คูน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
คูน

ชื่อท้องถิ่น : ลมแล้ง (ภาคเหนือ) , ลักเกลือ , ลักเคย (ปัตตานี) , ชัยพฤกษ์ , ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) , กุเพยะ (กะเหรี่ยง)

ลักษณะของพืช
คูนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ปลายแหลม ดอกเป็นช่อระย้าสีเหลือง และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ฝักรูปร่างกลมยาว เวลาอ่อนฝักมีสีเขียวแก่จัดเป็นสีน้ำตาล

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม

รสและสรรพคุณยาไทย : ราหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ทำให้ถ่ายสะดวก ไม่มวนไม่ไซ้ท้อง

วิธีใช้
เนื้อในฝักคูนแก้อาการท้องผูก ทำได้โดยเอาเนื้อในฝักแก่ก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือตอนเช้าก่อนอาหารเหมาะเป็นยาระบายสำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำและสตรีมีครรภ์ก็ใช้ฝักคูนเป็นยาระบายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คูณ. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลิตเภสัชกรคุณภาพสู่สังคมไทย. (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=162)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)