เพราะการให้ไม่มีสิ้นสุด วันนี้… คุณบริจาคอวัยวะแล้วหรือยัง?

ร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ แม้จะจากโลกนี้ไปแล้ว ก็ยังสามารถนำอวัยวะไปต่อชีวิตให้ผู้อื่นได้
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เพราะการให้ไม่มีสิ้นสุด วันนี้… คุณบริจาคอวัยวะแล้วหรือยัง?

"บริจาคอวัยวะ ระวังชาติหน้าไม่ครบ 32 นะ" เป็นประโยคที่หลายคนอาจเคยได้ยินผ่านๆ หรือได้ยินมากับหูตัวเองเมื่อบอกผู้สูงอายุในบ้านว่าจะบริจาคอวัยวะให้ผู้อื่น ซึ่งความจริงควรถือว่าเป็นการทำบุญใหญ่ด้วยการต่อชีวิตให้ผู้อื่นเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ร่างกายจะสูญสลายกลายเป็นเถ้าถ่าน โดยร่างกายของผู้บริจาค 1 คน สามารถบริจาคอวัยวะเพื่อนำไปปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยได้มากถึง 7 อวัยวะ ได้แก่

  • หัวใจ
  • ปอด 2 ข้าง
  • ไต 2 ข้าง
  • ตับ
  • ตับอ่อน

นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถนำเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ลิ้นหัวใจ หลอดเลือด ผิวหนัง กระดูก เส้นเอ็น และกระจกตา ไปปลูกถ่ายได้อีกด้วย โดยอวัยวะที่ได้รับการนำไปปลูกถ่ายมากที่สุด ได้แก่ ไต ตับ และหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อยากบริจาคอวัยวะ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

หากมีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • มีอายุไม่เกิน 60 ปี (รายละเอียดขึ้นอยู่กับอวัยวะที่บริจาค หากเป็นหัวใจ ผู้บริจาคต้องมีอายุไม่เกิน 50 ปี แต่ถ้าเป็นตับ ผู้บริจาคอาจมีอายุได้มากถึง 75 ปี เป็นต้น)
  • ไม่ได้เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต และโรคติดสุราเรื้อรัง
  • ปราศจากเชื้อที่สามารถถ่ายทอดในการปลูกถ่ายอวัยวะได้ เช่น เชื้อ HIV หรือเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 

บริจาคอวัยวะที่ใดได้บ้าง สามารถดำเนินการจากที่บ้านได้หรือไม่?

หากตรวจสอบแล้วว่าตนเองสามารถบริจาคอวัยวะได้ ขั้นตอนต่อไปคือการกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ซึ่งแบบฟอร์มนี้สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.organdonate.in.th/ หรือโทรศัพท์ไปที่สายด่วนศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย 1666 เพื่อขอให้ส่งแบบฟอร์มมาให้ทางไปรษณีย์ หลังจากกรอกแบบฟอร์มเสร็จ ให้ส่งไปรษณีย์กลับไปที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย สภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 

เมื่อศูนย์บริจาคอวัยวะได้รับข้อมูลแล้ว จะมีการส่งบัตรประจำตัวผู้บริจาคอวัยวะกลับมาให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้ สำหรับผู้ที่ไม่อยากรอบัตรนาน หรือกลัวว่าไปรษณีย์จะทำเอกสารตกหล่น สามารถเดินทางไปกรอกแบบฟอร์มพร้อมรอรับบัตรประจำตัวผู้บริจาคอวัยวะทันที ตามสถานที่เหล่านี้ 

  • ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย สภากาชาดไทย
  • ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
  • ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นต้น
  • สำนักเหล่ากาชาดทุกจังหวัด
  • หน่วยรับบริจาคอวัยวะเคลื่อนที่

อวัยวะแต่ละชิ้น จะนำไปปลูกถ่ายให้ใคร และอย่างไร?

นอกเหนือจากการตัดสินใจของผู้บริจาคอวัยวะ สิ่งที่ยากเย็นไม่แพ้กัน คือกระบวนการเก็บรักษาอวัยวะของผู้บริจาคเพื่อนำไปปลูกถ่าย ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรให้มีความลงตัว และเป็นธรรมที่สุด

แต่ละอวัยวะมีวิธีการเก็บรักษา และการนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยดังต่อไปนี้

  • หัวใจและปอด ทั้งหัวใจและปอด สามารถเก็บรักษาเพื่อนำไปปลูกถ่ายได้ภายใน 4-5 ชั่วโมง โดยจะต้องเก็บไว้ในภาชนะบรรจุน้ำแข็งเพื่อรักษาเนื้อเยื่อตลอดเวลาจนกว่าจะนำไปปลูกถ่าย ส่วนปอดจะต้องมีการให้ออกซิเจนเหมือนยังทำงานตามปกติ เพื่อรักษาอวัยวะให้คงสภาพมากที่สุด ส่วนมากมักจะนำไปปลูกถ่ายในผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลวรุนแรง ผู้ที่เป็นโรคปอดระยะสุดท้าย ทั้งจากปอดเองและเกิดจากหัวใจ รวมถึงโรคหัวใจพิการที่เกิดจากปอด
  • ไต สามารถเก็บรักษาในภาชนะบรรจุน้ำแข็งได้นาน 24-48 ชั่วโมง มักจะนำไปปลูกถ่ายในผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง
  • ตับและตับอ่อน สามารถเก็บรักษาในภาชนะบรรจุน้ำแข็งได้นาน 12 ชั่วโมง แต่หากเก็บรักษาในน้ำยาพิเศษ จะสามารถเก็บได้นานถึง 18 ชั่วโมง มักนำไปปลูกถ่ายในผู้ที่เป็นโรคตับระยะสุดท้าย เช่น ตับแข็งจากสุรา ตับแข็งจากไวรัสตับอักเสบบี และตับวายเฉียบพลัน ส่วนตับอ่อนจะนำไปปลูกถ่ายในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือปลูกถ่ายร่วมกับไต หากผู้ป่วยมีอาการของโรคไตวายระยะสุดท้าย

เมื่อผู้บริจาคอวัยวะเสียชีวิตลง ญาติควรทำอย่างไร?

อวัยวะที่คุณบริจาคจะสามารถนำไปปลูกถ่ายต่อได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายเท่านั้น ภาวะสมองตายนี้ หมายถึงภาวะที่สมองสูญเสียการทำงานอย่างถาวร ผู้ป่วยจะยังมีชีวิตอยู่ได้ด้วยเครื่องช่วยหายใจ แต่ไม่มีโอกาสที่จะกลับมามีชีวิตได้อีก ส่วนมากมักเกิดจากภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ภาวะเลือดออกในสมอง และการได้รับบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตามปกติผู้ที่มีภาวะสมองตายมักจะรับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล กรณีนี้เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ขอรับบริจาคอวัยวะตามที่ได้มีการแสดงความจำนงเอาไว้ โดยญาติจะต้องเป็นผู้ลงชื่อยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ทีมแพทย์จึงจะสามารถนำอวัยวะของผู้เสียชีวิตไปใช้ต่อได้ หากญาติไม่ยินยอม หรือไม่ลงชื่อ การบริจาคจะเป็นโมฆะทันที

ส่วนกรณีเสียชีวิตนอกโรงพยาบาล และหากญาติรับทราบว่าผู้เสียชีวิตได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเอาไว้ สามารถโทรแจ้งได้ที่สายด่วนศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย 1666 เพื่อให้ทีมแพทย์เดินทางมาตรวจร่างกายของผู้เสียชีวิตและพิจารณาว่าสามารถนำอวัยวะไปปลูกถ่ายได้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากว่าสามารถทำได้ แพทย์จะรีบผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะภายในออกจากร่างผู้เสียชีวิตภายใน 2-4 ชั่วโมง พร้อมตกแต่งร่างกายให้คงสภาพเดิมเพื่อให้ญาตินำไปประกอบพิธีทางศาสนาตามปกติ

นับตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีผู้ลงทะเบียนรอรับอวัยวะกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย 6,245 คน แต่มีผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะเพียง 376 คนเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก แม้จำนวนของผู้บริจาคอวัยวะในช่วงเวลาเดียวกันจะมีมากถึง 42,264 คน แต่ด้วยเงื่อนไขของการเสียชีวิตที่ต้องเกิดจากภาวะสมองตายเท่านั้น จึงทำให้ไม่สามารถนำอวัยวะมาปลูกถ่ายได้ตามที่ตั้งใจ

ดังนั้น HonestDocs จึงอยากเชิญชวนให้ทุกท่านมาร่วมกันบริจาคอวัยวะเพื่อต่อชีวิตให้ผู้ป่วยทุกคนได้กลับมาใช้ชีวิตกับคนที่รักอีกครั้ง และถือเป็นการทำทานปรมัตถบารมี หรือการสละชีวิต (อวัยวะ) เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ซึ่งเป็นบารมีระดับสูงสุดที่น้อยคนจะสามารถทำได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Organ Donation Facts & Info | Organ Transplants. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/11750-organ-donation-and-transplantation)
Human organ transplantation. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/transplantation/organ/en/)
Organ Donation. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/organdonation.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
บริจาคอวัยวะ...การให้ที่ยิ่งใหญ่ อวัยวะของคุณช่วยชีวิตใครได้บ้าง?
บริจาคอวัยวะ...การให้ที่ยิ่งใหญ่ อวัยวะของคุณช่วยชีวิตใครได้บ้าง?

เมื่อตายไปแล้ว ร่างกายก็ไม่ได้เป็นของเราอีกต่อไป... จะดีแค่ไหนหากอวัยวะของเราช่วยให้ผู้อื่นมีชีวิตอยู่ต่อไปได้

อ่านเพิ่ม
ไขข้อข้องใจ บริจาคอวัยวะ VS บริจาคร่างกาย
ไขข้อข้องใจ บริจาคอวัยวะ VS บริจาคร่างกาย

บริจาคอวัยวะกับบริจาคร่างกาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เราจะบริจาคทั้งสองอย่างได้ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม