เลือดออกในผิวหนังคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เลือดออกในผิวหนังคืออะไร?

เวลาที่เส้นเลือดแตก จะทำให้มีเลือดบางส่วนนั้นออกจากเส้นเลือดและเข้าไปในร่างกายได้ เลือดเหล่านี้อาจจะมองเห็นได้ใต้ผิวหนัง เส้นเลือดนั้นสามารถแตกได้จากหลายสาเหตุแต่ก็มักจะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ

การที่เลือดออกในผิวหนังนั้นอาจจะมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ หรือปื้นใหญ่ๆ ก็ได้ ปานบางอย่างอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเลือดออกที่ผิวหนังก็ได้ โดยทั่วไปแล้วหากคุณกดผิวหนังจนกลายเป็นสีขาวแล้วปล่อย จุดแดงนั้นก็มักจะหายไปก่อนกลับมา ในขณะที่หากเป็นเลือดออกนั้น เวลากดจะไม่จางไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เลือดออกใต้ผิวหนังมักทำให้เกิดรอยช้ำได้ และมีได้หลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กๆ ไปจนถึงปื้นใหญ่เท่ามือ การที่เลือดออกที่ผิวหนังนั้นยังอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ที่รุนแรงได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการดังกล่าวโดยที่ไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บควรไปพบแพทย์

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกในผิวหนัง

สาเหตุที่มักพบว่าทำให้เลือดออกในผิวหนังประกอบด้วย

  • การได้รับบาดเจ็บ
  • ปฏิกิริยาการแพ้
  • การติดเชื้อในเลือด
  • ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
  • การคลอดลูก
  • รอยฟกช้ำ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • ผลข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัด
  • ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
  • ภาวะปกติของการมีอายุมากขึ้น

การติดเชื้อและโรคบางโรคอาจทำให้เกิดเลือดออกใต้ผิวหนังได้ เช่น

หากคุณมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที

  • ปวดบริเวณที่เลือดออก
  • มีเลือดออกมากในบริเวณที่เป็นแผลเปิด
  • มีตุ่มนูนเหนือบริเวณที่เลือดออกในผิวหนัง
  • ผิวหนังบริเวณนั้นมีตุ่มนูน
  • เลือดออกที่เหงือก จมูก ในปัสสาวะหรืออุจจาระ

การวินิจฉัย

แพทย์จะบอกสาเหตุของเลือดที่ออกในผิวหนังได้อย่างไร หากคุณมีเลือดออกที่ผิวหนังโดยที่ไม่รู้สาเหตุหรือเป็นเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์ทันทีแม้ว่าอาจจะไม่มีการเจ็บที่ตำแหน่งดังกล่าวก็ตาม เลือดออกที่ผิวหนังนั้นสามารถตรวจได้ง่ายๆ ผ่านการมอง แต่ในการหาสาเหตุนั้น

แพทย์จะต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเลือดที่ออกเพิ่มขึ้น โดยอาจจะถามคำถามต่อไปนี้

  • คุณเริ่มสังเกตเห็นเลือดออกตั้งแต่เมื่อไหร่
  • คุณมีอาการอื่นหรือไม่
  • อาการเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่
  • คุณเล่นกีฬาหรือใช้งานเครื่องจักรหนักๆ หรือไม่
  • คุณได้รับบาดเจ็บบริเวณดังกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้หรือไม่
  • คุณมีอาการเจ็บบริเวณที่เลือดออกหรือไม่
  • คุณคันที่บริเวณดังกล่าวหรือไม่
  • คุณมีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติทางการแข็งตัวของเลือดหรือไม่

แพทย์ยังอาจจะถามประวัติโรคประจำตัวอื่นๆ หรือโรคที่คุณกำลังรักษาอยู่ อย่าลืมแจ้งยาที่ใช้รวมถึงสมุนไพรที่กำลังรับประทาน เพราะยาบางชนิดเช่นแอสไพริน ยาในกลุ่มสเตียรอยด์หรือยาละลายลิ่มเลือดนั้นสามารถทำให้เลือดออกในผิวหนังได้ การตอบคำถามเหล่านี้ให้ละเอียดและแม่นยำมากที่สุดจะช่วยให้แพทย์ได้ข้อมูลว่าเลือดที่ออกนั้นเป็นผลข้างเคียงจากยาที่คุณรับประทานหรือเกิดจากโรคอื่นๆ

แพทย์อาจจะสั่งตรวจเลือดหรือปัสสาวะเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือโรคประจำตัวใดๆ หรือไม่ หากจำเป็น อาจจะต้องมีการตรวจทางรังสีวินิจฉัยหรือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงที่บริเวณดังกล่าวเพื่อดูว่ามีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อหรือกระดูกหักหรือไม่

การรักษา

การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุและมีหลายวิธี แพทย์จะเป็นผู้เลือกการวินิจฉัยที่เหมาะกับคุณ

หากคุณมีการติดเชื้อหรือเป็นโรคอื่นๆ อาจจะต้องมีการใช้ยาที่เหมาะสม แต่ถ้าหากเลือดที่ออกนั้นเกิดจากการใช้ยา แพทย์อาจจะแนะนำให้เปลี่ยนยาหรือหยุดยาที่กำลังใช้อยู่ ควรไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีเลือดออกอีกครั้งหลังการรักษา

การรักษาที่บ้าน

หากเลือดที่ออกนั้นเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ คุณสามารถใช้วิธีการรักษาที่บ้านได้

  • ยกแขน/ขาข้างที่มีอาการให้สูงถ้าเป็นไปได้
  • ประคบเย็นที่บริเวณดังกล่าวครั้งละ 10 นาที
  • ใช้ยาพาราเซตามอลหรือ ibuprofen เพื่อลดอาการปวด
  • หากยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์

ผลลัพธ์ของการรักษา

เลือดที่ออกจากการได้รับบาดเจ็บมักจะสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา ควรให้แพทย์ประเมินภาวะเลือดออกที่ไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศ.นพ.วธวรรธน์ ลิ้มทองกุล, อาการฟกช้ำและปวดเคล็ด (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94/), 13 มิถุนายน 2562
Vincent J. Tavella, MPH, 10 Common Causes of Red Spots on the Skin (https://www.healthline.com/health/skin/red-spots-on-skin), February 19, 2018
medicinenet, Red Spots on the Skin: Symptoms & Signs (https://www.medicinenet.com/red_spots_on_the_skin/symptoms.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า

คุณมีเล็บเท้าที่หนาและเป็นสีเหลืองหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง

ผิวหนังที่บางนั้นอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายแม้แต่เวลาที่คุณพยายามจะรักษามัน

อ่านเพิ่ม