กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Epilepsy (โรคลมชัก)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคลมชัก เป็นโรคทางระบบประสาทที่ผู้ช่วยจะมีอาการชักกระตุก มีปัจจัยทำให้เกิดได้หลายอย่าง เช่น อายุ พันธุกรรม การรับบาดเจ็บทางศีรษะ
  • การชักของโรคลมชักแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น อาการชักแบบเหม่อลอย อาการชักแบบชักเกร็ง อาการชักสะดุ้ง อาการชักเฉพาะที่
  • การวินิจฉัยโรคลมชักจะต้องมีการซักประวัติสุขภาพ และประวัติอาการของโรคลมชักอย่างละเอียด รวมกับตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหารอยโรคเพิ่มเติม เช่น ทำ MRI ทำ PET Scan
  • ผู้ป่วยโรคลมชักต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อให้การรักษาโรคนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รับประทานยาตามเวลาที่แพทย์สั่ง อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย ระวังอย่าให้มีภาวะเครียด ระมัดระวังอย่างให้เกิดอุบัติเหตุที่สมอง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Epilepsy (โรคลมชัก) เป็นความผิดปกติทางระบบประสาท สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย เกิดจากระบบไฟฟ้าของสมองไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ จึงทำให้เกิดอาการชักขึ้น บางครั้งอาจมีอาการกระตุก สับสน และสูญเสียความรู้สึกตัวร่วมด้วย

อาการของโรคลมชัก

โรคลมชักมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีอาการชักแตกต่างกัน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อาการชักแบบเหม่อลอย (Absence seizures) พบได้ทั่วไปในเด็ก อาการที่พบคือ การเพ่ง กะพริบตา และการตบปาก
  • อาการชักแบบชักเกร็ง (Tonic seizures) มีอาการกล้ามเนื้อแข็งตัว โดยเฉพาะบริเวณหลัง แขน และขา ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยหกล้มได้
  • อาการชักตัวอ่อน (Drop seizures) เป็นอาการชักที่สามารถทำให้ผู้ป่วยล้มฟุบลงได้ทันที
  • อาการชักกระตุก (Clonic Seizures) มีอาการกระตุก มักพบได้ที่บริเวณคอ หน้า และแขน
  • อาการชักสะดุ้ง (Myoclonic Seizures) ส่งผลกระทบต่อแขนและขา ซึ่งจะมีอาการกระตุกเป็นพักๆ
  • อาการชักแบบชักกระตุกและเกร็ง (Tonic-clonic seizures) มีอาการแข็งตัวของกล้ามเนื้อ และไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ หากมีความรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติ
  • อาการชักเฉพาะส่วน (Partial seizures) เป็นอาการชักเฉพาะที่ มักเกิดจากการมีไข้สูง การมีน้ำตาลในเลือดต่ำ การขาดแอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ อาการชักแบบรู้ตัว (Simple focal seizures) และอาการชักแบบไม่รู้ตัว (Complex partial seizures)

ปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดอาการชัก

อาการชักของผู้ป่วยโรคนี้มีปัจจัยกระตุ้นได้จากสาเหตุต่อไปนี้

  • อาการไข้ขึ้น
  • พักผ่อนไม่พอ
  • การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เสียงดัง
  • ความเครียด
  • การมีรอบเดือน
  • อุบัติเหตุที่ทำให้สมองได้รับบาดเจ็บ

ประเภทของโรคลมชัก

ประเภทของโรคลมชักจำแนกตามลักษณะอาการชัก และความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าในสมอง รวมถึงสาเหตุของโรค จะจำแนกได้ 3 ประเภท คือ

  1. โรคลมชักแบบ Localization related (focal) epilepsy เป็นโรคลมชักที่ผู้ป่วยจะมีอาการชักแบบยังมีสติ สามารถตอบสนองได้ระหว่างชัก เป็นอาการชักที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่
  2. โรคลมชักแบบ Generalized epilepsy เป็นโรคลมชักที่ผู้ป่วยจะมีอาการชักแบบชักกระตุกทั้งตัว และอาจหมดสติได้ อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าในสมองส่วนคอร์ติคอล (cortical area) ทั้ง 2 ซีก
  3. โรคลมชักแบบ Undetermined epilepsy เป็นโรคลมชักที่ยังไม่สามารถจำแนกได้ว่า เป็นโรคลมชักแบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 

สาเหตุของโรคลมชัก

  • โรคเส้นเลือดในสมองแตก
  • เนื้องอกในสมอง
  • การติดเชื้อในสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • สมองบาดเจ็บ
  • ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
  • โรคดาวน์ซินโดรม และโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ
  • โรคอัลไซเมอร์ และโรคทางระบบประสาทอื่นๆ

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมชัก

  • อายุ เพราะเด็กเล็ก และผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคลมชัก
  • การได้รับบาดเจ็บทางศีรษะ
  • ภาวะสมองเสื่อม

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการ หรือพบผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

  • มีอาการชักที่มีระยะเวลานานเกิน 5 นาที
  • มีอาการชักใหม่เริ่มต้น หลังจากการชักครั้งแรกเสร็จสิ้นลง
  • มีอาการชักจากการมีไข้สูง
  • มีอาการชักจากอาการเพลียแดด
  • มีอาการชักขณะตั้งครรภ์
  • มีอาการชัก และเป็นโรคเบาหวาน
  • มีอาการชัก และได้รับบาดเจ็บระหว่างการชัก

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในโรคลมชัก

ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก โดยเฉพาะที่เป็นโรคลมชักต่อเนื่องอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ดังต่อไปนี้

  • ภาวะเป็นกรดในเลือด
  • ภาวะสมองบวม
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ภาวะไตวาย
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ภาวะตัวร้อนเกิน
  • ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย

วิธีวินิจฉัยโรคลมชัก

ในเบื้องต้น แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงอาการของโรค เช่น ลักษณะอาการชัก ระดับความรู้สึกตัวขณะชัก ความผิดปกติด้านการออกเสียง การเคลื่อนไหวของศีรษะ ตา หรือคอ โรคเกี่ยวกับสมองที่ผู้ป่วยอาจเคยเป็น จากนั้นจะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น 

  • การวิเคราะห์เลือด
  • การวิเคราะห์น้ำไขสันหลัง เมื่อสงสัยว่า ผู้ป่วยติดเชื้อที่สมอง หรือสมองอักเสบ มีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มสมอง 
  • การทำ PET Scan (Positron Emission Tomography: PET) 
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography: EEG)
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan: CT Scan)
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อหารอยโรคขนาดเล็กที่ CT Scan อาจหาไม่เจอ รวมถึงเพื่อตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง

การรักษาโรคลมชัก

มีหลายวิธีที่สามารถรักษาโรคลมชักได้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. การใช้ยา

แพทย์อาจจ่ายยาเหล่านี้เพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือจ่ายหลายชนิดพร้อมกันก็ได้

ยาสำหรับรักษาโรคลมชักมักเป็นยากันชักที่จะทำให้อาการชักของผู้ป่วยบรรเทาลง อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการรักษาโรคนี้ แพทย์อาจมีปรับยาเพื่อให้เข้ากับอาการ หรือสภาพร่างกายผู้ป่วย รวมถึงให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น เช่น

  • ปรับขนาดยาเพิ่ม หากขนาดยาไม่เพียงพอกับอาการผู้ป่วย
  • กำชับให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่ผู้ชอบละเลยไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งทุกครั้ง 
  • ให้ผู้ป่วยรักษาโรคอื่นๆ ที่ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ เช่น มีก้อนเนื้องอก 
  • ให้ผู้ป่วยพักผ่อนไม่เพียงพอ หลีกเลี่ยงการมีภาวะเครียด

อีกทั้งการใช้ยากันชักยังอาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงซึม เวียนศีรษะ เห็นภาพซ้อน ง่วงนอน คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักขึ้น ผมร่วงได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น ซึม เครียด ผู้ป่วยเด็กอาจมีอาการซุกซน ก้าวร้าวขึ้น

2. การผ่าตัด

แพทย์อาจผ่าตัดนำส่วนของสมองที่ทำให้เกิดโรคลมชักออก เพื่อหยุดอาการชัก หรืออาจผ่าตัดแยกสมองเพื่อช่วยควบคุมอาการชัก

3. การกระตุ้นเส้นประสาท

แพทย์จะใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าสอดไว้ใต้ผิวหน้าอกเพื่อส่งสัญญาณไปที่ประสาทคอ เพื่อลดการสร้างกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการชัก ช่วยลดความถี่ และความรุนแรงของอาการชักได้

โรคลมชักเป็นโรคทางระบบประสาทที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และส่งผลร้ายแรงทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคลมชักจึงต้องหมั่นสังเกตอาการตนเอง รวมถึงดูแลสุขภาพให้แข็งแรงในระหว่างเป็นโรคลมชัก เพื่อป้องกันไม่ให้อาการของโรคเกิดขึ้นบ่อย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What is epilepsy. Epilepsy Society. (Available via: https://www.epilepsysociety.org.uk/what-epilepsy#.XrvckhP7SB0)
Epilepsy: Symptoms, Causes and Treatment. OnHealth. (Available via: https://www.onhealth.com/content/1/epilepsy_symptoms)
Epilepsy – Seizure Types, Symptoms and Treatment Options. American Association of Neurological Surgeons. (Available via: https://www.aans.org/en/Patients/Neurosurgical-Conditions-and-Treatments/Epilepsy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ลูกเคยไปโรงพยาบาลเพราะชักจากไข้ อยากจะถามคุณหมอว่า การชักการไข้มีผลต่อสมองลูกเมื่อเติบโตไหมคะ การเรียนจะเป็นเช่นไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
จะขอถามเกี่ยวกับสุขภาพของลูกค่ะ เวลาลูกเป็นไข้จะมีอาการชักเกือบทุกครั้ง อยากทราบว่าอาการชักบ่อยๆ จะมีผลต่อระบบสมองหรือเปล่าคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)