ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการนอนชนิดที่ไม่มีรอบการหลับ-การตื่นใน 24 ชั่วโมง (non-24-hour sleep-wake disorder) คืออะไร ?

ความผิดปกติของรอบการหลับ-การตื่น (circadian disorder) ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับและอาการง่วงนอนในคนตาบอด
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการนอนชนิดที่ไม่มีรอบการหลับ-การตื่นใน 24 ชั่วโมง (non-24-hour sleep-wake disorder) คืออะไร ?

มีโรคเกี่ยวกับการนอนหลับบางโรคที่อาจต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษในการทำความเข้าใจ ที่จริงแล้ว การทำความเข้าใจภาวะผิดปกติของรอบการหลับ-การตื่น อาจเป็นสิ่งที่ยากที่สุดก็ได้ แค่ศัพท์เฉพาะกลุ่มก็เป็นด่านแรกแล้ว และวิทยาศาสตร์ก็ยิ่งทำให้ท้าทายไปกว่านั้น มาพยายามทำความเข้าใจหนึ่งในสิ่งที่สับสนกันมากที่สุดกันเถอะ: อะไรคือภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการนอนชนิดที่ไม่มีรอบการหลับ-การตื่นใน 24 ชั่วโมง (non-24) ? มาเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการรักษาภาวะนี้กัน

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รอบการหลับ-การตื่น และความรู้พื้นฐานของภาวะ non-24

เพื่อที่จะทำความเข้าใจภาวะดังกล่าวให้ดีขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเจาะลึกถึงหนึ่งในกระบวนการที่เป็นพื้นฐานที่สุดของชีวิต: เวลาในการหลับและการตื่นต่อรูปแบบของแสงในช่วงกลางวันและกลางคืน

หากจะไม่ใช้เวลามากเกินไปในการตั้งทฤษฎีอธิบายการเกิดความสัมพันธ์ดังกล่าว การคิดว่าสิ่งมีชีวิตต้องการจะตื่นตัวในช่วงที่มีอาหารพร้อมก็เป็นเหตุเป็นผลดี เมื่อสถานการณ์ไม่ปลอดภัย หนาวเย็น หรือเมื่อหาอาหารได้ยากขึ้น ก็มีเหตุผลที่จะหยุดเคลื่อนไหวและเก็บสะสมพลังงาน นี่อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราจึงนอนหลับ

การทำให้กระบวนการของร่างกาย-การหลับและการตื่น การเผาผลาญ การหลั่งฮอร์โมน-มีความสัมพันธ์กับเวลาทางภูมิศาสตร์ ต้องการนาฬิกาที่แม่นยำ นาฬิกาภายในร่างกายนี้เรียกว่า suprachiasmatic nucleus (SCN) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนหน้าที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการรับรู้แสงของเรา

แสงผ่านเข้ามาทางตาและเดินทางผ่านเส้นประสาทตา (optic nerve) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ยื่นออกไปภายหลังลูกตา ข้อมูลที่ได้รับทางตาผ่านมาทางเส้นประสาทเหล่านี้จะไขว้ผ่านกันในตำแหน่งที่เรียกว่า optic chiasm และ SCN ก็อยู่เหนือตำแหน่งนี้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นแสงจึงควบคุมเวลาของร่างกายโดยตรง ซึ่งเป็นไปตามรอบการหลับ-การตื่นของร่างกาย

หากไม่มีแสง ร่างกายของเราก็เหมือนกับเรือที่ขาดหางเสือ อย่างไรก็ตามเราไม่ได้เคว้งคว้างขนาดนั้น จากพันธุกรรมของเรา ร่างกายของเราจะยังสามารถคงรูปแบบของรอบการหลับ-การตื่นได้โดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับวงจรของแสงและความมืด หากคุณไปอยู่ในถ้ำที่มีแสงคงที่ตลอดเวลา คุณก็จะยังคงหลับประมาณแปดชั่วโมงและตื่นประมาณสิบหกชั่วโมงต่อวัน แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป พันธุกรรมในคนส่วนใหญ่จะตัดสินว่าความยาวของวันจะยาวกว่านิดหน่อย โดยส่วนใหญ่จะประมาณ 24ชั่วโมงครึ่ง (แทบไม่พบที่สั้นกว่า 24 ชั่วโมงเลย) นี่เป็นเวลาครึ่งชั่วโมงที่เพิ่มมาเป็นพิเศษ ผลคือ ในแต่ละวันคุณจะอยากเข้านอน และตื่นในอีก 30 นาทีต่อมา เนื่องจากคุณรับรู้กลางวันกลางคืนไม่ได้ แสงช่วยให้เราตั้งนาฬิกาภายในร่างกายใหม่ได้ในแต่ละวัน แต่

หากไม่มีแสง กระบวนการของวงจรการหลับ-การตื่นของเราจะข้ามวันไป ซึ่งทำให้เกิดผลคือวงจรที่ดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ สามารถเกิดอยู่ได้เป็นสัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ที่ตาบอดสนิทจะรู้สึกได้ถึงประสบการณ์นี้ เนื่องจากผู้ที่ไม่สามารถรับรู้แสงได้เลยจะไม่สามารถตั้งนาฬิกาภายในใหม่ซึ่งการควบคุมวงจรการหลับ-การตื่นได้ โดยพันธุกรรมจะเข้ามามีบทบาทแทนที่ ผลลัพธ์คือช่วงที่ต้องการนอนหลับจะดึกขึ้นเล็กน้อยในทุก ๆ วัน ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับได้ พวกเขายังอาจอยากตื่นสายขึ้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะง่วงผิดปกติได้ ยังมีช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงกลางวัน-กลางคืน และการหลับ-การตื่นกลับหน้ามือเป็นหลังมืออีก ซึ่งจะค่อย ๆ กลับเป็นปกติอย่างช้า ๆ ความผิดปกติดังกล่าวจะทำให้เกิดโรคการนอนหลับที่เรียกสั้น ๆ ว่า non-24

 

อะไรทำให้เกิด non-24 ?

Non-24 มักมีสาเหตุมาจากการตาบอดได้มากที่สุด มีการประมาณว่ามีคนตาบอดหนึ่งล้านคนในสหรัฐอเมริกา และ 20% เป็นคนตาบอดสนิท บางคนอาจยังมีวงจรการหลับ-การตื่นตามปกติ แต่ผู้ที่ไม่สามารถรับรู้แสงได้เลยมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคnon-24 ได้ ภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อคนตาบอดโดยสมบูรณ์มากกว่าครึ่ง และ 50-80% ของคนตาบอดบ่นว่ามีปัญหาการนอนหลับที่ถูกรบกวน

น่าสนใจว่า non-24 สามารถเกิดในคนที่มองเห็นได้เช่นกัน แต่หาได้ยากมาก โดยมีรายงานของภาวะดังกล่าวในผู้ที่มีวงจรการหลับ-การตื่นที่ยาวกว่าปกติจากพันธุกรรม (เรียกว่า tau) ซึ่งอาจพบได้ในคนที่ชอบอยู่ดึกที่มีภาวะหลับยาก (delayed sleep phase syndrome-DSPS) ที่ได้สัมผัสกับแสงน้อยมาก และยังอาจพบในผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล และผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเนื่องจากโรคต่าง ๆ ได้แก่

  • Rett syndrome
  • Angelman syndrome
  • Dementia
  • Traumatic brain injury

ไม่ว่าสาเหตุของ non-24 จะเป็นอะไร แต่อาการก็เหมือนกันหมด

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของ non-24

ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวจะบ่นถึงรูปแบบการนอนที่เปลี่ยนไป โดยหลับยากหรือตาค้าง มีอาการนอนไม่หลับ และง่วงนอนช่วงกลางวัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เนื่องจากความต้องการนอนหลับเปลี่ยนไปโดยสัมพันธ์กับรูปแบบของแสงและความมืดตามธรรมชาติ โดยจะมีช่วงที่หลับได้ดีชั่วคราว แล้วค่อย ๆ กลับมาแย่ลงอีกครั้ง ผู้ที่มีภาวะนี้ยังบ่นเรื่องการตั้งสมาธิได้ยาก ความจำสั้น และปัญหาด้านอารมณ์อีกด้วย และยังสามารถทำให้เกิดอาการปวดท้องและความรู้สึกไม่สบาย (malaise) อีก ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นอยู่อย่างน้อยสามเดือน

 

การวินิจฉัย non-24

ภาวะนี้มักได้รับการวินิจฉัยโดยการติดตามรูปแบบการหลับอย่างน้อย 14 วัน ซึ่งอาจทำโดยการใช้ sleep logs หรือ actigraphy ทุกวัน สิ่งที่บันทึกไว้จะแสดงให้เห็นถึงการหลับที่ค่อย ๆ ช้าลงในแต่ละวัน ตามที่วงจรการหลับ-การตื่นของคนส่วนใหญ่จะยาวกว่า 24 ชั่วโมง ปริมาณที่เลื่อนไปจะขึ้นกับนาฬิกาภายในร่างกาย และอาจจะเป็นได้ตั้งแต่ 30 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง

ช่วงเวลาก่อนจะหลับได้ หรือ sleep latency จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ความรู้สึกง่วงนอนที่เพิ่มขึ้นในเวลากลางวันด้วย

การทดสอบเพื่อยืนยันให้แน่ชัดอาจเป็นการวัดโดยตรวจ dim light melatonin onset (DLMO) จากน้ำลาย หรือการวัด 6-sulfatoxymelatonin ในปัสสาวะ ซึ่งจะตรวจวัดสองครั้ง ห่างกัน 2-4 สัปดาห์

 

การรักษา non-24

ภาวะดังกล่าวมักรักษาด้วยการให้ melatonin ในขนาดต่ำ ๆ ในตอนเย็น Hetlioz เป็นยาสำหรับภาวะดังกล่าวที่แพทย์สั่งใช้ ผู้ที่ตาบอดก็อาจตอบสนองต่อนัยของเวลาอื่น ๆ เช่นกิจกรรมทางกายและมื้ออาหาร หากภาวะดังกล่าวเกิดในผู้ที่ยังมองเห็นได้ การสัมผัสกับแสงในเวลาที่เหมาะสมก็สามารถช่วยได้

หากคุณคิดว่าคุณอาจมีภาวะ non-24 ก็ควรเริ่มไปรับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ซึ่งสามารถทำการตรวจเพิ่มเติมและให้การรักษาที่เหมาะสมกับภาวะของโรคได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Non-24-Hour Sleep–Wake Rhythm Disorder in the Totally Blind: Diagnosis and Management (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5741691/)
med.mahidol, ความผิดปกติด้านการนอน (Sleep Disorders) (https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/05022014-1136)
Morgenthaler TI et al. “Practice parameters for the clinical evaluation and treatment of circadian rhythm sleep disorders: An American Academy of Sleep Medicine report.” Sleep. 2007; 30:1445-59.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
ความง่วงนอนคืออะไรและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้บ่อย?
ความง่วงนอนคืออะไรและอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดได้บ่อย?

การรู้สึกว่าง่วงนอนอาจแสดงถึงความผิดปกติของการนอนหลับได้

อ่านเพิ่ม