การผ่าตัดส่องกล้องคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การผ่าตัดส่องกล้องคืออะไร?

การผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscope) เป็นวิธีการผ่าตัดที่รุกล้ำต่ออวัยวะต่างๆ น้อยกว่าวิธีอื่น การผ่าตัดส่องกล้อง จะใช้กล้องที่เป็นท่อเล็กๆ และมีแหล่งกำเนิดแสงในตัวใส่เข้าไปในร่างกายผ่านรอยแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กมาก โดยแพทย์สามารถใส่เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อเข้าไปตัดและซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผ่าตัดส่องกล้อง มักจะใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหรือภาวะบางอย่าง เช่น

  • ตรวจหาเนื้องอก
  • สุ่มตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ
  • ตรวจอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ไส้ติ่ง ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน ม้าม และกระเพาะอาหาร
  • ตรวจหามะเร็งที่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
  • ตรวจหาการท้องนอกมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบในผู้หญิง
  • ตรวจหาเนื้อเยื่อพังผืด (เนื้อเยื่อแผลเป็นในท้อง) เนื้องอกมดลูกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง การติดเชื้อ หรือถุงน้ำ

บางครั้ง แพทย์อาจใช้การผ่าตัดส่องกล้องเป็นทางเลือกในการรักษานอกเหนือจากการผ่าตัดแบบปกติ เช่น

  • ทำหมันหญิง
  • ผ่าตัดไส้เลื่อน
  • ผ่าตัดเอาบางอวัยวะออก เช่น มดลูก ท่อนำไข่ กระเพาะปัสสาวะ ม้าม ถุงน้ำดี ไข่ ไต หรือไส้ติ่ง
  • ผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่บางส่วนหรือกระเพาะอาหารออก
  • ผ่าตัดข้อเข่าหรือข้อไหล่
  • ผ่าตัดลดน้ำหนัก (Bariatric surgery)

ขั้นตอนการผ่าตัดส่องกล้อง

แพทย์จะสั่งให้งดน้ำและอาหารเป็นเวลา 8 ชั่วโมง และอาจต้องหยุดใช้ยาบางชนิดก่อนการผ่าตัด ส่วนในขั้นตอนการผ่าตัดส่องกล้อง ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะลงแผลเล็กที่ผิวหนัง บริเวณใกล้สะดือ แล้วใส่อุปกรณ์ที่ชื่อโทรคาร์ (Trocar) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กผ่านรอยแผล 

ในการผ่าตัดบางประเภท แพทย์อาจใส่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในช่องท้องด้วย เพื่อช่วยให้มีที่ว่างในช่องท้องมากขึ้น และมองเห็นอวัยวะต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น จากนั้นแพทย์จะใส่กล้องแลปปาโรสโคปผ่านทางโทรคาร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ผ่านกล้องเพื่อมอง ตัด หรือซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย  เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นแพทย์จะนำอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใส่เข้าไปออกมาแล้วเย็บปิดแผล

หลังการผ่าตัดส่องกล้อง

ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถกลับบ้านในวันที่ผ่าตัดได้เลย แต่ในบางรายอาจต้องนอนพักที่โรงพยาบาลหนึ่งคืน หลังการผ่าตัดอาจรู้สึกปวดรอบๆ บาดแผลและอาจมีอาการปวดไหล่บ้าง ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับชนิดของยาแก้ปวดที่สามารถใช้ได้ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ให้รีบกลับมาพบแพทย์ทันที

  • เป็นไข้ หรือหนาวสั่น
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียน
  • บริเวณที่ผ่าตัดบวมขึ้น
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • มีเลือดออกจากแผล
  • มีอาการปวดที่รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น

11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Laparoscopy (pelvic): Uses, risks, and benefits. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/308285)
Laparoscopy (keyhole surgery) - How it's performed. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/laparoscopy/what-happens/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป