การส่องกล้อง (Endoscopy)

การส่องกล้องคืออะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การส่องกล้อง (Endoscopy)

การส่องกล้องเป็นหัตถการที่ทำเพื่อตรวจดูอวัยวะและและเนื้อเยื่อภายในร่างกายหลายส่วน เป็นการตรวจที่มีประโยชน์ในการตรวจหาโรคหรือภาวะต่างๆ ได้มากมาย ซึ่งแพทย์จะทำการใส่กล้องเข้าไปในร่างกายผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ปาก ก้น ช่องคลอด จมูก ท่อปัสสาวะ หรืออาจผ่านแผลผ่าตัด

ส่องกล้องคืออะไร?

กล้องที่นำมาใช้ส่องร่างกายมีหลายรูปแบบ หลายความยาว ซึ่งมีการออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับดูส่วนต่างๆ ของร่างกาย กล้องส่วนใหญ่จะบาง กลวง บิดงอได้และมีไฟติดอยู่ที่หัวกล้อง บางชนิดอาจมีกล้องวีดีโอขนาดเล็กติดอยู่เพื่อส่งภาพไปที่คอมพิวเตอร์ กล้องรุ่นล่าสุดมีขนาดเล็กมากจนสามารถใช้การกลืนเข้าไปก่อนที่กล้องจะส่งภาพผ่านเครือข่ายไร้สายมาที่คอมพิวเตอร์

ประเภทของการส่องกล้อง

การส่องกล้องมีหลายประเภท เช่น

  • Arthroscopy การส่องกล้องที่ข้อ
  • Bronchoscopy เป็นการตรวจหลอดลมผ่านทางปากหรือจมูก
  • Colonoscopy ใช้ตรวจลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงผ่านทางทวารหนัก
  • Cystoscopy ใช้ตรวจกระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ
  • Enteroscopy ใช้ตรวจลำไส้เล็กผ่านทางปากหรือทวารหนัก
  • Gastroscopy หรือ upper endoscopy ใช้ตรวจกระเพาะอาหาร หลอดอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นผ่านทางจากโดยใช้กล้องที่เรียกว่า esophagogastroduodenoscope
  • Hysteroscopy ใช้ตรวจมดลูกโดยการสอดกล้องผ่านช่องคลอดและปากมดลูก
  • Laparoscopy เป็นการตรวจอวัยวะและเนื้อเยื่อในช่องท้องและเชิงกรานผ่านการลงแผลผ่าตัด
  • Laryngoscopy ใช้ตรวจกล่องเสียงผ่านทางปากหรือจมูก
  • Mediastinoscopy ใช้ตรวจช่วงว่างระหว่างปวดผ่านการลงมีดเหนือกระดูกหน้าอก
  • Sigmoidoscopy ใช้ตรวจลำไส้ตรงและส่วนล่างของลำไส้ใหญ่ผ่านทวารหนัก
  • Thoracoscopy ใช้ตรวจการทำงานของทรวงอกและอวัยวะภายใน (ปอดและส่วนที่ปกคลุมปอด) ผ่านการลงแผนผ่าตัดที่หน้าอก

22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Endoscopy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/endoscopy/)
Endoscopy: Types, preparation, procedure, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/153737)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป