ทพญ. สิริพัชร ชำนาญเวช ทันตแพทย์ทั่วไป และศัลยศาสตร์ช่องปาก
เขียนโดย
ทพญ. สิริพัชร ชำนาญเวช ทันตแพทย์ทั่วไป และศัลยศาสตร์ช่องปาก

ฟันเหยิน จัดฟันได้ไหม ทำแบบไหนถึงให้ผลดี?

ฟันเหยินไม่ได้เป็นปัญหากับความงามหรือความมั่นใจเท่านั้น ฟันเหยินรุนแรงยังอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ วิธีแก้ปัญหาฟันเหยินหลักๆ คือ จัดฟัน ต้องจัดแบบไหน...อ่านเลย!
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฟันเหยิน จัดฟันได้ไหม ทำแบบไหนถึงให้ผลดี?

ฟันเหยิน คือการเรียงตัวที่ผิดปกติของฟัน มีลักษณะของฟันหน้าบนยื่นหรือบานกว่าปกติ บางรายเป็นน้อย บางรายเป็นมาก แก้ไขได้โดยการจัดฟัน

ผู้ที่ฟันเหยินอาจพิจารณาจัดฟันเพียงเพื่อความสวยงาม หรือในบางรายจำเป็นต้องจัดเนื่องจากฟันเหยินมาก ส่งผลให้การสบฟันผิดปกติ ไม่สามารถกัดอาหารให้ขาดด้วยฟันหน้าได้ หรือไม่สามารถปิดริมฝีปากให้สนิท นำไปสู่อาการปากแห้ง ฟันผุ เหงือกอักเสบ และโรคเหงือกในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้การมีฟันเหยินยังอาจทำให้เกิดปัญหาพูดไม่ชัด กลืนลำบาก เคี้ยวเจ็บ เคี้ยวไม่สะดวก ปวดเจ็บข้อต่อขากรรไกร ปวดศีรษะ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เสี่ยงต่อฟันหน้าหักเมื่อล้มกระแทก รวมทั้งการสูญเสียความมั่นใจ

ฟันเหยินเกิดจากสาเหตุอะไร?

สาเหตุของฟันเหยินส่วนใหญ่มาจากกรรมพันธุ์ ลักษณะการเจริญเติบโตของขากรรไกรบนมากกว่าปกติ การเจริญเติบโตของขากรรไกรล่างน้อยกว่าปกติ

รวมไปถึงพฤติกรรมผิดๆ ที่เคยทำเป็นระยะเวลานาน เช่น

  • ดูดนิ้ว ดูดจุกหลอก ดูดนมขวด ที่ยังไม่เลิกใช้เมื่อเด็กอายุมากกว่า 3 ปี
  • หายใจทางปาก
  • กลืนผิดวิธี เช่น ใช้ลิ้นแลบดันระหว่างฟันหน้าบนและล่างขณะกลืน

การสูญเสียฟันน้ำนมบางซี่ไปก่อนเวลาอันควรจากโรคฟันผุ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฟันแท้เรียงตัวผิดปกติได้

ในทางกลับกัน ในคนไข้ที่ขากรรไกรเล็ก แต่มีฟันซี่ใหญ่ ก็ทำให้เกิดการเหยินของฟันหน้าได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกร การมีเนื้องอกหรือถุงน้ำในขากรรไกรดันฟันให้เคลื่อนผิดตำแหน่ง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันเหยินเช่นกัน

ซึ่งหากมีเนื้องอกหรือถุงน้ำ มักมีอาการปวด บวม หรือเจ็บ ร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากฟันเหยิน จะทำอย่างไรให้ดูดี ยิ้มสวย?

ฟันเหยินสามารถรักษาได้โดยการจัดฟัน เพื่อให้การเรียงตัวสวยงาม ยิ้มสวย ดูดี

ในการรักษาอาจต้องมีการถอนฟันแท้บางซี่ ซึ่งมักจะเป็นฟันกรามน้อยที่อยู่หลังจากฟันเขี้ยว เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการเรียงฟันถอยให้เหยินน้อยลงจนหายเหยินได้

การจัดฟัน ในบางรายจำเป็นและสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ช่วงฟันชุดผสม (คือ ยังมีทั้งฟันน้ำนมและฟันแท้ อายุประมาณ 8-11 ปี)

เนื่องจากยังอยู่ในช่วงที่มีการเจริญเติบโต สามารถใช้เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ชนิดต่างๆ ช่วยกำหนด จำกัด หรือกระตุ้นการเจริญเติบโตของขากรรไกรบนหรือล่างให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

เพื่อป้องกันการเจริญผิดปกติของขากรรไกร ลดโอกาสที่จะต้องผ่าตัดขากรรไกรในอนาคต

ทั้งนี้ ทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันจะเป็นผู้พิจารณาว่าควรเริ่มทำได้เลย หรือรอให้ถึงวัยที่ฟันน้ำนมหลุดเองหมดก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันได้เลยตั้งแต่เริ่มเห็นความผิดปกติ

การแก้ฟันเหยินสามารถทำได้ทั้งจัดฟันแบบติดเหล็ก และจัดฟันแบบใส

ในคนไข้บางรายที่มีขากรรไกรบนยื่นอูมมาก หรือมีขากรรไกรล่างหดสั้นมากผิดปกติ ทันตแพทย์จะใช้การตรวจในช่องปากและการตรวจทางภาพถ่ายรังสี (X-ray) อาจพิจารณาจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร เพื่อให้ได้รูปโครงหน้าที่สวยงาม และโครงสร้างของกระดูกรองรับฟันที่เหมาะสมกับการจัดเรียงตัวของฟัน

ฟันเหยิน มาก ฟันเหยินนิดหน่อย ซี่เดียว จัดฟันได้ไหม?

ไม่ว่าจะฟันเหยินมาก น้อย หรือซี่เดียว ก็สามารถจัดฟันได้

หากเหยินมากอาจต้องมีการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วยตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น

ผู้มีปัญหาฟันเหยินสามารถปรึกษาวางแผนกับทันตแพทย์จัดฟันเกี่ยวกับรูปแบบในการรักษา ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเริ่มรับการรักษา

ถ้าไม่อยากจัดฟัน จะแก้ปัญหาฟันเหยินด้วยวิธีอื่นได้อย่างไร?

การแก้ปัญหาฟันเหยินโดยไม่จัดฟันนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ยกเว้นกรณีที่เหยินเพียงเล็กน้อยมากๆ หรือเหยินเล็กน้อยเพียงบางซี่เท่านั้น อาจใช้วีเนียร์ในการปรับรูปร่างฟันได้ (กรอแต่งและใช้วัสดุเซรามิกแปะหน้าฟัน)

ทั้งนี้อาจช่วยได้ไม่มากนัก ต้องอยู่ในความเหมาะสมและดุลยพินิจของทันตแพทย์ แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD Medical Reference, Dental Health With Crooked Teeth and Misaligned Bites (https://www.webmd.com/oral-health/guide/crooked-teeth-misaligned-bites), 17 March 2019.
Adrienne Santos, What Causes Buck Teeth (Overbite) and How Do I Treat Them Safely? (https://www.healthline.com/health/buck-teeth#what-not-to-do), 21 March 2019.
Absolute Dental, Your Overbite Guide: Causes and Treatment Methods (https://www.absolutedental.com/blog/overbite-causes-and-treatments/), 24 May 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รวมรูปแบบและราคาการจัดฟันโดยประมาณ
รวมรูปแบบและราคาการจัดฟันโดยประมาณ

จัดฟันมีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร ราคาประมาณเท่าไหร่บ้าง

อ่านเพิ่ม
การจัดฟันในผู้สูงอายุ ทำได้หรือไม่
การจัดฟันในผู้สูงอายุ ทำได้หรือไม่

อายุมากแล้วยังจัดฟันได้อยู่หรือไม่ แตกต่างกับการจัดฟันในวัยเด็กอย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่ม
จัดฟันแบบใส ราคาเท่าไหร่ แพงไหม? ผ่อนชำระได้หรือเปล่า?
จัดฟันแบบใส ราคาเท่าไหร่ แพงไหม? ผ่อนชำระได้หรือเปล่า?

จัดฟันแบบใส เพิ่มความมั่นใจ ดูแลรักษาง่าย และหมดปัญหาเครื่องมือบาดปากอีกต่อไป

อ่านเพิ่ม