กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Milia (สิวข้าวสาร) คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Milia (สิวข้าวสาร) คืออะไร?

Milia นั้นเป็นตุ่มสีขาวขนาดเล็กที่มักจะเกิดที่จมูกและแก้ม โดยมักจะพบเป็นกลุ่ม เกิดจากการที่เคราตินนั้นถูกกักไว้อยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งเคราตินนั้นเป็นโปรตีนที่มักจะพบในเนื้อเยื่อผิวหนัง เส้นผมและเล็บ

Milia นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกวัยแต่มักจะพบได้บ่อยในทารกแรกคลอด และมักจะพบที่ใบหน้า เปลือกตาและแก้ม Milia นั้นมักจะสับสนกับภาวะที่เรียกว่า Epstein pearls ซึ่งเป็นตุ่มสีขาวออกเหลืองที่พบที่เหงือกและปากของทารกแรกคลอด บางคนอาจจะเรียกภาวะนี้ว่าเป็นสิวในทารกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Milia เกิดจากอะไร

ไม่ทราบสาเหตุของการเกิด milia ในทารกแรกเกิด และมักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสิวในทารกซึ่งเป็นภาวะที่ถูกกระตุ้นจากฮอร์โมนของแม่ milia นั้นไม่ได้ทำให้เกิดการอักเสบซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ไม่เหมือนกับสิว ทารกที่มี milia นั้นจะเกิดมาพร้อมกับมัน ในขณะที่สิวในทารกนั้นมักจะเกิดหลังคลอดไปแล้วหลายสัปดาห์

ในเด็กโตและผู้ใหญ่ ภาวะนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บที่ผิวหนังเช่น

  • โรคทางผิวหนังที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำ
  • แผลถูกไฟไหม้หรือลวก
  • การบาดเจ็บที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำ เช่นการโดนเถาไอวี่
  • ผลิตภัณฑ์หรือหัตถการที่ทำให้ผิวหนังส่วนบนหลุดออกเช่น dermabrasion หรือ เลเซอร์
  • การใช้ครีมสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
  • ผิวถูกทำลายจากการโดนแดดเป็นเวลานาน

ชนิดของ Milia

Milia นั้นเป็นตุ่มนูนเล็กๆ ที่มีสีขาวหรือเหลือง มักจะไม่คันหรือเจ็บ แต่อาจจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้ในผู้ป่วยบางคน ผ้าปูที่นอนหรือเสื้อผ้าที่แข็งนั้นอาจจะทำให้ milia นั้นเกิดการระคายเคืองและเป็นสีแดงได้

Milia นั้นมีหลายชนิด โดยแบ่งตามอายุของผู้ป่วยหรือการบาดเจ็บที่ทำให้เกิด milia ขึ้น

1.Neonatal milia

เป็นภาวะที่เกิดในทารกแรกเกิดและจะหายดีหายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ส่วนมากมักจะพบที่ใบหน้า หนังศีรษะและร่างกายส่วนบน ภาวะนี้สามารถพบในทารกแรกเกิดได้ถึง 40%

2.Juvenile milia

ภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งประกอบด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Nevoid basal cell carcinoma syndrome
  • Gardner syndrome
  • Pachyonychia congenita
  • Bazex-Dupre-Christol syndrome

3.Primary Milia ในเด็กและผู้ใหญ่

เป็นภาวะที่เกิดจากการที่เคราตินนั้นถูกฝังอยู่ใต้ผิวหนัง สามารถพบได้ที่รอบๆ เปลือกตา หน้าผากและที่อวัยวะเพศ ก่อนที่จะหายไปไปในเวลาไม่กี่สัปดาห์ หรืออาจจะมีอาการอยู่นานได้หลายเดือนก็ได้

4.Milia en Plaque

เป็นภาวะที่มักจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมหรือการแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง เช่น discoid lupus หรือ lichen planus สามารถพบได้ที่เปลือกตา หู แก้ม หรือขากรรไกรและมีได้ขนาดโตได้หลายเซนติเมตร ภาวะนี้มักจะพบในผู้หญิงวัยกลางคนแต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่และเด็กทุกเพศและทุกวัย

5.Multiple eruptive milia

เป็นภาวะที่มีบริเวณที่คันตามใบหน้า แขนส่วนบน และลำตัว ส่วนมากมักจะค่อยๆ เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งตั้งแต่หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน

6.Traumatic milia

เป็นภาวะที่เกิดเมื่อมีการบาดเจ็บที่ผิวหนัง ตัวอย่างเช่นแผลไฟไหม้อย่างรุนแรงและผื่น อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้กลายเป็นสีแดงที่ขอบๆ และมีสีขาวตรงกลางได้

7.Milia ที่เกิดจากการใช้ยา

การใช้ครีมสเตียรอยด์นั้นสามารถทำให้เกิด milia ที่ผิวหนังบริเวณที่ทาครีมได้ อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเช่นนี้มักจะพบได้น้อย

การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการตรวจผิวหนังและระบุว่าคุณมีภาวะนี้หรือไม่จากลักษณะของตุ่มหรือผื่นที่เป็น

การรักษา

ในทารกที่มีผื่น milia นั้นไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ในเด็กโตและผู้ใหญ่จะหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่เดือน มีการรักษาบางวิธีที่อาจจะช่วยรักษาภาวะนี้ได้หากมันทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัวตัวอย่างเช่น

  • การใช้เข็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อนั้นเจาะเปิดตุ่ม
  • การใช้ยาเช่นยา retinoids แบบทา
  • การใช้สารเคมีในการลอกผิว
  • การใช้เลเซอร์เพื่อทำลายตุ่ม
  • การใช้ความร้อนสูงในการทำลายตุ่ม
  • Destruction curettage เป็นการใช้มีผ่าตัดค่อยๆ เขี่ยและตัดเพื่อทำลายตุ่ม
  • Cryotherapy เป็นการใช้ความเย็น และเป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่สุด

ผลลัพธ์ 

Milia นั้นไม่ได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาว ในทารกแรกเกิดมักจะสามารถหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด ถึงแม้ว่าในเด็กโตและผู้ใหญ่นั้นจะใช้เวลานานกว่า แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปแล้วหลายสัปดาห์ คุณอาจจะไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่โรคผิวหนังอื่นๆ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Casey Gallagher, MD, An Overview of Milia (https://www.verywellhealth.com/description-of-millia-15572), November 15, 2019
Karen Gill, M.D. ,How can I get rid of milia? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320953.php), February 16, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)