คอร์ติโคสเตียรอยด์คืออะไร ?

คอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นยาที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นโดยทำหน้าที่เหมือนกับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายยากลุ่มนี้จะช่วยลดอาการอักเสบ และมีผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คอร์ติโคสเตียรอยด์คืออะไร ?

คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ที่สังเคราะห์ขึ้นโดยทำหน้าที่เหมือนกับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกาย ยากลุ่มนี้ช่วยลดอาการอักเสบ และมีผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายหากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น

คอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ยาน้ำ ครีมทาผิวหนัง ยาหยอดตา ยาหยอดหู ยาฉีด หรือยาให้ทางหลอดเลือด เป็นต้น โดยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ใช้บ่อยได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คอร์ติโคสเตียรอยด์ ใช้รักษาอะไรได้บ้าง?

ปกติแล้ว แพทย์มักใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์รักษาโรคดังต่อไปนี้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์

การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้ง หากมีอาการที่บอกถึงการติดเชื้อ เช่น เป็นไข้ เจ็บคอ ไอ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเกี่ยวกับโรคประจำตัวอื่นๆ ก่อนจะเริ่มใช้ยาชนิดนี้ โดยเฉพาะ

ผลข้างเคียงจากคอร์ติโคสเตียรอยด์

คอร์ติโคสเตียรอยด์ สามารถให้ผลข้างเคียงที่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามขนาดยาที่ได้รับ เช่น

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • กระหายอาหารหรือน้ำมากขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อย
  • อารมณ์แปรปรวน
  • สายตาพร่ามัว
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ทำให้หยุดการเจริญเติบโตในเด็ก (Stunted growth)
  • ขนตามร่างกายเพิ่มขึ้น
  • สิว
  • มีรอยฟกช้ำได้ง่าย
  • หน้าบวม
  • โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
  • ความดันโลหิตสูง
  • ทำให้โรคเบาหวานแย่ลง
  • กระวนกระวาย กระสับกระส่าย
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • มีปัญหาเรื่องการนอน
  • ภาวะน้ำคั่งในร่างกาย (Water retention)
  • โรคต้อกระจก หรือ ต้อหิน
  • การติดเชื้อทางผิวหนังหรือช่องคลอด 

อย่างไรก็ตาม ห้ามหยุดใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้เกิดอาการถอนยาได้ ซึ่งแพทย์จะปรับขนาดยาลงเพื่อหยุดการรักษาโดยไม่ให้เกิดอาการถอนยา 

หากใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นเวลานาน แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมน้อยแต่มีโพแทสเซียมมากแทน นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานโปรตีนมากขึ้น แต่ก็ต้องระวังปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับควบคู่กันไปเพื่อป้องกันน้ำหนักเพิ่ม นอกจากนี้ยังต้องระวังการรับประทานเกรปฟรุตทั้งแบบผลและน้ำขณะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เนื่องจากผลไม้นี้อาจมีผลต่อการทำงานของยา

หากกำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าอาจจะตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ เพราะยากลุ่มนี้อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก 


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Steroids. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/steroids/)
Corticosteroids: Drug List, Side Effects & Dosage. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/corticosteroids-oral/article.htm)
Corticosteroids: Types, Interactions, & Tips to Minimize Side Effects. Healthline. (https://www.healthline.com/health/corticosteroids-what-are-they)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป