ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD
เขียนโดย
ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD

ล้างพิษในหลอดเลือดด้วยคีเลชั่นบำบัด

จะดีแค่ไหน ถ้าสามารถล้างสารบางอย่างที่เป็นอันตรายออกจากร่างกายได้
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ล้างพิษในหลอดเลือดด้วยคีเลชั่นบำบัด

การล้างพิษออกจากระบบต่างๆ ในร่างกายเป็นที่นิยมสำหรับผู้สนใจใส่ใจสุขภาพมาระยะหนึ่งแล้ว วิธีการล้างพิษออกจากร่างกายทำได้หลายวิธี รวมถึงวิธีการที่เรียกว่า “คีเลชั่นบำบัด” ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งของการแพทย์ทางเลือก ที่ได้รับการกล่าวขานว่าสามารถล้างสารพิษจำพวกโลหะหนักออกจากร่างกาย ส่งเสริมให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คีเลชั่นบำบัดคืออะไร?

คำว่า “คีเลชั่น (Chelation) มาจากศัพท์ภาษากรีก โดยคำว่า “คีลี (Chele)” มีความหมายถึง “ก้ามปู” หรือ “กุ้ง” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงกลไกการสร้างพันธะเคมีระหว่างสารประกอบอินทรีย์กับสารประกอบไอออนของโลหะหนักที่มีลักษณะคล้ายกับการหนีบของก้ามปู ในทางการแพทย์ “คีเลชั่นบำบัด (Chelation therapy)” จึงหมายถึง การให้ยาหรือสารเคมีเข้าไปในร่างกายเพื่อกำจัดสารโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว สารปรอท สารหนู และสารโลหะที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็น เช่น ธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี ที่จับอยู่ในผนังหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ ให้ออกจากร่างกาย ซึ่งสารเหล่านี้ได้เข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง ส่งผลให้เกิดการอักเสบในบริเวณที่สะสม และเป็นตัวการสำคัญที่เหนี่ยวนำให้เกิดสารอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คีเลชั่น (Chelation Therapy) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2,813 บาท ลดสูงสุด 77%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สารที่นิยมใส่เข้าไปในร่างกายทางหลอดเลือดดำเพื่อทำคีเลชั่นบำบัดคือ กรดอะมิโน ชื่อ เอทิลีนไดอะมีนเตตระแอซิติก (Ethylene Diamine Tetraacetic Acid:EDTA) ในปัจจุบันการทำคีเลชั่นบำบัดเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรมบำบัดโรคที่ใช้รักษาภาวะหลอดเลือดแดงแข็งหรือตีบ (Arterosclerosis) ร่วมกับการบำบัดด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ การควบคุมอาหาร การบริโภคอาหารเสริม การออกกำลังกาย การควบคุมความเครียด โดยอาจร่วมกับการรับประทานยาหรือการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งจะพิจารณาโดยแพทย์ผู้ทำการรักษา

การให้ EDTA จะให้ร่วมกับยาตัวอื่นๆ โดยแพทย์จะผสม EDTA กับน้ำเกลือและหยดเข้าทางหลอดเลือดดำ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 3 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะทำเช่นนี้ประมาณ 1 หรือ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และระยะเวลาในการทำคีเลชั่นบำบัดของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

ประโยชน์ของคีเลชั่นบำบัด

คีเลชั่นบำบัด มีประโยชน์ในเรื่องเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้หลอดเลือดสะอาดและมีความยืดหยุ่นดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง ขจัดอนุมูลของสารโลหะหนักในเลือด ลดการก่อตัวของตะกรันและคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ดังนั้น การทำคีเลชั่นบำบัดจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น ชอบรับประทานอาหารรสหวาน ไขมันสูง อาหารทอด อาหารปิ้งย่าง ผู้ที่สูบบุหรี่จัดหรือดื่มแอลกอฮอล์มาก ผู้ที่มีภาวะเครียดอยู่เป็นเวลานาน สตรีที่วางแผนตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยที่มักปวดเกร็งน่องขณะออกกำลังกาย ผู้ที่พบสารพิษและสารโลหะหนักในร่างกายเป็นจำนวนมาก เป็นต้น

ผลข้างเคียงและอาการไม่พึ่งประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำคีเลชั่นบำบัด

การทำคีเลชั่นบำบัดอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้เช่นเดียวกับการรักษาทั่วไป อาการไม่พึงประสงค์จากการทำคีเลชั่นบำบัด มี 2 แบบ ได้แก่ อาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่ร้ายแรง (Minor adverse events) ที่พบบ่อย คือ อาการปวดในบริเวณที่ฉีดสาร EDTA อาการปวดเมื่อยตามตัว รู้สึกอ่อนเพลีย หรือ อาจมีไข้ต่ำๆ เกิดจากการที่สารพิษโลหะหนักถูกดึงออกมาสู่กระแสเลือด อาการเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วคราวและส่วนมากจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง อาการไม่พึงประสงค์อีกแบบหนึ่ง เป็นอาการพึงประสงค์ที่ค่อนข้างร้ายแรง (Serious adverse events) พบว่าเกิดขึ้นได้น้อยมาก มักเกิดจากการบริหารยา เช่น EDTA เข้าสู่ร่างกายในปริมาณและอัตราเร็วที่ไม่เหมาะสม โดยพบว่าผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะจากภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะไตทำงานผิดปกติร่วมด้วย หรืออาจพบอาการชาบริเวณริมฝีปาก (Peri-oral numberness) จากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia) หรือบางรายอาจพบอาการหดเกร็งตามข้อมือข้อเท้า (Carpopedal spasm) ซึ่งภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงสามารถป้องกันได้ เช่น การแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารก่อนการทำคีเลชั่นบำบัดเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือแพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพิ่มระดับแคลเซียมในเลือดเมื่อเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงที่ห้ามทำคีเลชั่นบำบัด

คีเลชั่นบำบัดมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากดังได้กล่าวมาแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ห้ามทำคีเลชั่นบำบัด ได้แก่

  • ผู้ป่วยไตวาย
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้แพ้สาร EDTA
  • ผู้มีไข้
  • ผู้ที่มีภาวะสมองผิดปกติจากตะกั่วเฉียบพลัน (Acute lead encephapathy)
  • ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติหรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

นอกจากนี้มีข้อควรระวังการทำคีเลชั่นบำบัดในผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulation) ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ไตบกพร่อง โรคตับ ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับปกติได้ ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคจีซิกซ์พีดี (G6PD)

การทำคีเลชั่นบำบัดควรทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วเท่านั้น โดยสถานที่ในการทำต้องมีอุปกรณ์และยาที่พร้อม ได้แก่ มีเตียงพักหรือเตียงกึ่งนั่งกึ่งนอน มีที่แขวนน้ำเกลือหรือเสาน้ำเกลือ มียาที่เตรียมพร้อมสำหรับแก้ไขภวะที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการทำคีเลชั่นบำบัด เป็นต้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. คีเลชั่นบำบัด . Short url: shorturl.at/kCMV4 , สืบค้น 3 กรกฎาคม 2562.
กระทรวงสาธารณสุข. คีเลชั่นบำบัด. Short url: shorturl.at/chxER , สืบค้น 3 กรกฎาคม 2562.
สำนักการแพทย์ทางเลือก. (2554). มาตรฐานการแพทย์ทางเลือก เรื่อง คีเลชั่นบำบัดด้วยสารอีดีทีเอทางหลอดเลือดดำ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)