ออกซิเจนกระป๋องคืออะไร ประโยชน์ วิธีการใช้ และราคาของแต่ละยี่ห้อ

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ออกซิเจนกระป๋องคืออะไร ประโยชน์ วิธีการใช้ และราคาของแต่ละยี่ห้อ

ชีวิตในเมืองใหญ่ในยามที่เร่งรีบกับผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่คับแคบ แออัด หรือมีมลพิษมากมาย จนยากต่อการได้รับอากาศบริสุทธิ์ที่ได้จากต้นไม้หรือธรรมชาติ ดังนั้นความต้องการอากาศบริสุทธิ์ให้เข้าสู่ร่างกาย เพื่อความผ่อนคลายหายเครียดและคืนความกระปรี้กระเปร่าแบบเร่งด่วน ออกซิเจนกระป๋องจึงเป็นทางเลือกที่ดีและควรมีพกพาติดตัวหรือซื้อติดบ้านไว้

ออกซิเจนกระป๋องคืออะไร

ออกซิเจนกระป๋องเป็นการนำก๊าซออกซิเจนบรรจุใส่ในกระป๋องขนาดเล็ก ไม่มีสีและกลิ่น สำหรับนำมาใช้เพื่อเติมอากาศให้เข้าสู่ร่างกายจากออกซิเจนที่มีอยู่น้อย ก็จะได้รับออกซิเจนเข้มข้นถึง 95% เมื่อสูดเข้าไปแล้วจะรู้สึกสดชื่น หายใจสะดวก และผ่อนคลายความเครียด โดยใช้สูดและหายใจเข้าครั้งละ 2 วินาที วันละ 5 – 6 ครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ออกซิเจนกระป๋อง 1 กระป๋อง ใช้ได้ประมาณ 35 – 40 ครั้ง / สัปดาห์ แตกต่างจากออกซิเจนที่ใช้ในโรงพยาบาล เพราะให้ความชุ่มชื้นน้อยกว่าออกซิเจนถังที่ใช้ตามโรงพยาบาลนั่นเอง ใช้งานง่ายและเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติไม่ต้องแช่ตู้เย็น อีกทั้งสะดวกต่อการพกพา แต่ไม่สามารถเติมบรรจุก๊าซเข้าไปเหมือนออกซิเจนถังได้ เมื่อใช้หมดแล้วก็ต้องทิ้งไป

ประโยชน์ของออกซิเจนกระป๋อง

เป็นประโยชน์ในการช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการหายใจที่ไม่สะดวก ป้องกันการเกิดความเชื่องช้าในยามที่ขับรถนานๆ ลดความเครียด ลดอัตราการหายใจเร็วขณะเกิดความเหนื่อยล้า ลดความอึดอัด ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการออกซิเจนเป็นอย่างมากในเวลาฉุกเฉิน อาทิเช่น

  • ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีการหายใจบกพร่อง เป็นโรคหอบ โรคหืด หรือโรคความดันโลหิตสูง
  • เหมาะสำหรับติดไว้ประจำบ้านหรือพกพาในยามเดินทาง รวมทั้งเวลาที่อยู่บนที่สูงๆ มีออกซิเจนน้อยอย่างเช่นบนภูเขา
  • ผู้ที่นอนน้อย อดนอน หรืออ่านหนังสือดึกๆ เป็นประจำ
  • ผู้ที่อาศัยหรืออยู่ในบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์น้อย มีมลภาวะอากาศเป็นพิษสูงอย่างเช่นตำรวจจราจร บริเวณที่มีการจราจรแออัด หรือต้องเดินทางไกลเป็นเวลานานๆ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่ออกกำลังกายหนักๆ เช่น ฟิตเนต วิ่ง หรือการปั่นจักรยานที่มีระยะทางไกล
  • ผู้ที่ต้องการความสดชื่นและกระฉับกระเฉง เนื่องจากออกซิเจนเป็นอากาศที่มีส่วนช่วยเผาผลาญพลังงาน หรืออาหารต่างๆ ที่รับประทานเข้าไป ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีการใช้ออกซิเจนกระป๋อง

  • เมื่อแกะพลาสติกที่หุ้มออกซิเจนกระป๋องออกเรียบร้อยแล้ว ให้นำกรวยที่มีด้านแคบต่อเข้ากับหัวฉีดหรือที่กดสเปรย์
  • นำกรวยด้านกว้างครอบปากและจมูกไว้ นับ 1 – 2 วินาที พร้อมๆ กับฉีดก๊าซออกมาแล้วสูดหายใจเข้าไป 

ยี่ห้อและราคาของออกซิเจนกระป๋อง

หาซื้อได้ตามร้านขายยาบางร้าน ร้านจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วยแบบครบวงจร โดยจะบรรจุออกซิเจนประมาณ 4,500 – 5,000 ml ราคาอาจเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัน เวลา โปรโมชั่นของแต่ละร้าน รวมทั้งสถานที่ที่จำหน่ายอีกด้วย

  • Oxygen O2 ออกซิเจนบริสุทธิ์ ปริมาณ 5,000 ml ราคา 189 บาท ซื้อ 12 ชิ้น ขึ้นไป ราคากระป๋องละ 160 บาท
  • Sanso kun ออกซิเจนบริสุทธิ์ 93% ปริมาณ 4,500 ml ราคา 160 บาท
  • Laven Oxygen ออกซิเจนบริสุทธิ์ 95% ปริมาณ 8,000 ml ราคา 320 บาท
  • Lavim ออกซิเจนเข้มข้น 95% ปริมาณ 4,500 ml ราคา 360 บาท

ออกซิเจนกระป๋องทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นออกซิเจนแบบไม่มีสีและกลิ่น สามารถใช้ได้ประมาณ 40 – 50 ครั้ง ไม่สามารถนำพกพาขณะขึ้นเครื่องบินได้ ขณะใช้ต้องห้ามพ่นใกล้ไฟ ควรเก็บในอุณหภูมิห้องที่ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส และเมื่อใช้หมดแล้วก็ห้ามทิ้งภาชนะใส่เตาเผาหรือนำไปเผาไฟเป็นอันขาด เพราะอาจระเบิดเป็นอันตรายและทำให้เกิดไฟไหม้ได้

ดังนั้นออกซิเจนกระป๋องเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้คนในเมืองใหญ่ ซึ่งใช้ชีวิตประจำวันที่ทำงานแต่ห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ มีแค่เครื่องปรับอากาศ แม้ว่าจะเป็นเพียงความสดชื่นในช่วงเวลาสั้นๆ การสูดออกซิเจนก็ยังคงทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวพร้อมกับการทำงาน ช่วยให้สมองมีสมาธิพร้อมจดจำได้ดีขึ้น เท่ากับว่าเป็นการช่วยให้คนเมืองมีโอกาสสัมผัสกับอากาศบริสุทธิ์เหมือนที่ได้จากธรรมชาติอันหามิได้ในเมืองใหญ่ๆ นั่นเอง


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)