ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI))หมายถึง
- เครื่องมือเพียงชนิดเดียวที่ใช้วัดไขมันในร่างกาย (body fat) ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบนัก
- เป็นวิธีหนึ่งในการประมาณปริมาณไขมันส่วนเกินที่ร่างกายสามารถเก็บได้
- ใช้ความสูงและน้ำหนักในการคำนวณ เป็นวิธีที่ง่ายและเชื่อถือได้ในการประเมินความเสี่ยงของโรคอ้วน แม้ว่าจะยังไม่มีการรับรองเป็นทางการ
จะวัดค่าดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI))ได้อย่างไร?
ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) คำนวณตามน้ำหนักของคุณเป็นปอนด์หารด้วยความสูงของคุณเป็นนิ้วยกกำลังสองและคูณด้วย 703:
อย่ารอสุขภาพดี! คุณเริ่มได้วันนี้ แค่คลิก
เลือกดูสินค้าและบริการสุขภาพดีๆที่เราคัดมาให้ที่ Health Shop

สูตร: น้ำหนัก (ปอนด์) / ความสูง (นิ้ว) 2(ยกกำลัง2) x 703
ตัวอย่าง: คนที่มีความสูง 5 ฟุต 4 นิ้วและน้ำหนัก 140 ปอนด์: 140 / (64x64) x 703 = 24BMI
หรือสำหรับระบบเมตริก วัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
สูตร: น้ำหนัก (กก.) / สูง (m) 2
ตัวอย่าง: คนที่มีความสูง 1.7 เมตรและน้ำหนัก 68 กก.: 68 / (1.7 x 1.7) = 23.5 BMI
ตัวเลขดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI))จะเหมือนกันทั้งชายและหญิง
อย่ารอสุขภาพดี! คุณเริ่มได้วันนี้ แค่คลิก
เลือกดูสินค้าและบริการสุขภาพดีๆที่เราคัดมาให้ที่ Health Shop

แต่ในเด็กจะใช้สูตรที่แตกต่างกันเล็กน้อยจากผู้ใหญ่ (ดูด้านล่าง) เครื่องคำนวณดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI))แบบออนไลน์ช่วยให้สะดวกและง่ายขึ้นในการคำนวณค่าBMI มีทั้งแบบสำหรับผู้ใหญ่และแยกเฉพาะสำหรับเด็ก สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) สำหรับเด็ก จะเริ่มตั้งแต่ 2-19 ปี และอายุ 20 ปีขึ้นไปสำหรับผู้ใหญ่
ตัวเลขดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI))หมายถึงอะไร?
ตัวเลข ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) ถูกใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองเพื่อระบุผู้ที่อาจมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน:
- ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) ต่ำกว่า 18.5 = น้ำหนักน้อย
- ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) 18.5 ถึง 24.9 = น้ำหนักปกติ
- ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) 25.0 ถึง 29.9 = น้ำหนักเกิน
- ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) 30.0 ขึ้นไป = โรคอ้วน
- ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) 40 และสูงกว่า = เป็นโรคอ้วนรักษายาก(Morbidly obese)
อย่างไรก็ตามตัวเลข ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) เหล่านี้ไม่ได้หมายความชัดเจนว่าคุณมีน้ำหนักเหมาะสม น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนเนื่องจากจะต้องนำปัจจัยอื่นๆมาประมวลผลร่วมด้วย
ข้อจำกัดของดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI))
แม้ว่าค่าBMI จะสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย แต่ยังมีข้อผิดพลาดในการระบุว่าระดับไหนเป็นระดับน้ำหนักที่มีสุขภาพดี
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่พบบ่อยที่สุดคือ:
- ผู้หญิงส่วนมากมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าผู้ชายที่ ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) เดียวกัน
- ผู้สูงอายุมักมีไขมันในร่างกายและกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่าที่ ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) เดียวกัน
- นักกีฬามืออาชีพและนักกีฬาสมัครเล่นอาจมีค่าดัชนีมวลกายที่สูงขึ้นเนื่องจากมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าแต่ระดับไขมันในร่างกายไม่ได้เพิ่มขึ้น (กล้ามเนื้อมีน้ำหนักมากกว่าไขมัน)
ตัวเลขอื่นๆ ที่ควรพิจารณานอกเหนือจากดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) คืออะไร?
ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI))เป็นเพียงตัวบ่งชี้ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นสำหรับโรคที่เกี่ยวกับโรคอ้วน
The National Heart, Lung, and Blood Institute แนะนำให้พิจารณาดังนี้:
- รอบเอว: ไขมันรอบเอวสัมพันธ์กับสะโพกเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคเบาหวานประเภท 2
รอบเอวควรมีขนาด 35 นิ้วหรือน้อยกว่าสำหรับผู้หญิง และเป็น 40 นิ้วหรือเล็กกว่าสำหรับผู้ชาย
- ความดันโลหิตสูง
- ระดับcholesterolสูง
- ระดับtriglycerides สูง
- น้ำตาลในเลือดสูง
- ประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคหัวใจ
- การขาดการออกกำลังกาย
- การสูบบุหรี่
วิธีอื่น ๆ ในการวัดระดับไขมัน
มีวิธีอื่นๆอีกหลายวิธีที่ใช้วัดไขมันในร่างกายนอกเหนือจากการคำนวณ ดัชนีมวลกาย(BODY MASS INDEX(BMI)) อย่างไรก็ตามแต่ละวิธีจำเป็นต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ต้องมีการฝึกอบรมเพื่อดำเนินการและสามารถให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้และผู้ปฏิบัติ
วิธีการอื่นๆรวมถึง:
- วัดความหนาของผิวด้วยเครื่องวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง (calipers)
- การชั่งน้ำหนักใต้น้ำ (Underwater weighing)
- วิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายจากความต้านทานไฟฟ้า (Bioelectrical impedance)**
- Dual Energy X-ray Absorption (DEXA)คือการ X-Ray กระดูกโดยใช้เครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูกที่มีรังสี X-Ray ต่างกันสองระดับโดยมีซอฟต์แวร์ในการคำนวณความหนาแน่นของกระดูก
- การลดลงของไอโซโทป(Isotope dilution)
**วิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายจากความต้านทานไฟฟ้า (Bioelectrical Impedance Analysis, BIA)
เป็นวิธีการวัดองค์ประกอบของร่างกายจากความต้านทานไฟฟ้า โดยใช้กระแสไฟฟ้าระดับต่ำ (น้อยกว่า 1 มิลลิแอมแปร์) ผ่านร่างกาย ด้วยความเร็วที่เหมาะสมและปลอดภัย สัญญาณไฟฟ้าจะไหลผ่านกล้ามเนื้อ ไขมัน และของเหลวในร่างกาย โดยที่ส่วนของกระดูก ไขมัน จะนำไฟฟ้าไม่ดี และมีแรงต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าสูง ในขณะที่เลือด อวัยวะภายใน และกล้ามเนื้อจะนำไฟฟ้าได้ดีและมีแรงต้านทานต่ำ และใช้ข้อมูลอายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง ร่วมกับค่าความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ตรวจได้มาประเมิณผลเป็นองค์ประกอบของร่างกาย