วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับเครื่องวัดความดันโลหิต

รวมรายละเอียดเครื่องวัดความดันโลหิต มีค่าตัวเลขอะไรบ้าง ข้อควรระวังในการใช้
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ข้อควรรู้เกี่ยวกับเครื่องวัดความดันโลหิต

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เครื่องวัดความดันโลหิตคือ อุปกรณ์วัดความดันโลหิตที่ถูกส่งมาจากห้องหัวใจล่างซ้ายเข้าสู่ระบบเส้นเลือดแดง มักแสดงตัวเลขออกมา 3 ค่า คือ ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว และอัตราการเต้นของหัวใจ
  • เครื่องวัดความดันโลหิตแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท ชนิดขดลวด และชนิดดิจิตอล ซึ่งเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน
  • การวัดความดันโลหิตควรวัดที่ต้นแขนมากกว่าข้อมือ เพราะข้อมือเป็นบริเวณที่ชั้นผิวบาง เส้นเลือดมีขนาดเล็กกว่า ชีพจรบริเวณดังกล่าวจึงเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย
  • หากเครื่องวัดความดันโลหิตที่คุณใช้มีอายุการใช้งานโดยไม่เคยตรวจสอบมาตรฐานเกิน 2 ปี ควรเปลี่ยนไปใช้เครื่องอื่น เพราะค่าความดันโลหิตที่ออกมาอาจไม่แม่นยำเท่าที่ควร
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ

ความดันโลหิต (Blood pressure) เป็นอีกปัจจัยที่สามารถบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพของคนทุกเพศทุกวัยได้ สำหรับอุปกรณ์ที่ช่วยวัดค่าเหล่านี้ได้ก็คือ เครื่องวัดความดันโลหิต

เครื่องวัดความดันโลหิตคืออะไร?

เครื่องวัดความดันโลหิต (Blood pressure monitor หรือ Blood pressure measurement device) คือ อุปกรณ์วัดระดับความดันโลหิตที่ถูกส่งออกมาจากหัวใจห้องล่างซ้ายเข้าสู่ระบบหลอดเลือดแดง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เครื่องวัดความดันโลหิตจะแสดงผลออกมาเป็นตัวเลข 3 ค่า ได้แก่

  1. ความดันโลหิตช่วงบน (Systolic blood pressure: SBP) ตัวอักษรที่ปรากฏอยู่บนเครื่องวัดคือ SYS เป็นความดันของเลือดสูงสุดที่เกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว
  2. ความดันโลหิตช่วงล่าง (Diastolic blood pressure: DBP) ตัวอักษรที่ปรากฏอยู่บนเครื่องวัดคือ DIA เป็นความดันเลือดที่ต่ำสุดที่เกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวออก
  3. อัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse หรือ Heart rate) เป็นค่าตัวเลขบอกถึงจำนวนอัตราการเต้นของหัวใจ หรือชีพจรต่อนาที

ประเภทของเครื่องวัดความดันโลหิต

เราสามารถจำแนกเครื่องวัดความดันโลหิตออกได้เป็น 3 ชนิดหลักๆ

1. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท (Mercurial manometer)

เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดมาตรฐาน ลักษณะเครื่องวัดมีแท่งแก้วปรอทอยู่ภายในกับลูกยางสำหรับบีบซึ่งมีสายโยงออกมา

เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดนี้มีขั้นตอนการวัดง่ายๆ ไม่ต้องปรับแต่งอะไรมาก เพราะใช้หลักแรงโน้มถ่วงของโลกในการวัดเป็นหลัก รวมถึงให้ผลการวัดแม่นยำ

แต่ข้อเสียของเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอทคือ มีขนาดใหญ่เทอะทะ พกพาไม่สะดวก อีกทั้งเวลาใช้ต้องตั้งไว้บนพื้นราบ ไม่เอียง ไม่เช่นนั้นจะทำให้ผลการวัดผิดพลาดได้

ผู้ที่สายตาไม่ดี หรือไม่มีแรงบีบลูกยางมากพอ จึงไม่เหมาะจะใช้เครื่องวัดความดันชนิดนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดขดลวด (Aneroid equipment)

สามารถเรียกได้อีกชื่อว่า "เครื่องวัดความดันโลหิตหน้าปัดนาฬิกา" มีจุดเด่นคือ พกพาง่าย น้ำหนักเบา ราคาไม่แพง แต่มีข้อเสีย คือ อาจชำรุดได้ง่ายหากทำตก หรือกระแทก และมีกลไกการใช้ซับซ้อนกว่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอื่น

3. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล (Automatic equipment)

ปัจจุบันเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีหลายยี่ห้อ หลายราคา หลายขนาดให้ได้เลือกซื้อ ทั้งยังพกพาสะดวก ใช้งานง่าย และไม่ต้องใช้ลูกยางในการบีบลมเพื่อหาชีพจร

นอกจากนี้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดนี้ยังแสดงผลด้วยตัวเลขขนาดใหญ่ เหมาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่สายตาไม่ดี อีกทั้งบางรุ่นยังสามารถพิมพ์ผลการวัดออกมาเป็นกระดาษให้ได้เก็บบันทึกได้ด้วย

แต่ข้อเสียของเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลคือ อาจมีขั้นตอนการใช้ซับซ้อน ต้องเรียนรู้วิธีใช้ให้เป็นเสียก่อน และอาจเสียหายแตกหักง่าย ต้องใช้ไฟฟ้าระหว่างใช้งาน และราคามักสูงกว่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอื่นๆ 

อย่างไรก็ตาม เครื่องวัดความดันโลหิตทั้ง 3 ชนิดนี้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบมาตรฐาน และคุณภาพของเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ค่าการวัดความดันโลหิตออกมาแม่นยำที่สุด

ระดับค่าความดันโลหิตที่ปกติ

ในผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปี ค่าความดันโลหิตที่อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากคุณมีระดับความดันโลหิตช่วงบนอยู่ที่ 130-139 กับความดันโลหิตช่วงล่างอยู่ที่ 85-89 มิลลิเมตรปรอท แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพราะถือว่าความดันโลหิตเริ่มสูง แต่ยังไม่อยู่ในระยะอันตราย

ส่วนตัวเลขที่เข้าข่ายกลุ่มผู้ที่มีความดันโลหิตสูงแล้ว ระดับความดันโลหิตช่วงบนจะอยู่ที่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป 

ส่วนระดับความดันโลหิตช่วงล่างจะอยู่ที่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

หากคุณมีระดับความดันโลหิตสูงเกินกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท ให้พบแพทย์โดยด่วน เพราะถือว่า อยู่ในระดับโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงแล้ว

เครื่องวัดความดันโลหิตที่ต้นแขนกับข้อมือ แบบไหนดีกว่ากัน?

โดยปกติ การวัดความดันโลหิตทั่วไปมักจะวัดที่บริเวณต้นแขน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นเครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือ หรือในรูปของนาฬิกาดิจิตอลสมัยใหม่ออกมา

ทำให้หลายคนสงสัยว่า แล้วระหว่างเครื่องวัดความดันโลหิตทั้ง 2 แบบนี้ แบบไหนดีกว่า หรือแม่นยำกว่ากัน

คำตอบคือ วัดที่ต้นแขนจะได้ค่าที่แม่นยำกว่า เนื่องจากข้อมือเป็นบริเวณที่ชีพจรมักเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย ซึ่งเป็นผลมาจากชั้นผิวบริเวณข้อมือที่บางกว่าต้นแขน 

อีกทั้งเส้นเลือดบริเวณข้อมือมีขนาดค่อนข้างเล็ก จึงทำให้การวัดความดันโลหิตบริเวณข้อมือมักจะได้ค่าที่สูง หรือต่ำกว่าค่าความดันโลหิตที่ต้นแขน

อย่างไรก็ตาม หากผู้วัดความดันโลหิตมีเนื้อต้นแขนมากจนไม่สามารถวัดความดันโลหิตตามปกติได้ หรือไม่สามารถหาชีพจรบริเวณดังกล่าวเจอ แพทย์ หรือพยาบาลอาจให้วัดความดันโลหิตที่ข้อมือแทนได้

หากคุณมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือ และต้องการทราบว่า เครื่องดังกล่าวให้ค่าความดันแม่นยำขนาดไหน ให้คุณนำเครื่องวัดความดันโลหิตที่ข้อมือไปพบแพทย์ด้วย 

เพื่อให้แพทย์วัดความดันจากต้นแขน และนำมาเทียบกับค่าความดันที่วัดได้จากข้อมือว่า ตรงกัน หรือแตกต่างกันมากขนาดไหน

ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต

  • ก่อนวัดความดันโลหิตให้นั่งพักบนเก้าอี้ในท่าสบายๆ หายใจเข้าออกปกติ ไม่ควรอยู่ในที่เสียงดัง หลังพิงพนักเก้าอี้ ไม่ต้องเกร็ง และไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
  • ไม่ควรพูดคุยกับใคร หรือขยับตัวขณะเตรียมวัดความดัน 
  • วางแขนซ้าย หรือขวาบนโต๊ะ ไม่ต้องกำมือ แล้วพยาบาลจะนำผ้าพันแขน (Cuff) มาพันที่ต้นแขนเหนือข้อพับประมาณ 2-3 เซนติเมตร
  • หลังจากนั้นการจะเริ่มวัดความดันซึ่งอาจเป็นการบีบลูกยาง หรือกดปุ่มที่เครื่องวัดความดันโลหิตให้ผ้าพันแขนออกแรงบีบต้นแขนเพื่อไปกดเส้นเลือดข้างใน ระหว่างที่ผ้าพันแขนเริ่มบีบต้นแขนให้คุณหายใจสบายๆ ไม่ต้องเกร็ง
  • กรณีที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล เมื่อผ้าพันแขนพบระดับความดันโลหิตในเส้นเลือดแล้ว ผ้าพันแขนจะค่อยๆ คลายตัวออก ส่วนกรณีที่ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบบีบลูกยาง ผู้วัดความดันโลหิตจะคลายผ้าพันแขนออกให้ จากนั้นเครื่องจะแสดงตัวเลขค่าความดันโลหิตออกมา

ข้อควรระวังขณะวัดความดันโลหิต

มีข้อควรระวังบางอย่างที่ควรรู้ขณะวัดความดันโลหิต เช่น

  • ไม่ควรอยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวลขณะวัดความดัน เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ คุณอาจหากิจกรรมคลายเครียด หรือผ่อนคลายจิตใจก่อนวัดความดัน
  • ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดแน่น หรือคับเกินไป รวมถึงไม่สูบบุหรี่ ไม่บริโภคแอลกอฮอล์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที
  • อย่าขยับแขนระหว่างวัดความดัน รวมถึงอย่าเคลื่อนไหวเครื่องวัดความดันโลหิต เพราะค่าตัวเลขที่ออกมาอาจเปลี่ยนแปลงไป
  • อย่าตื่นตระหนกหากตัวเลขความดันออกมาสูง หรือต่ำเกินเกณฑ์ แต่ให้ลองวัดความดันโลหิตซ้ำอีกครั้ง หรือปรึกษาพยาบาลที่เป็นผู้วัดความดันให้
  • หากไม่เคยตรวจสอบสภาพการใช้งาน หรือมาตรฐานเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้มานานเกิน 2 ปี ให้เปลี่ยนไปใช้เครื่องที่ยังคงมาตรฐานการใช้งานได้ดีอยู่ เพื่อให้ได้ตัวเลขที่แม่นยำ

ราคาเครื่องวัดความดันโลหิต

ปัจจุบันมีเครื่องวัดความดันโลหิตหลากหลายยี่ห้อและหลายขนาดให้คุณเลือกซื้อ โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 500-7,000 บาท ส่วนมากเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล มีขนาดเล็ก และพกพาง่าย

ควรศึกษายี่ห้อ คุณภาพ มาตรฐานของเครื่องวัดความโลหิตที่ต้องการซื้อเสียก่อน เพื่อให้ได้วัดค่าความดันโลหิตอย่างแม่นยำ และคุ้มค่าต่อราคาเครื่องที่เลือกซื้อ

การใช้เครื่องวัดความดันโลหิตมีหลักการใช้ง่ายๆ ที่จำเป็นต้องรู้ เพราะนอกจากการวัดความดันโลหิตก่อนพบแพทย์แล้ว บางคนก็ยังต้องใช้เครื่องวัดความดันโลหิตขณะอยู่บ้านเองด้วย

ดังนั้นคุณจึงควรรู้หลักการใช้งานเครื่องวัดความโลหิตที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและคนที่คุณรักได้เองตั้งแต่ที่บ้าน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหัวใจ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
HEART MATTERS, How to choose a blood pressure monitor and measure your blood pressure at home (https://www.bhf.org.uk/informationsupport/heart-matters-magazine/medical/tests/blood-pressure-measuring-at-home), 20 June 2020.
Familydoctor.org, Blood Pressure Monitoring at Home (https://familydoctor.org/blood-pressure-monitoring-at-home/), 20 June 2020.
Blood Pressure UK, How to use a blood pressure monitor (http://www.bloodpressureuk.org/BloodPressureandyou/Homemonitoring/Howtomeasure), 20 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ตรวจหัวใจ สำคัญอย่างไร มีวิธีการตรวจแบบใดบ้าง?
ตรวจหัวใจ สำคัญอย่างไร มีวิธีการตรวจแบบใดบ้าง?

ตรวจหัวใจ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คุณคิด รวมทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจหัวใจ

อ่านเพิ่ม
เช็กลิสต์ 20 อาการ คุณเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่
เช็กลิสต์ 20 อาการ คุณเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่

เช็กอาการโรคหัวใจและหลอดเลือดกันหน่อย ใน 20 อาการนี้คุณมีอาการไหนบ้าง

อ่านเพิ่ม