากอาการรุนแรงแพทย์อาจใช้วิธีผ่าตัดใส่โลหะเข้าไปยึดกระดูก เพราะเมื่อผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติทันที 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง

กระดูกเชิงกราน เป็นกระดูกขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง แต่มักจะไม่ค่อยมีคนใส่ใจกับมันสักเท่าไรจนกระทั่งเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกาย

ความผิดปกติกับกระดูกเชิงกรานหากเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมทำให้เกิดความเจ็บป่วยและเป็นอันตรายเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ตามมาได้อีกมากมาย มาทำความรู้จักกับกระดูกเชิงกรานให้มากขึ้น พร้อมกับรู้จักความผิดปกติต่างๆ ของกระดูกเชิงกราน เพื่อที่จะได้ระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กระดูกเชิงกรานคืออะไร 

กระดูกเชิงกราน (Pelvis) ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ในร่างกายของเรา โดยจะตั้งอยู่ในส่วนปลายที่สุดของกระดูกสันหลัง ภายในกระดูกเชิงกรานนั้น ประกอบไปด้วย 

  • กระดูกปีกสะโพก เป็นกระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในบรรดากระดูกเชิงกราน แบ่งออกเป็นฝั่งซ้ายและขวา
  • กระดูกหัวหน่าว เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณด้านหน้า
  • กระดูกใต้กระเบนเหน็บ เป็นกระดูกที่อยู่ด้านหลังสุด 

กระดูกทั้ง 3 ส่วนนี้จะเชื่อมต่อกันทั้งหมด ในเพศหญิงและเพศชายจะมีกระดูกเชิงกรานที่ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ในจึงทำให้กระดูกเชิงกราน เป็นกระดูกชิ้นที่สำคัญเป็นอย่างมากในการพิจารณาโครงกระดูกโบราณว่าเจ้าของกระดูกเป็นเพศอะไร ซึ่งจะช่วยให้นำไปสู่การค้นหาเจ้าของกระดูกต่อไปได้

หน้าที่ของกระดูกเชิงกราน

กระดูกเชิงกรานมีหน้าที่สำคัญคือ ปกป้องอวัยวะภายในที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน ซึ่งประกอบไปด้วย 

นอกจากนี้กระดูกเชิงกรานยังช่วยให้ร่างกายของเรามีการคงลักษณะได้เป็นอย่างดี และยังช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของขาด้วย

ความผิดปกติของกระดูกเชิงกราน

ถึงแม้ว่ากระดูกเชิงกรานจะมีความแข็งแรงไม่ต่างกับกระดูกส่วนอื่น แต่ด้วยความที่เป็นกระดูกซึ่งทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ถ้าหากเกิดการกระทบกระเทือนขึ้น ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายภายในกระดูกเชิงกรานได้ มาดูกันว่า ถ้าหากกระดูกเชิงกรานผิดปกติ จะนำไปสู่อาการอย่างไรได้บ้าง

1.กระดูกเชิงกรานหัก

ส่วนมากสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้กระดูกเชิงกรานหักคือ ได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง เช่น ตกจากที่สูง ถูกทำร้ายร่างกายบริเวณสะโพก อุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่ขณะเดียวกัน หากเกิดภาวะกระดูกพรุน การได้รับการกระแทกเพียงเล็กน้อย เช่น หกล้ม ก้นหรือสะโพกกระแทก ก็มีโอกาสที่จะทำให้กระดูกเชิงกรานหักได้ อาการที่พบส่วนมากคือ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ปวดกระดูกเชิงกรานอย่างรุนแรง จนไม่สามารถขยับร่างกายโดยเฉพาะสะโพกได้
  • มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
  • เจ็บที่ก้นอย่างรุนแรงเวลานั่งบนเก้าอี้ 

ในส่วนของการรักษา แพทย์มักจะเลือกใช้วิธีผ่าตัดใส่โลหะเข้าไปยึดกระดูก เพราะเมื่อผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติทันที แต่อาจจะต้องติดตามอาการอย่างน้อย 8-12 สัปดาห์ เพื่อดูว่ามีอาการแทรกซ้อนใดๆ หรือไม่ 

2.กระดูกเชิงกรานเคลื่อน

ปกติแล้วจะไม่ค่อยพบเห็นการเคลื่อนที่ของกระดูกเชิงกรานสักเท่าไร เพราะเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ แต่ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรุนแรง เช่น หกล้มสะโพกกระแทกพื้น อุบัติเหตุทางรถยนต์บางประเภท ก็อาจส่งผลให้กระดูกเชิงกรานเคลื่อนที่ไปจากเดิมได้ โดยเฉพาะกระดูกสะโพกและกระดูกก้นกบ 

กระดูกเชิงกรานเคลื่อนนับว่ามีความอันตรายมาก เพราะอาจทำให้กระดูกไปกระทบกระเทือนกับหลอดเลือด เส้นประสาท กล้ามเนื้อที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับช่วงล่างตามมา

3.กระดูกเชิงกรานร้าว

ถึงแม้ว่ากระดูกเชิงกรานร้าว จะเป็นอาการที่ดูมีความปลอดภัยมากกว่ากระดูกเชิงกรานหัก แต่นั่นก็เป็นสัญญาณอันตรายที่ทำให้คุณต้องระมัดระวังมากกว่าเดิม เพราะถ้าหากเกิดอุบัติเหตุซ้ำอีกครั้ง หรือดูแลตนเองไม่ดี ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้กระดูกเชิงกรานหักขึ้นมาจริงๆ 

สำหรับผู้ที่กระดูกเชิงกรานร้าว ถ้าหากดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี มีความระมัดระวังไม่ให้กระดูกมีการกระทบกระเทือนอีก ก็มีโอกาสที่กระดูกจะกลับมาประสานกันอีกครั้งได้ภายในเวลา 2-3 เดือน แต่ในผู้ป่วยรายที่ร้าวมากๆ อาจจะใช้เวลานานถึง 1 ปีขึ้นไป อาการที่พบได้ส่วนใหญ่ มีตั้งแต่เจ็บปวดอย่างรุนแรง ไม่สามารถขยับบริเวณที่กระดูกร้าวได้ รวมทั้งเกิดอาการบวมช้ำอย่างหนัก ซึ่งก็ควรจะไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

4.กระดูกเชิงกรานอักเสบ

เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากอวัยวะสืบพันธุ์ในเพศหญิง จึงทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นที่บริเวณกระดูก หากเกิดกับผู้ป่วยหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน ก็จะเพิ่มโอกาสมีบุตรยากมากขึ้น สำหรับอาการที่พบได้โดยทั่วไปคือ 

  • ปวดในช่องท้อง 
  • ตกขาวมีกลิ่นหรือมีสี 
  • รู้สึกเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ 
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด 

หากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และจะได้ทำการรักษาได้ทันนั่นเอง

อย่าละเลยและคิดว่ากระดูกเชิงกรานไม่ใช่กระดูกส่วนสำคัญที่ต้องดูแลมากมาย ใครที่กำลังมีปัญหากับกระดูกเชิงกราน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อที่จะหาวิธีการรักษาให้ถูกต้องต่อไป อย่าปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะอาจจะนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)