ทุกข้อควรรรู้เกี่ยวกับ "Glucose"

Glucose คืออะไร มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะรักษา Glucose สมดุลไว้ได้อย่างดี
เผยแพร่ครั้งแรก 30 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทุกข้อควรรรู้เกี่ยวกับ "Glucose"

“Glucose” หรือ กลูโคส คือชนิดของน้ำตาลขนาดเล็กโมเลกุลเดี่ยว ที่สูตรทางเคมีคือ C6H12O6 ที่ร่างกายสามารถนำไปใช้งาน หรือเผาผลาญเพื่อให้เกิดเป็นพลังงานในร่างกาย ขนาดของ Glucose นั้นเล็กมากจนสามารถผ่านเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ทางช่องเปิดบนเยื่อหุ้มเซลล์ได้อย่างง่ายดาย ทำให้เซลล์สามารถรับ Glucose และนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะเป็นเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ ส่วนใหญ่ก็มักจะใช้กลูโคสเป็นแหล่งอาหารหลักทั้งนั้น

ทั้งนี้ หาก Glucose ละลายอยู่ในกระแสเลือด เลือดของเราก็จะมีลักษณะเหมือนน้ำเชื่อม ซึ่งยิ่งมีปริมาณ Glucose มากเท่าไร ความหนืดก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แหล่งที่มาของ Glucose ในร่างกายมนุษย์ได้จากอาหารจำพวกแป้งซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป เช่น ข้าว ขนมปัง ขนมจีน เค้ก ผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลี แป้งข้าวเจ้า หรือแม้แต่ผักจำพวกฟักทอง มันเทศ มันแกว ผลไม้ หรืออาหารรสหวานต่างๆ

นอกจากนี้ หากช่วงไหนร่างกายได้รับ Glucose จากภายนอกไม่เพียงพอ ร่างกายของคนเราก็สามารถสร้างและผลิต Glucose ออกมาได้จากเซลล์ตับ ซึ่งมาจากการสลายสารที่เรียกว่า ไกลโคเจน (Glycogen) กลไกเช่นนี้เป็นไปเพื่อไม่ให้ระดับ Glucose ในเลือดต่ำกว่าปกติ เพราะหากต่ำไป อวัยวะต่างๆ ก็จะไม่สามารถสร้างพลังงานใช้ในเซลล์ จนอาจทำให้เซลล์ตายได้

Glucose ทำงานอย่างไร?

Glucose มีขนาดเล็กมากจนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ และยังเป็นอาหารโปรดของเซลล์ทุกเซลล์ด้วย เพราะ Glucose สามารถเข้ากระบวนการเผาผลาญระดับเซลล์ที่เกิดขึ้นในส่วนประกอบของเซลล์ที่ชื่อว่า ไมโทคอนเดรีย ซึ่งเปรียบเสมือนโรงปั่นพลังงานของเซลล์

เมื่อกลูโคสเข้าสู่โรงผลิตได้ง่าย การผลิตพลังงานก็เกิดขึ้นได้ง่าย รวดเร็ว และตลอดเวลา ในทางกลับกัน หากเซลล์ทุกเซลล์เกิดภาวะอิ่มตัว หรือทางผ่านเข้าออกของ Glucose ถูกปิด ก็จะทำให้มีปริมาณ Glucose ในกระแสเลือดสูงขึ้น ร่างกายจะพยายามส่ง Glucose ส่วนเกินนี้ไปเก็บในอวัยวะต่างๆ ในรูปแบบต่างกัน เช่น หากเก็บที่ตับและกล้ามเนื้อก็จะเก็บในรูปของไกลโคเจน หากไปสะสมที่ชั้นใต้ผิวหนังจะเปลี่ยนตัวเองไปอยู่ในรูปของเซลล์ไขมัน หากวันดีคืนร้าย ร่างกายขาด Glucose จากการรับประทานอาหาร ก็จะมีการกระตุ้นฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) ไปกระตุ้นเซลล์ที่เก็บ Glucose ให้เปลี่ยนรูปกลับมาอยู่ในรูปของ Glucose เพื่อพร้อมใช้งานในการเผาผลาญไปเป็นพลังงานหลักของร่างกายต่อไป

แต่หากการสะสมของ Glucose นั้นมากเกินจนล้นไปอยู่ในกระแสเลือด จะทำให้เลือดของเรามีลักษณะคล้ายน้ำเชื่อม ส่งผลให้ผนังเส้นเลือดที่คอยรองรับเลือดที่ข้นและเหนียวจากการที่น้ำตาลสูงเกินไป พังลง การไหลเวียนของเลือดช้าลง จนทำให้อวัยวะปลายทางขาดเลือดได้นั่นเอง

ประโยชน์และโทษของ Glucose

ประโยชน์ของ Glucose นั้นมีเพียงข้อเดียว แต่เป็นหนึ่งข้อที่สำคัญที่สุดสำหรับเซลล์ คือเป็นสารตั้งต้นของการสร้างพลังงานเพื่อใช้ในเซลล์ จากที่กล่าวไว้ในข้างต้นว่า Glucose นั้นเป็นสารอาหารหลักของเซลล์เพราะ นำไปใช้เผาผลาญสร้างพลังงานได้ง่ายและ 1 โมเลกุลของ Glucose สามารถสร้างพลังงานให้เซลล์ได้อย่างมหาศาล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนโทษของ Glucose นั้นจะเกิดก็ต่อเมื่อมี Glucose ปริมาณสูงหรือต่ำเกินไปจนเสียสมดุล เช่น หากการสะสม Glucose มากเกินไปในชั้นใต้ผิวหนังก็อยู่ในรูปของเซลล์ไขมัน เกิดเป็นไขมันสะสมจนเกิดภาวะอ้วน รูปร่างไม่สมส่วน แต่หากการสะสมนั้นเกิดขึ้นในกระแสเลือดก็จะทำให้เกิดโรคเบาหวาน ซึ่งจะอันตรายยิ่งขึ้น เนื่องจากจะทำให้เลือดมีคุณสมบัติคล้ายน้ำเชื่อม นั่นหมายความว่า การไหลเวียนจะช้าและหนืดขึ้นกว่าเดิม ทำให้เลือดเข้าสู่เส้นเลือดฝอยยาก จนทำให้เกิดภาวะขาดเลือดของอวัยวะต่างๆ เข่น หากเกิดที่เส้นเลือดบริเวณตาก็เกิดภาวะตาเสื่อม หากเกิดที่เส้นเลือดที่ไตก็จะทำให้เกิดภาวะโรคไตวาย

อย่างไรก็ตาม การที่มีปริมาณ Glucose ต่ำเกินไปก็เป็นปัญหาสำคัญมาก โดยเฉพาะอวัยวะหนึ่งคือสมอง เพราะสมองคนเราเป็นอวัยวะที่มีอัตราการใช้ Glucose มากเป็นอันดับแรก เพราะสมองทำงานตลอดเวลาแม้กระทั่งตอนนอนหลับ ดังนั้น เมื่อคุณอดอาหาร จึงมักเกิดอาการ Glucose ไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เมื่อเซลล์สมองไม่ได้รับพลังงาน จะทำให้คุณมีอาการ เพลีย ง่วง คิดไม่ค่อยออก ไปจนถึงหน้ามืด เป็นลม และหากเกิดเหตุการณ์สมองขาด Glucose บ่อยๆ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะความจำเสื่อมในระยะยาวได้

วิธีปฏิบัติตนเพื่อให้ร่างกายมี Glucose อยู่ในระดับเหมาะสม

การจะวัดระดับ Glucose ในร่างกายเหมาะทำได้ด้วยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วหลังอดดอาหาร 8 ชั่วโมงไปตรวจ หากน้ำตาลอยู่ในช่วง 70-99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรจะหมายถึงมีระดับ Glucose เหมาะสม

วิธีปฏิบัติตนเพื่อให้ร่างกายมี Glucose เหมาะสม หลักๆ จะอยู่ที่การรับประทานอาหาร ดังนี้

  1. รับประทานอาหารทุกมื้อในปริมาณเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป และไม่ควรอดอาหารเป็นเวลานานๆ
  2. รับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของ Glucose ในปริมาณที่พอดี เช่น ข้าว 1-1 ครึ่งทัพพีต่อมื้อ ในคนน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีน้ำหวานในมื้ออาหารแล้ว แต่หากต้องการเพิ่มน้ำหวาน ก็ควรลดปริมาณข้าว เพื่อให้ปริมาณ Glucose ที่ควรได้รับไม่มากจนเกินไป
  3. นอนหลับให้เพียงพอ (วันละ 6-8 ชั่วโมง) เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนในทุกๆ อวัยวะและระบบ ส่งผลให้การใช้พลังงานของแต่ละอวัยวะะเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะหากนอนน้อย ร่างกายจะถามหาอาหารและพลังงานมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะขาด Glucose ได้

ที่มาของข้อมูล

Carol DerSarkissian, What’s Glucose (https://www.webmd.com/diabetes/glucose-diabetes#1), 9 August 2018.

Elaine K. Luo, MD, Everything You Need to Know About Glucose (https://www.healthline.com/health/glucose), 24 March 2017.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. ๒๕๕๔, ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน, บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด, มกราคม 2554.


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Healthy blood glucose levels: Targets, extremes, and lifestyle tips. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/249413)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป