กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจวินิจฉัย รักษา และติดตามผลในโรคมะเร็งรังไข่

ทำความรู้จักการตรวจวินิจฉัย แนวทางการรักษา และการติดตามผลหลังการรักษาครบในโรคมะเร็งรังไข่
เผยแพร่ครั้งแรก 19 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การตรวจวินิจฉัย รักษา และติดตามผลในโรคมะเร็งรังไข่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งรังไข่มีทั้งชนิดที่พบในเด็ก (ความรุนแรงของโรคต่ำกว่า) และชนิดที่พบมักในผู้ใหญ่ ซึ่งโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ใหญ่จัดเป็นโรคที่มีความรุนแรงค่อนข้างสูง
  • ตัวอย่างอาการของโรคมะเร็งรังไข่ เช่น ประจำเดือนผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด คลำพบก้อนเนื้อในท้องน้อย มีอาการผิดปกติในทางเดินอาหาร เช่น แน่นท้อง ท้องอืด เนื่องจากก้อนเนื้อ กดหรือเบียดทับลำไส้
  • การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ทำได้โดยการผ่าตัด ร่วมกับให้ยาเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา ขึ้นอยู่กับระยะของโรค สุขภาพของผู้ป่วย
  • โรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ ไม่มีอาการแสดงชัดเจน และยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การตรวจภายในจะช่วยให้พบก้อนเนื้อในรังไข่ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงโรคมะเร็งรังไข่ได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) เป็นโรคมะเร็งอีกชนิดที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย

โรคมะเร็งรังไข่มีทั้งชนิดที่พบในเด็ก (ความรุนแรงของโรคต่ำกว่า) และชนิดที่พบมักในผู้ใหญ่ ซึ่งโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ใหญ่จัดเป็นโรคที่มีความรุนแรงค่อนข้างสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แพทย์ผู้ให้การดูแลรักษาอาจเป็นนรีแพทย์มะเร็งวิทยา หรือแพทย์สูตินรีเวชร่วมกับอายุรแพทย์มะเร็งวิทยา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า โรงพยาบาลนั้นมีแพทย์เฉพาะทางสาขามะเร็งวิทยานรีเวช หรือไม่

อาการของโรคมะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการแน่ชัด แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมีอาการผิดปกติ ดังนี้

  • ประจำเดือนผิดปกติ
  • มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • คลำพบก้อนเนื้อในท้องน้อย (อุ้งเชิงกราน)
  • มีอาการผิดปกติทางปัสสาวะเนื่องจากก้อนเนื้อกด หรือเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่)
  • ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติในทางเดินอาหาร เช่น แน่นท้อง ท้องอืด เนื่องจากก้อนเนื้อ กดหรือเบียดทับลำไส้

ผู้ที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว หรือมีคนในครอบครัว หรือญาติสายตรงป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ ควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งไข่

การพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่ที่มีประสิทธิภาพ

แพทย์จะใช้วิธีการตรวจภายในเพื่อดูว่า มีก้อนเนื้อรังไข่หรือไม่ หากสงสัยว่าเป็นก้อนเนื้อในรังไข่ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูลักษณะของก้อนเนื้อ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ และเมื่อผลตรวจต่างๆ ยืนยันว่า มีก้อนเนื้อในรังไข่ (อาจเป็นก้อนเนื้องอกธรรมดา หรือก้อนเนื้อมะเร็ง) แพทย์จะปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับวิธีรักษา และการดูแลตัวเองต่อไป

โรคก้อนเนื้อในรังไข่ทุกชนิด แพทย์มักไม่ตัดชิ้นเนื้อ หรือเจาะดูดเซลล์ไปตรวจก่อน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง หรือแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เลือดออก ลำไส้ทะลุ หรือทำให้เซลล์มะเร็งหลุดรอด และลุกลามในช่องท้อง (หากก้อนเนื้อในรังไข่เป็นมะเร็ง)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากการเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งรังไข่โดยเฉพาะแล้ว การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้รู้เท่าทันโรคนี้ได้ เพราะโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงมักรวมการตรวจภายใน และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงอยู่แล้ว

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งไข่

วิธีรักษาโรคเนื้องอกในรังไข่ทุกชนิดคือ การผ่าตัด โดยก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด แพทย์จะประเมินสุขภาพผู้ป่วย และประเมินระยะโรคอยู่เสมอ มีรายละเอียดดังนี้

  • การตรวจประเมินระยะโรคก่อนผ่าตัด ได้แก่ การตรวจคลำช่องท้อง ช่องท้องน้อย (อุ้งเชิงกราน) ต่อมน้ำเหลืองเหนือไหปลาร้า และขาหนีบ
  • การตรวจประเมินระยะโรคในขณะผ่าตัด โดยแพทย์จะดู และคลำการลุกลามของก้อนเนื้อในอวัยวะข้างเคียงรังไข่อีกข้าง ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ช่องท้องน้อย เยื่อบุช่องท้อง ตับ และดูน้ำในช่องท้อง
  • การตรวจประเมินระยะโรคหลังผ่าตัด คือการประเมินผลชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดทางพยาธิวิทยา การแพร่กระจายของโรค ตรวจเลือดดูค่าสารมะเร็ง เพื่อประเมินผลการรักษา และติดตามผลระยะยาว

หากเป็นโรคมะเร็งรังไข่ในระยะลุกลาม และ/หรือแพร่กระจาย นอกจากการผ่าตัดแล้ว แพทย์จะรักษาต่อเนื่องด้วยการให้ยาเคมีบำบัด แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด แพทย์อาจรักษาด้วยรังสีรักษาแทน

ในช่วงที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แพทย์จะประเมินผลการรักษาเป็นระยะ โดยการตรวจเลือดดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของตับและไต และค่าสารมะเร็ง นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจภายใน และตรวจภาพช่องท้อง หรือรังไข่ด้วยอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นระยะร่วมด้วย

เมื่อครบการรักษาแล้ว ผู้ป่วยจะเข้าสู่ขั้นตอนการประเมินผลหลังครบการรักษาต่อไป

การประเมินผลหลังครบการรักษา

การประเมินผลหลังครบรักษาในโรคมะเร็งรังไข่จะเหมือนกับในโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยแพทย์อาจนัดตรวจติดตามการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังการรักษาประมาณ 2-6 เดือน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ การตรวจเฉพาะที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจเฉพาะที่เพื่อตรวจวินิจฉัยก้อนเนื้อมะเร็งที่อาจหลงเหลือภายหลังครบการรักษา ได้แก่

  • การตรวจคลำต่อมน้ำเหลือง ช่องท้อง และช่องท้องน้อย
  • ตรวจภายใน
  • ตรวจทางทวารหนัก
  • ตรวจเลือดดูค่าสารมะเร็ง
  • ตรวจภาพช่องท้อง หรือรังไข่ด้วยอัลตราซาวนด์ และ/หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • ในบางราย แพทย์อาจส่องกล้องตรวจภายในช่องท้อง หรือผ่าตัดช่องท้องซ้ำ ขึ้นอยู่กับผลตรวจต่างๆ และดุลพินิจของแพทย์

เมื่อพบโรคมะเร็งหลงเหลือ และ/หรือโรคแพร่กระจาย แพทย์จะเริ่มขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยอีกครั้งเหมือนเป็นผู้ป่วยใหม่ ซึ่งแพทย์จะปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับวิธีรักษาต่อไป

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ที่กลับมาเป็นซ้ำอีก

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ในผู้ที่กลับมาเป็นซ้ำอีก อาจเป็นการผ่าตัดร่วมกับยาเคมีบำบัด หรือให้ยาเคมีบำบัดอย่างเดียวก็ได้

แพทย์อาจปรับปริมาณยา เปลี่ยนชนิดยา หรือเพียงเฝ้าติดตามโรค และรักษาตามอาการ หรือรักษาแบบประคับประคองด้วยวิธีการทางอายุรกรรมทั่วไป เช่น ให้ยาบรรเทาปวดก็ได้

แนวทางการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดและตำแหน่งก้อนเนื้อที่เหลืออยู่ อายุและสุขภาพผู้ป่วย วิธีรักษาเดิม ผลข้างเคียงจากการรักษาที่ผ่านมา ระยะโรคครั้งใหม่ ดุลพินิจของแพทย์ ความประสงค์ของผู้ป่วยและครอบครัว

เมื่อไม่พบโรคมะเร็งหลงเหลือ และ/หรือ โรคแพร่กระจาย ผู้ป่วยจะเข้าสู่ขั้นตอนการติดตามผลระยะยาวตลอดชีวิต

การติดตามผลระยะยาวตลอดชีวิต

ใน 3 ปีแรกหลังครบการรักษา แพทย์จะนัดตรวจทุก 1-3 เดือน เพราะโรคมักกลับเป็นซ้ำ และ/หรือ แพร่กระจายในระยะนี้

หลังจากนั้นจะค่อยๆ เว้นระยะห่างมากขึ้น เป็นทุกๆ 6 เดือนถึง 1 ปี หลังครบการรักษาไปแล้ว 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

แม้ว่า โรคมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ จะไม่มีอาการแสดงที่แน่ชัด แต่การรู้จักสังเกตตัวเอง และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้สามารถป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ หรือตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ovarian Cancer | Ovarian Cancer Symptoms. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ovariancancer.html)
Ovarian cancer: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159675)
Ovarian Cancer: Early Signs, Detection, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/cancer/ovarian-cancer-early-signs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง
5 สถานที่ที่คุณสามารถหาวิกผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษามะเร็ง

เคมีบำบัดนั้นต่อสู้กับมะเร็งแต่สามารถทำให้เกิดผมร่วงได้เช่นกัน

อ่านเพิ่ม
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการซื้อสินค้าเพื่อการต่อต้านภัยมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ฉันจะจ่ายค่าวิกผมระหว่างทำเคมีบำบัดอย่างไร
ฉันจะจ่ายค่าวิกผมระหว่างทำเคมีบำบัดอย่างไร

ประกันสุขภาพอาจคลอบคลุมค่าใช้จ่ายการซื้อวิกผม

อ่านเพิ่ม