กระเทียม

11 ประโยชน์และเรื่องน่ารู้ของกระเทียมที่คุณอาจไม่เคยรู้
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
กระเทียม

rong>ชื่อท้องถิ่น หอมเทียม (เหนือ), กระเทียม หัวเทียม (ภาคใต้), กระเทียมขาว (อุดรธานี),หอมขาว(อุดรธานี), กระเทียม (กลาง), ปะเซวา (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะของพืช พืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า หัว หัวมีกลีบย่อยหลายกลีบ ติดกันแน่น เนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะ บางครั้งในหนึ่งหัวมีกลีบเดียว เรียก กระเทียมโทน หัวค่อนข้างกลม ใบยาวแบน ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายช่อ ดอกสีขาวอมเขียม หรือชมพูอมม่วง ผลมีขนาดเล็ก

ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดิน

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงที่หัวแก่ อายุ 100 วันขึ้นไป

รสและสรรพยาคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร
วิธีใช้ กระเทียมใชเป็นยารักษาอาการดังนี้

  1. อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และแน่นจุกเสียด ใช้กลีบปอกเปลือก รับประทานดิบๆ ครั้งละประมาณ 5 – 7 (หนัก 5 กรัม) หลังอาหารหรือเวลามอาการ
  2. อาการกลาก เกลื้อน ฝานกลีบกระเทียมแล้วนำมาถูกบ่อยๆ หรือตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นโดยใช้ไม้เล็กๆ ขูดบริเวณที่เป็น พอให้ผิวแดงๆ ก่อน แล้วจึงเอากระเทียมทาบ่อยๆ หรือวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น

ประโยชน์และเรื่องน่ารู้ของกระเทียมที่คุณอาจไม่เคยรู้

กระเทียม ถือเป็นส่วนประกอบชนิดหนึ่งของอาหารพบเห็นได้บ่อยในเมนูจานต่าง ๆ จากหลายสัญชาติ ทั้งของไทย จีน ฝรั่ง เกาหลี หรือแขก และอื่น ๆ ซึ่งเมื่อพูดถึงกระเทียมแล้ว หลาย ๆ คนคงนึกถึง “กลิ่น” ของมันเป็นอันดับแรก เพราะไม่ว่าจะคนทำครัวหรือคนรับประทาน กลิ่นของเจ้ากระเทียมเรียกได้ว่าตามติดตามหลอนกันชนิดหลายวันหลายคืนเลยทีเดียว อย่างคนทำครัว ต่อให้ล้างมืออย่างไร กลิ่นก็ยังคงหลงเหลืออยู่ตามซอกเล็บซอกมือ หรือคนรับประทานทั้งเพื่อความเอร็ดอร่อยหรือเพื่อรักษาโรค ก็ล้วนแล้วแต่มีกลิ่นปากที่หอมฉุนไปตลอดวัน จริงไหม? ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจากบทบาทของกระเทียมที่ช่วยให้อาหารมีรสชาติละมุนละไมขึ้นแล้วนั้น กระเทียมยังมีบทบาทและประโยชน์น่ารู้อีกมากมายที่เชื่อว่าหลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาก่อน ว่าแล้วก็อย่ารีรอ...มาดูกันเลยดีกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. กระเทียมไม่ใช่สมุนไพร: โดยทั่วไปแล้ว คนมักนิยามกันว่า กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่นะจะบอกให้ กระเทียม นอกจากจะติดเอาไว้เป็นอาวุธลับประจำห้องครัวแล้ว กระเทียมยังทำหน้าที่เป็น “ยา” ชั้นเลิศมานับหลายพันปีอีกต่างหาก กล่าวคือ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ผู้คนนำกระเทียมมารักษาบริเวณเนื้อที่เน่าตาย หรือภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายตายจากการติดเชื้อหรือเสียเลือดมากนั่นเอง

2. กระเทียมดิบเจ๋งกว่ากระเทียมสุก: ว่ากันว่า กระเทียมควรกินแบบดิบจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่า เพราะความร้อนที่มากเกิน 60 องศาเซลเซียส อาจสลายสรรพคุณดี ๆ บางอย่างที่บรรจุอยู่ภายในกระเทียม ซึ่งประโยชน์ของกระเทียมดิบนั้นมีมากมายหลากหลายประการเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยดูแลระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย รักษาแผลอักเสบ รวมถึงทำให้ความดันของคุณคงที่

3. น้ำมันกระเทียมบรรเทาอาการเจ็บหรือปวดบริเวณข้อต่อ: การถูน้ำมันกระเทียมลงบนบริเวณที่คุณรู้สึกเจ็บหรือปวด สามารลดอาการอักเสบได้ดีทีเดียวล่ะ

4. กระเทียมลดสิว: หากคุณถูกระเทียมลงบนผิวหน้า กระเทียมจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุต่าง ๆ ของสิว แต่ก็ระวังไว้ด้วยล่ะ ผิวหน้าของคุณอาจแสบ ๆ ร้อน ๆ และที่สำคัญ...กลิ่นมันคงร้ายกาจไม่เบาเลยล่ะ

5. กระเทียมอันตรายต่อสุนัข: เนื่องจากเจ้าเพื่อนขนแสนรู้ของคุณมีกระบวนการทำงานของร่างกายที่แตกต่างออกไป ดังนั้น กระเทียมอาจเป็นพิษต่อร่างกายของมันได้ แต่ถ้าเผลอกินเข้าไปนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ถือว่าไม่อันตราย มันจะส่งผลเสียก็ต่อเมื่อเจ้าตูบกินกระเทียมเข้าไปชนิดลืมหูลืมตา ฉะนั้น ไม่ต้องกังวลไป

6. จุ่มเท้าลงในน้ำกระเทียม ช่วยบรรเทาได้: กระเทียมจัดเป็นคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือสูสีของเชื้อรา ลองเอากระเทียมถูเท้าดูสิ เชื้อราหนีตายเรียบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

7. เก็บกระเทียมไว้ไหนดี?: ตู้กับข้าว! เพราะหากเป็นตู้เย็น ความเย็นและความชื้นอาจทำให้มันเจริญเติบโตเพาะพันธุ์ต่อไปได้อีก และที่สำคัญ เก็บมันไว้ให้ห่างจากอาหารและผักชนิดอื่น ๆ เพราะมันจะส่งกลิ่นฉุนติดพันอย่างรุนแรง

8. ถ้ากระเทียมมีต้นอ่อนงอกขึ้นมา เราสามารถกินมันได้: ว่ากันว่า หัวกระเทียมที่มีต้นอ่อนงอกเงยขึ้นมาต่อ ดีกว่ากระเทียมสด ๆ เสียอีก เนื่องจากกระเทียมที่มีต้อนอ่อนเจริญงอกงามต่อมาอีก 5 วัน มีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันโรคหัวใจชั้นยอด ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระนี้จะช่วยป้องกันการทำลายเซลล์นั่นเอง

9. การปลูกกระเทียมส่งผลดีต่อพืชผักอื่น ๆ ของคุณ: กระเทียมช่วยไล่สัตว์และแมลงต่าง ๆ ที่มารบกวนพืชผักของคุณ ทั้งลูกพีช มะเขือเทศ กะหล่ำปลี หรือมะเขือยาว แต่! จำไว้ว่า ปลูกใกล้กับอะไรก็ปลูกได้ แต่ห้ามปลูกใกล้กับถั่ว เพราะจะชะลอการเจริญเติบโตของถั่ว! เผลอ ๆ อาจอดกินไปเลยแหละ

10. รู้หรือไม่ กระเทียมหนึ่งหัวมีกี่กลีบ: คำตอบคือ 4-20 กลีบ และคุณสามารถเอากระเทียมออกมาด้วยวิธี “ทุบ” กล่าวคือ ทุบมันให้แบนลงบนเขียง เปลือกกระเทียมจะแตกและปริออก เผยผิวขาวเนียนของเจ้ากระเทียมและง่ายต่อการแกะมันออกมาปรุงอาหาร

11. กินอะไรดับกลิ่นกระเทียม: แอปเปิ้ลคือตัวช่วยที่ดีที่สุด แต่คุณต้องกินทันทีหลังกินกระเทียม แต่หากไม่มีแอปเปิ้ลแล้วล่ะก็ ผักกาดหอมและใบมินท์ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ซึ่งลมหายใจกลิ่นกระเทียมนั้นจะอยู่กับคุณไปประมาณหนึ่งวันเต็ม ๆ เพราะมันมีกระบวนการทางเคมีที่ส่งผลไปถึงกระแสเลือดและปอดของคุณเมื่อร่างกายของคุณเกิดการย่อย

นับเป็นความรู้แปลกใหม่เกี่ยวกับกระเทียม ส่วนผสมของอาหารคู่บ้านคู่เรือนของใครหลายๆ คน ซึ่งกระเทียม ถึงจะมีกลิ่นฉุนรุนแรง แต่ประโยชน์ของมันนั้นมหาศาล โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่อายุมากควรกินอย่างยิ่ง นอกเหนือจากประโยชน์น่ารู้ข้างต้น ความรู้เพิ่มเติมอีกอย่างคือ กระเทียมสามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ด้วยนะจะบอกให้ คุณ ๆ เคยสงสัยไหมล่ะ ว่าทำไมร้านขาหมูหรือร้านปิ้งย่างเกาหลี ต้องเสิร์ฟบรรดาจานหมู ๆ ต่าง ๆ พร้อมกับกระเทียม เหตุผลคือ นอกจากจะเพิ่มความอร่อยตัดเลี่ยนแล้ว ก็เพื่อดักจับไขมันหมูนั่นเอง เรียกได้ว่า อร่อยเข้ากัน แถมได้ประโยชน์อีกต่างหาก

และนอกจากจะเป็นยารักษาแผลเนื้อตายในสมัยสงครามแล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่มีสงครามแล้ว แต่กระเทียมก็ยังเป็นยาวิเศษรักษาแผลอีกเช่นเคย เนื่องจากสามารถรักษาแผลร้อนในในปากได้ดีทีเดียว ใครที่มักเป็นร้อนใน นอกจาการบ้วนน้ำเกลือหรือการพ่นยาแล้ว แนะนำให้ลองใช้กระเทียมสดเป็นยารักษา! ลองกลั้นใจกัดกินเจ้ากระเทียมแบบสด ๆ ดูสิ รับรอง หายเร็วและไม่ต้องทนทรมานกันนาน กระเทียมไม่ได้ไล่แค่แดร็กคูล่า แต่ยังไล่โรคภัยต่าง ๆ ออกไปด้วย! ... ประโยชน์เยอะแบบนี้ ไม่ลองไม่ได้แล้ว


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Garlic Uses, Side Effects & Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/mtm/garlic.html)
6 Surprising Ways Garlic Boosts Your Health. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/6-surprising-ways-garlic-boosts-your-health/)
Garlic: Proven health benefits and uses. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/265853)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป