กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

แบบทดสอบโรคซึมเศร้าคืออะไร มีแบบไหนบ้าง

ทำความรู้จักแบบทดสอบซึมเศร้า และรวบรวมเว็บไซต์ทำแบบทดสอบซึมเศร้าออนไลน์
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แบบทดสอบโรคซึมเศร้าคืออะไร มีแบบไหนบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • “โรคซึมเศร้า” เป็นความผิดปกติทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อให้อาการทุเลา ต่างจากอารมณ์ซึมเศร้าที่มักมีสาเหตุชัดเจน เช่น ซึมเศร้าจากเหตุการณ์บางอย่างในชีวิตที่เมื่อเวลาผ่านไป อารมณ์เศร้าก็จะหายไป 
  • ลักษณะการเปลี่ลนแปลงสำคัญในผู้ป่วยซึมเศร้า เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ความคิดเปลี่ยน มองเห็นว่า ชีวิตในอดีตมีความผิดพลาด หรือล้มเหลว ส่งผลให้ชีวิตปัจจุบันดูแย่ไปหมด ไม่มีทางออก รู้สึกท้อแท้ สมาธิแย่ลง เหม่อลอย
  • ในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรงจะมีอาการแสดงของโรคจิต ที่พบบ่อยเชื่อว่า มีคนคอยกลั่นแกล้ง มีคนประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีอาการหูแว่ว
  • แบบทดสอบโรคซึมเศร้าเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้าเบื้องต้นที่ดี ปัจจุบันแบบทดสอบโรคซึมเศร้า มีหลายฉบับ ทั้งนี้จำนวนข้อคำถามที่ต่างกันส่งผลต่อความครอบคลุมและความไวในการประเมินอาการแสดงของโรคซึมเศร้า
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต

ในยุคที่โรคซึมเศร้าถูกกล่าวถึงบนสื่อต่างๆ บ่อยครั้ง พร้อมกับเนื้อหาข่าวที่พยายามอธิบายถึงลักษณะอาการที่มักปรากฏในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เพื่อการทำความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น 

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจึงได้พัฒนาแบบทดสอบโรคซึมเศร้าขึ้นมา เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรอง หรือประเมินอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง ก่อนไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคซึมเศร้าคืออะไร?

โรคซึมเศร้า” เป็นความผิดปกติทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อให้อาการทุเลา ต่างจากอารมณ์ซึมเศร้าที่มักมีสาเหตุชัดเจน เช่น ซึมเศร้าจากเหตุการณ์บางอย่างในชีวิต 

กรณีเช่นนี้เมื่อเวลาผ่านไป เหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวคลี่คลาย มีผู้แสดงความเข้าใจ อารมณ์เศร้าก็จะหายไป 

แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าแล้ว นอกจากจะมีอาการซึมเศร้าแล้วยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย จนส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรต่างๆ และหากมีอาการรุนแรงก็อาจส่งผลต่อพฤติกรรมและความคิดที่อาจเกี่ยวข้องกับการทำร้ายตนเองได้

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า 

  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย ดูอ่อนไหวง่าย แม้เรื่องนั้นๆ จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม บางคนอาจรู้สึกว่า จิตใจหม่นหมอง ไม่สดใส
  • ความคิดเปลี่ยน มองเห็นว่า ชีวิตในอดีตมีความผิดพลาด หรือล้มเหลว ส่งผลให้ชีวิตปัจจุบันดูแย่ไปหมด ไม่มีทางออก รู้สึกท้อแท้ หมดหวังกับชีวิต มองว่า ตนเองเป็นภาระของคนอื่น
  • สมาธิแย่ลง เหม่อลอย หลงลืมง่าย
  • มีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง เบื่อหน่าย 
  • ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป มักเป็นคนเก็บตัวมากขึ้น ใจน้อย อ่อนไหวง่าย หากคนรอบข้างไม่เข้าใจก็อาจทำให้เกิดปากเสียงกันได้
  • การทำงานแย่ลง โดยส่วนใหญ่พบว่าความรับผิดชอบต่อหน้าที่ลดลง ในผู้ที่อาการรุนแรงจะรู้สึกหมดพลัง ไม่อยากทำอะไร หรือบางคนรู้ว่าต้องทำอะไร เตรียมตัวเพื่อไปทำสิ่งนั้นๆ แล้ว แต่เมื่อเดินทางไปถึงที่หมายกลับล้มเลิกความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมนั้นๆ
  • มีอาการแสดงของโรคจิต พบได้ในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าแบบรุนแรง ที่พบบ่อยคือ เชื่อว่า มีคนคอยกลั่นแกล้ง  มีคนประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีอาการหูแว่ว

หากไม่แน่ใจว่า อาการของตนเอง หรือคนใกล้ชิด เข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ นอกจากโทรศัพท์ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323 หรือปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งให้บริการโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แล้ว 

ยังมีผู้ให้บริการเอกชนที่เปิดให้บริการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์ (วีดีโอคอล) หรือจะเลือกโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์แบบไม่เปิดกล้องก็ได้ เรียกว่า สะดวกสบายมากๆ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

แบบทดสอบโรคซึมเศร้าคืออะไร?

แบบทดสอบโรคซึมเศร้าเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้าเบื้องต้นที่ดี ปัจจุบันแบบทดสอบโรคซึมเศร้า มีหลายฉบับ  เช่น แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) แบบประเมินการฆ่าตัวตาย 8 คำถาม (8Q)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แบบประเมินทั้งหมดที่กล่าวมานี้ถูกนำมาใช้ในการวงการสาธารณสุข เพื่อประเมินอาการแสดงของโรคซึมเศร้า จำนวนข้อคำถามที่ต่างกันส่งผลต่อความครอบคลุมและความไวในการประเมินอาการแสดงของโรคซึมเศร้า 

สำหรับแบบประเมินทดสอบโรคซึมเศร้า ที่บุคลากรทางการแพทย์มักแนะนำให้ผู้ที่ต้องการประเมินโรคซึมเศร้าเบื้องต้นด้วยตนเองใช้ คือ "แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) ของกรมสุขภาพจิต" 

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ในเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต

เมื่อทำแบบทดสอบออนไลน์เสร็จ จะมีการรวมคะแนนแล้วแปลผลเป็น  4 ระดับ ได้แก่

  1. มีความผิดปกติแต่ยังไม่มีภาวะซึมเศร้า
  2. มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย
  3. มีภาวะซึมเศร้าปานกลาง
  4. มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง

ในเว็บไซต์ของหน่วยงานอื่นๆ ที่มีแบบประเมิน 9Q ให้ทำเหมือนกัน เมื่อคุณเข้าไปทำแบบทดสอบแล้ว อาจมีการให้คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้คะแนนในระดับต่างๆ ด้วย 

เช่น แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9Q ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แนะนำว่า หากอยู่ในระดับความผิดปกติแต่ยังมีภาวะซึมเศร้า  แนะนำให้พักผ่อน ผ่อนคลาย ออกกำลังกาย หาคนปรึกษา 

หากมีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย แนะนำให้สังเกตอาการ ถ้าเป็นมาก มีผลกระทบต่อการทำงาน การดูแลสิ่งต่างๆ ในบ้าน หรือการเข้ากับผู้คน ควรพบแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือ 

หากมีภาวะซึมเศร้าปานกลาง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อประเมินอาการเพื่อให้การช่วยเหลือ และหากมีภาวะซึมเศร้ารุนแรง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อประเมินอาการเพื่อให้การช่วยเหลือ 

รวมลิงก์สำหรับทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าออนไลน์ จากกรมสุขภาพจิต

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ธรณินท์ กองสุข สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล ศุภชัย จันทร์ทอง และคณะ, ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับรุงภาษากลาง (http://psychiatry.or.th/JOURNAL/63-4/02_Thoranin.pdf), 24 มีนาคม 2563.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. (www.med.mahidol.ac.th/ramamental), 18 เมษายน 2563.
กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q) (https://www.dmh.go.th/test/), 18 เมษายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร

เมื่อแอลกอฮอล์ สารเสพติดและยาทำให้คุณรู้สึกแย่กว่าเดิม

อ่านเพิ่ม
โรคซึมเศร้า (Depression)
โรคซึมเศร้า (Depression)

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โรคนี้มักมาจากมรสุมชีวิตและการสูญเสีย มีอาการคล้ายที่เห็นใกล้เคียงกับอาการเศร้าหรือเสียใจทั่วไป

อ่านเพิ่ม