กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

กลุ่มอาการเลแมร์ (Lemierre’s syndrome)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

กลุ่มอาการเลแมร์ (Lemierre’s syndrome) เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่คอ และเกิดการอุดตันของเส้นเลือดดำในคอ กลุ่มอาการนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อบริเวณศีรษะและลำคอ ซึ่งอาจเรียกว่า Jugular vein suppurative thrombophlebitis ซึ่งหมายถึงการเกิดลิ่มเลือด การอักเสบ และการมีหนองในเส้นเลือดดำที่คอ

ลิ่มเลือดที่อุดตันในเส้นเลือดดำที่คอที่เกิดการติดเชื้อนั้นสามารถเดินทางไปได้ตามกระแสเลือด และทำให้เกิดฝีในบริเวณอื่นๆ เช่น ปอด ข้อ ตับ และไต โรคนี้แม้ว่าจะพบได้น้อยมาก เพียง 1 ในล้านคน แต่พบว่าในปัจจุบันกำลังมีผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยในช่วงก่อนที่จะมีการผลิตยาปฏิชีวนะเพื่อรับมือกับโรคนี้ออกมานั้น มีผู้ป่วยภาวะนี้ที่เสียชีวิตเกือบ 90%

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการเลแมร์

ภาวะนี้เกิดได้กับคนทุกกลุ่มอายุ แต่พบได้มากในเด็กเล็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมักเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ

อาการของกลุ่มอาการเลแมร์

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการเหมือนการติดเชื้อในคอที่มีอาการเจ็บคอทั่วๆ ไป ในบางรายพบว่าอาการเจ็บป่วยในช่วงแรกเป็นอาการทางฟัน หู หรือมีการติดเชื้อในโพรงจมูก ต่อมา 4-5 วันอาการเหล่านี้จะเริ่มเป็นมากขึ้น โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้

หากเป็นในขั้นรุนแรงหรือไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะต่อไปนี้

  • เกิดการสะสมของหนองระหว่างปอดกับผนังหน้าอก
  • มีฝีติดเชื้อภายในปอด
  • ติดเชื้อที่ข้อ
  • ติดเชื้อที่กระดูก
  • ไตวาย
  • ตับวาย
  • มีการสะสมของการติดเชื้อในกล้ามเนื้อและผิวหนัง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ฝีในสมอง

การวินิจฉัยกลุ่มอาการเลแมร์

โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ผ่านการตรวจเลือดเพื่อระบุว่ามีแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ หรือไม่ รวมทั้งอาจมีการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการตรวจเอซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาลิ่มเลือดที่อุดตันในเส้นเลือดดำที่คอ

การรักษากลุ่มอาการเลแมร์

ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียกที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค โดยมักให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำ และให้นานกว่าการติดเชื้ออื่นๆ ที่รุนแรงน้อยกว่า คือมักให้ประมาณ 2-6 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดร่วมด้วยเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นมาอีก และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องผ่าตัดเพื่อนำหนองออกจากฝีที่อยู่ในคอหอย คอ และอวัยวะอื่นๆ ในรายที่เป็นรุนแรงมากอาจจะต้องทำการผ่าตัดนำลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำที่คอที่เกิดการติดเชื้อออก หรือทำการผูกเส้นเลือดดำที่คอเพื่อป้องกันลิ่มเลือดเคลื่อนไปยังบริเวณอื่น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jill Seladi-Schulman, PhD, Lemierre’s Syndrome (https://www.healthline.com/health/lemierres-syndrome), August 22, 2017
Jill Seladi-Schulman, Ph.D., Lemierre's syndrome: What you should know (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319648.php), October 9, 2017
ncbi.nlm.nih ,Lemierre’s syndrome (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4015694/), 2013 Oct 23

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)