กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฮอร์โมนแคททีโคลามีนคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฮอร์โมนแคททีโคลามีนคืออะไร?

ฮอร์โมนแคททีโคลามีน (Catecholamines hormones) เป็นกลุ่มฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมหมวกไต ซึ่งอยู่บริเวณส่วนบนของไต โดยมีโดพามีน (Dopamine) เอพิเนฟริน (Epinephrine) หรืออะดรีนาลีน (Adrenaline) และนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) เป็นฮอร์โมนหลักของกลุ่มฮอร์โมนแคททีโคลามีน โดยปกติแล้วฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกปล่อยเข้าไปในกระแสเลือดเมื่อร่างกายหรือจิตใจเกิดความเครียด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฮอร์โมนหลักของกลุ่มฮอร์โมนแคททีโคลามีนจะถูกแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ ก่อนจะถูกกำจัดในปัสสาวะดังต่อไปนี้

  • โดพามีนจะเปลี่ยนเป็นกรดโฮโมวานิลิก (Homovanillic acid)
  • เอพิเนฟรินจะเปลี่ยนเป็น VMA หรือ Metanephrine และ Vanillylmandelic acid
  • นอร์เอพิเนฟรินจะเปลี่ยนเป็น Normetanephrine และ VMA

การทดสอบระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีน

แพทย์มักจะตรวจปัสสาวะเพื่อวัดปริมาณการหลั่งฮอร์โมนออกจากร่างกายภายในเวลา 24 ชั่วโมง 

ข้อมูลด้านล่างเป็นช่วงปกติของฮอร์โมนในระยะ 24 ชั่วโมง ซึ่งช่วงเหล่านี้อาจแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบ

  • โดพามีน 65 - 400 ไมโครกรัม
  • เอพิเนฟริน 0.5 - 20 ไมโครกรัม
  • เมตาเนฟริน 24 - 96 ไมโครกรัม (แต่ห้องปฏิบัติการบางแห่งจะให้ผลในช่วง 140 - 785 ไมโครกรัม)
  • นอร์เอพิเนฟริน 15 - 80 ไมโครกรัม
  • นอร์เมตาเนฟริน 75 - 375 ไมโครกรัม
  • ฮอร์โมนแคททีโคลามีนทั้งหมดในปัสสาวะ 14 - 110 ไมโครกรัม
  • VMA 2 - 7 มิลลิกรัม

ถ้าตรวจวัดแล้วพบว่าระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีน อยู่ในระดับที่จำเป็นต้องทำการทดสอบหรือตรวจเพิ่มเติม แพทย์จะให้ตรวจปัสสาวะรวมถึงตรวจเลือด ควรแจ้งแพทย์ถึงอาหารและเครื่องดื่มที่ได้รับประทานก่อนหน้านี้ เพราะอาหารและเครื่องดื่มบางชนิดสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีนได้ เช่น

  • ชา กาแฟ และเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีคาเฟอีน
  • กล้วย
  • ผลไม้รสเปรี้ยว
  • ช็อคโกแล็ตหรือโกโก้
  • วานิลลา

นอกจากนี้ การรับประทานยาบางชนิดยังส่งผลต่อระดับกลุ่มฮอร์โมนแคททีโคลามีนด้วย เช่น

  • ยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Acetaminophen)
  • ยาอัลบูเทอรอล (Albuterol)
  • แอมเฟตามีน (Amphetamine)
  • บิวสไปโรน (Buspirone)
  • ยาปิดกั้นแคลเซียม (Calcium channel blockers)
  • โคลนิดีน (Clonidine)
  • โคเคน (Cocaine)
  • ไซโคลเบนซาพรีน (Cyclobenzaprine)
  • ยาลดความดันโลหิตสูง กัวเนธิดีน (Guanethidine)
  • ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ (Monoamine oxidase: MAOIs)
  • ฟีน๊อกซิเบนซามิน (Phenoxybenzamine)
  • ฟีโนไทอาซีน (Phenothiazine)
  • ยาแก้หวัดคัดจมูก ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)
  • ยารีเซอร์พีน (Reserpine)
  • ยาต้านเศร้าในกลุ่ม Tricyclic Antidepressants (TCAs)

การมีระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีนสูง

ระดับฮอร์โมนแคททีโคลามีนที่สูงขึ้น อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น:

  • อาการวิตกกังวลเฉียบพลัน (Acute anxiety)
  • ภาวะเครียดอย่างรุนแรง
  • เนื้องอกบางประเภท ทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่ใช่มะเร็ง
  • ภาวะ Baroreflex failure (เป็นโรคที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต)
  • การขาดเอนไซม์บางชนิด
  • โรค Menkes หรือ Menkes syndrome (โรคที่มีผลต่อระดับทองแดงในร่างกาย)
  • ความผิดปกติของกระบวนการ Dopamine metabolism

7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Catecholamine blood test. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/003561.htm)
Catecholamines - Levels & Tests. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/catecholamines/guide/)
Definition of catecholamine. National Cancer Institute. (https://www.cancer.gov/publications/dictionaries/cancer-terms/def/catecholamine)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)