โรคตับอักเสบ B

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
โรคตับอักเสบ B

โรคตับอักเสบ B (Hepatitis B) คือภาวะติดเชื้อที่ตับที่เกิดจากไวรัสที่แพร่กระจายทางเลือดและของเหลวจากร่างกาย ภาวะนี้มักไม่ทำให้เกิดอาการชัดเจนกับผู้ใหญ่ และมักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่เดือนแม้จะไม่ได้รับการรักษา แต่สำหรับเด็ก ภาวะนี้จะส่งผลเรื้อรังนานหลายปี และอาจกลายไปเป็นความเสียหายร้ายแรงที่ตับได้

มีผู้คนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคตับอักเสบ B มากกว่าปกติ ซึ่งก็คือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง ผู้ที่ใช้ยาประเภทฉีด และผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคนโดยไม่ป้องกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ณ ขณะนี้มีวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ B ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

อาการของโรคตับอักเสบ B

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B หลายคนจะไม่มีอาการจากโรคแม้ร่างกายจะกำลังต่อสู้กับการติดเชื้ออยู่ก็ตาม หากเกิดอาการขึ้น ก็มักจะเกิดขึ้นภายหลังการสัมผัสเชื้อ 2 หรือ 3 เดือน โดยอาจมีอาการดังนี้: มีอาการคล้ายไข้หวัด เช่นเหน็ดเหนื่อย มีไข้ และปวดเนื้อปวดตัว ไม่อยากอาหาร รู้สึกคลื่นไส้ ท้องร่วง ปวดท้อง ผิวหนังและตาขาวออกสีเหลือง (ดีซ่าน)

อาการเหล่านี้มักจะหายไปเองภายในหนึ่งถึงสามเดือน (โรคตับอักเสบ B ชนิดเฉียบพลัน) กระนั้นการติดเชื้อนี้ก็มักจะเกิดขึ้นยาวนานกว่าหกเดือนขึ้นไป (โรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรัง)

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

โรคตับอักเสบ B สามารถกลายไปเป็นภาวะร้ายแรงได้ ดังนั้นคุณควรไปพบแพทย์หากว่า:

คุณคาดว่าคุณตนเองสัมผัสกับเชื้อไวรัสตับอักเสบ B มา: เพื่อดำเนินการรักษาฉุกเฉินเพื่อป้องกันการติดเชื้อทันทีหากคุณคาดว่าได้รับมาแล้วไม่กี่วันผ่านมา

คุณมีอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคตับอักเสบ B

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณมีความเสี่ยงต่อโรคตับอักเสบ B สูง: กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือกลุ่มคนที่เกิดในประเทศที่การติดเชื้อโรคนี้เป็นเรื่องปรกติ ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อตับอักเสบ B และผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนตับอักเสบ B มาก่อน

หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม คุณไปพบแพทย์ตามสถานพยาบาลด้วยตนเอง หากคุณต้องการตรวจสอบการมีอยู่ของเชื้อไวรัสตับอักเสบ B หรือเพื่อดูว่าคุณเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ แพทย์จะดำเนินการตรวจสอบจากเลือดของคุณ อีกทั้งการฉีดวัคซีนก็เป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อที่บรรดาแพทย์แนะนำกันมากที่สุด

ความคาดหวังที่มีต่อโรคตับอักเสบ B

มีผู้คนจำนวนมากที่ติดเชื้อตับอักเสบ B ในช่วงวัยผู้ใหญ่ที่สามารถกำจัดภาวะติดเชื้อได้ด้วยตนเองและกลับมาแข็งแรงภายใน 1 ถึง 3 เดือน และหลังจากนั้น ผู้ป่วยส่วนมากจะมีภูมิต้านทานโรคนี้ไปตลอดชีวิต

ทารกและเด็กเล็กจะมีโอกาสติดเชื้อตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรังมากกว่าผู้ใหญ่ โดยมีสัดส่วนอยู่ที่: การติดเชื้อตับอักเสบ B 90% เป็นเด็กทารก การติดเชื้อตับอักเสบ B 20% เป็นเด็กโต การติดเชื้อตับอักเสบ B 5% เป็นผู้ใหญ่

กระนั้นการรักษาต่าง ๆ ก็สามารถช่วยได้ และต้องพึงจำไว้ว่าโรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสกลายเป็นโรคร้ายแรงถึงชีวิตต่าง ๆ เช่นโรคตับแข็ง (cirrhosis) หรือแม้แต่มะเร็งตับได้

อาการทั่วไปของโรคตับอักเสบ B

อาการของโรคตับอักเสบ B มีดังนี้: เหน็ดเหนื่อย ปวดเนื้อปวดตัว มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ครั่นเนื้อครั่นตัว ไม่อยากอาหาร รู้สึกคลื่นไส้ ปวดท้อง ผิวหนังและตาขาวออกสีเหลือง (ดีซ่าน) ปัสสาวะมีสีเข้ม และมีอุจจาระสีออกเทาหรือซีด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการข้างต้นบางอย่างอาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นไข้หวัดใหญ่ทั่วไป หรือโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (gastroenteritis) ได้

ระยะเวลาของอาการจากโรคตับอักเสบ B

โรคตับอักเสบ B ในผู้ใหญ่มักจะหายไปเองภายใน 1 ถึง 3 เดือน ซึ่งภาวะนี้จะเรียกว่าโรคตับอักเสบ B ชนิดเฉียบพลันที่มักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ

บางกรณี ภาวะติดเชื้ออาจยาวนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะเรียกภาวะนี้ว่าโรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรัง

โรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรังมักจะเกิดกับเด็กทารกและเด็กเล็กเป็นหลัก และพบไม่บ่อยที่จะเกิดกับผู้ที่เลยช่วงวัยเด็กไปแล้ว

อาการของโรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรังจะมีเหมือนที่กล่าวไปข้างต้น แต่ก็มักจะไม่รุนแรงและอาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือแม้แต่แทบไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้

อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรังจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาอื่น ๆ อย่างตับแข็ง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับอักเสบ B มากขึ้น

สาเหตุของโรคตับอักเสบ B

โรคตับอักเสบ B เป็นภาวะติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบ B ซึ่งเป็นไวรัสที่พบในเลือดและของเหลวจากร่างกายผู้ติดเชื้อ

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B หลายรายจะมีอาการน้อยมากหรืออาจไม่รู้สึกตัวว่าตนเองติดเชื้อ ทำให้พวกเขาสามารถแพร่เชื้อได้โดยไม่ตั้งใจ

โรคตับอักเสบ B มักถูกพบในประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้เป็นปรกติ กระนั้นก็มีกลุ่มคนมากมายที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสชนิดนี้มากกว่าคนอื่น

การป้องกันโรคตับอักเสบ B

มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคตับอักเสบ B สำหรับเด็กทารกอยู่ อีกทั้งวัคซีนตัวนี้ก็สามารถให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคนี้ได้

ไวรัสตับอักเสบ B แพร่กระจายได้อย่างไร?

ไวรัสตับอักเสบ B อยู่ตามเลือดและของเหลวจากร่างกาย เช่นน้ำเชื้อ และน้ำหล่อลื่นช่องคลอดของผู้ติดเชื้อ

เชื้อสามารถแพร่ได้จาก: แม่สู่ลูก โดยเฉพาะแม่ที่อาศัยในประเทศที่การติดเชื้อตับอักเสบ B เป็นเรื่องปรกติ สายครอบครัว (ในบ้านเรือนเดียวกัน) โดยเฉพาะครอบครัวที่อาศัยในประเทศที่การติดเชื้อตับอักเสบ B เป็นเรื่องปรกติ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยกับผู้ติดเชื้อ การสัก เจาะร่างกาย หรือเข้ารับการรักษาทางการแพทย์หรือทำฟันในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อโรคที่อุปกรณ์ก่อนดำเนินการ การใช้แปรงสีฟันหรือมีดโกนที่มีเลือดปนเปื้อนเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบ B ไม่สามารถแพร่ได้จากการจูบ การจับมือ การกอด การไอ การจาม หรือแม้แต่การใช้เครื่องมือรับประทานอาหารร่วมกัน

ใครมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B มากที่สุด?

กลุ่มคนที่สามารถรับวัคซีนป้องกันตับอักเสบ B มีดังนี้: 

  • ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อตับอักเสบ B 
  • สมาชิกในครอบครัวและคู่นอนของผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B 
  • ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคตับอักเสบ B เช่นแอฟริกาซาฮารากลาง เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก  
  • ครอบครัวที่รับเลี้ยงเด็กที่มาจากประเทศเสี่ยง 
  • ผู้ที่ใช้ยาฉีด หรือมีคู่นอนที่ใช้ยาฉีด
  • ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย 
  • ชายรักชาย 
  • คนงาน ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงจะสัมผัสโดนเลือดหรือของเหลวจากร่างกาย เช่นพยาบาล แพทย์ พัศดี ทันตแพทย์ และคนงานห้องปฏิบัติการณ์ ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง นักโทษ ผู้ที่เข้ารับการเจาะเลือดบ่อยครั้ง

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตับอักเสบ B สำหรับนักเดินทางที่เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงจะนับว่ามีต่ำมากหากเทียบกับกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ

แพทย์สามารถจัดแจงให้คุณเข้ารับการตรวจเลือดหาเชื้อตับอักเสบ B และดำเนินการฉีดวัคซีนให้ได้หากคุณมีความเสี่ยงสูง

พื้นที่เสี่ยง

โรคตับอักเสบ B ถูกพบไปทั่วโลก แต่มักจะพบมากที่สุดที่: แอฟริกาใต้ซาฮารา เอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เกาะแถบแปซิฟิค บางส่วนของประเทศแอฟริกาใต้ บางภูมิภาคของยุโรปกลางและตะวันออก แถบตะวันออกกลาง ประเทศอินเดีย

การรักษาโรคตับอักเสบ B

การรักษาโรคตับอักเสบ B จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คุณติดเชื้อ:

  • หากคุณสัมผัสกับเชื้อในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา การรักษาฉุกเฉินจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้
  • หากคุณติดเชื้อมาแล้วไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน (โรคตับอักเสบ B ชนิดเฉียบพลัน) คุณอาจต้องเข้ารับการรักษาบรรเทาอาการไปพร้อมกับปล่อยให้ร่างกายกำจัดเชื้อเอง
  • หากคุณติดเชื้อมาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป (โรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรัง) แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับการรักษาด้วยยาควบคุมไวรัส และลดความเสี่ยงต่อความเสียหายกับตับ

โรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรังมักต้องดำเนินการรักษาระยะยาวหรือตลอดชีวิต และจำต้องมีการสอดส่องเฝ้าระวังภาวะที่ตับเป็นประจำ

การรักษาโรคตับอักเสบ B แบบฉุกเฉิน

ให้คุณเข้าพบแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าสัมผัสกับไวรัสโรคตับอักเสบ B มา เพื่อช่วยยับยั้งการติดเชื้อ โดยแพทย์จะทำการ:

ให้วัคซีนต้านตับอักเสบ B หนึ่งโดส: คุณจำต้องได้รับยาอีกสองโดสเป็นเวลาไม่กี่เดือนข้างหน้าอีกครั้งเพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานระยะยาว

hepatitis B immunoglobulin: เป็นกระบวนการเตรียมแอนติบอดีที่ช่วยป้องกันไวรัสตับอักเสบ B และช่วยทำให้คุณมีภูมิคุ้มกันระยะสั้น ๆ ไปจนกว่าวัคซีนจะออกฤทธิ์

วัคซีนจะมีประสิทธิภาพอย่างมากหากได้รับภายใน 48 ชั่วโมงหลังการได้รับเชื้อ แต่คุณก็ยังคงสามารถได้รับวัคซีนหลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ก็ได้

การรักษาโรคตับอักเสบ B ชนิดเฉียบพลัน

หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคตับอักเสบ B แพทย์มักจะส่งคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น เช่นแพทย์โรคตับ เป็นต้น

ผู้ป่วยหลายรายจะไม่มีอาการที่น่ากังวล แต่หากคุณรู้สึกไม่สบาย คุณก็สามารถดูแลตนเองได้ด้วย: พักผ่อนให้มาก ๆ ทานยาแก้ปวด อย่างเช่นพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนบรรเทาอาการปวดท้อง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นและมีอากาศถ่ายเท สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ และเลี่ยงอาบน้ำร้อนหากมีอาการคัน ทานยา metoclopramide เพื่อหยุดอาการคลื่นไส้ และ chlorphenamine เพื่อลดอาการคัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้จัดจ่ายแก่คุณตามความจำเป็น

ผู้ป่วยส่วนมากจะหายจากโรคนี้เองภายในสองสามเดือน แต่แนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจเลือดเป็นประจำเพื่อดูว่าคุณปลอดเชื้อไวรัสแล้วหรือไม่ และเพื่อเฝ้าระวังว่าคุณไม่ได้เป็นโรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรัง

การรักษาโรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรัง

หากผลตรวจเลือดของคุณบ่งชี้ว่าคุณมีเชื้อไวรัสตับอักเสบ B อยู่หลังจากผ่านไปแล้ว 6 เดือน แพทย์จะแนะนำให้คุณใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับอักเสบ B และแนะนำให้คุณเข้ารับการทดสอบเป็นระยะ ๆ เพื่อประเมินสุขภาพตับของคุณ

การรักษามักจะแนะนำหากว่า: ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณไม่สามารถควบคุมโรคตับอักเสบ B ได้ มีหลักฐานว่าเกิดความเสียหายที่ตับมากขึ้นเรื่อย ๆ

การใช้ยารักษาโรคตับอักเสบ B สามารถช่วยควบคุมไวรัสและยับยั้งความเสียหายที่ตับได้ กระนั้นยาก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อที่เป็นอยู่ ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาจต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต

ยาที่ใช้ควบคุมอาการของโรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรังมีดังนี้

Peginterferon alfa-2a

หากตับของคุณทำงานได้ค่อนข้างปรกติ การรักษาแรกที่แพทย์แนะนำคือการใช้ยา Peginterferon alfa-2a เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของคุณให้ต่อสู้กับไวรัสตับอักเสบ B ต่อไป และมักจะเป็นยาฉีดที่ให้หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลาต่อเนื่องยาว 48 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงจากยาตัวนี้คือทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่นมีไข้ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ และหลังจากที่คุณเริ่มใช้ยา อาการต่าง ๆ ที่เป็นผลข้างเคียงควรจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามกาลเวลา

จะมีการทดสอบเพื่อดูว่าการรักษาได้ผลขนาดไหน ซึ่งหากไม่ได้ผล แพทย์จะทำการจัดจ่ายยาอีกตัวให้แก่คุณ

ยาต้านไวรัส

หากตับของคุณทำงานไม่ดีพอ หรือยา Peginterferon alfa-2a ไม่ได้ให้ผลที่น่าพึงพอใจ หรืออาจใช้กับคุณไม่ได้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับยาต้านไวรัส (antiviral medication) แทน

ยาประเภทนี้มักจะเป็นยา tenofovir หรือ entecavir ซึ่งทั้งสองจะอยู่ในรูปแบบของยาทาน/ยาเม็ด

ผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้คือคลื่นไส้ อาเจียน และวิงเวียน

การใช้ชีวิตร่วมกับโรคตับอักเสบ B

หากคุณป่วยเป็นโรคตับอักเสบ B คุณควร:

  • เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน: รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางปากและทวารหนัก นอกจากว่าคุณมั่นใจว่าคู่นอนของคุณได้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ B มาแล้ว
  • เลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ระมัดระวังเพื่อเลี่ยงการแพร่เชื้อ: เช่น ไม่ใช้แปรงสีฟันร่วมหรือมีดโกนกับผู้อื่น
  • ทานอาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพ: แม้ว่าจะไม่มีอาหารพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B ก็ตาม
  • เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์: เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาร้ายแรงเพิ่มเติมกับตับของคุณ
  • ปรึกษาแพทย์หากว่าคุณคาดว่าตั้งครรภ์

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B จะยังสามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ถึงกระนั้นคุณก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลของคุณก่อนเพื่อจัดเตรียมและปรับการใช้ยาของคุณให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น

มีความเสี่ยงที่แม่จะส่งต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ B แก่ลูกได้ในช่วงที่ให้กำเนิด แต่ความเสี่ยงนี้จะลดได้ด้วยการฉีดวัคซีนให้กับทารกก่อนคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับอักเสบ B

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B อาจประสบกับปัญหาร้ายแรงที่ตับตามมา ซึ่งส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่ติดเชื้อมาระยะยาวและยังไม่ได้เริ่มการรักษา

โดยปัญหาจากการติดเชื้อตับอักเสบ B ที่พบได้บ่อยมีดังนี้

ตับแข็ง

ภาวะตับแข็ง (Cirrhosis) หรือบาดแผลที่ตับจะเกิดกับผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B ชนิดเรื้อรังประมาณ 1 ใน 5 คน บางครั้งอาจต้องใช้เวลาติดเชื้อนานหลายปีก่อนจะกลายมาเป็นภาวะนี้

ภาวะตับแข็งมักจะไม่มีอาการที่ชัดเจนจนกว่าจะเกิดความเสียหายรุนแรงกับตับ ซึ่งหากเกิดขึ้น จะทำให้เกิดอาการ: เหน็ดเหนื่อย และอ่อนแรง ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ คันผิวหนังรุนแรง กดเจ็บ เจ็บปวด หรือบวมที่หน้าท้อง ข้อเท้าบวม

ยังไม่มีวิธีรักษาภาวะตับแข็ง มีเพียงการควบคุมอาการต่าง ๆ และชะลอการลุกลามเท่านั้น หากตับเกิดความเสียหายรุนแรง อาจต้องดำเนินการผ่าตัดปลูกถ่ายตับเข้ามาช่วยชีวิตผู้ป่วย

มะเร็งตับ

ผู้ป่วยภาวะตับแข็งจากโรคตับอักเสบ B ประมาณ 1 ใน 20 คนจะกลายเป็นโรคมะเร็งตับ (liver cancer) โดยอาการของมะเร็งตับมีดังนี้: น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้ ไม่อยากอาหาร รู้สึกอิ่มมากแม้จะทานอาหารเพียงเล็กน้อย คลื่นไส้ ผิวหนังและตาขาวออกสีเหลือง (ดีซ่าน)

การรักษามะเร็งตับมักจะใช้การผ่าตัดส่วนของตับที่เสียหายออก หรือการปลูกถ่ายตับใหม่ เป็นต้น

โรคตับอักเสบ B ชนิดรุนแรง

มีน้อยกว่า 1 ใน 100 กรณีที่ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B ระยะสั้น (เฉียบพลัน) จะกลายเป็นปัญหาที่ร้ายแรงกว่าที่เรียกว่าโรคตับอักเสบ B ชนิดรุนแรง (Fulminant hepatitis B)

ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีตับและทำให้เกิดความเสียหายกับอวัยวะนี้ ซึ่งทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น: สับสน หมดสติ ท้องบวมจากการสะสมของของเหลวภายใน ดีซ่านรุนแรง

ภาวะตับอักเสบ B ชนิดรุนแรงสามารถทำให้ตับหยุดทำงานได้ และนับเป็นภาวะอันตรายถึงชีวิตหากไม่ทำการรักษาอย่างเร่งด่วน


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hepatitis B. World Health Organization. (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hepatitis-b)
Hepatitis B: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/306288)
Hepatitis B Information - Division of Viral Hepatitis. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/hepatitis/hbv/index.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป