วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะมาจากไหน รักษาอย่างไรดี

การเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะรักษาได้หรือไม่ เกิดจากอะไร อ่านข้อมูลได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ส.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะมาจากไหน รักษาอย่างไรดี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะคือ ก้อนนิ่วที่สะสมจากไต หรือท่อไต แล้วไหลเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ หรือเป็นน้ำปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนตกตะกอนกลายเป็นของแข็ง
  • เมื่อเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง ปัสสาวะบ่อย ปวดท้องน้อย หรือเอวข้างที่มีนิ่ว ปัสสาวะมีเลือดปน
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วจะเกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายปัสสาวะเกือบทั้งหมด เช่น นิ่วในไต โรคต่อมลูกหมากโต ภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง สูบบุหรี่มาก
  • ส่วนมากการรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะจะเป็นการผ่าตัดนำนิ่วออก แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก แพทย์อาจให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ก้อนนิ่วออกมาจากร่างกายพร้อมน้ำปัสสาวะแทน 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

หลายคนคงได้ยินคำว่า "นิ่ว" ในอวัยวะภายในมาก่อน แต่อาจยังไม่ทราบที่มาที่ไปว่า นิ่วเกิดจากอะไร แล้วมีความร้ายแรงต่อร่างกายมากขนาดไหน 

วันนี้เราจะมาเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะกันว่า มีสาเหตุทำให้เกิดมาจากอะไร วิธีรักษา และป้องกันได้อย่างไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของนิ่ว

นิ่ว (Stone) คือ ก้อนของแข็งซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของหินปูน หรือเกลือแร่ในร่างกายซึ่งมีสาเหตุทำให้เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • อายุที่มากขึ้น โดยนิ่วในร่างกายมักพบในผู้ป่วยชายมากกว่าผู้ป่วยหญิง โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ
  • เป็นอัมพาต ซึ่งเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และทำให้ไม่สามารถปัสสาวะออกจากร่างกายได้
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ความไม่สมดุลของสารตกผลึกกับสารคอลลอยด์ในน้ำปัสสาวะ
  • ความผิดปกติของการเผาผลาญ และการขับเกลือแร่ในร่างกาย
  • การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ
  • การรับประทานอาหารที่มีสารก่อนิ่วอย่าง “สารออกซาเลท (Oxalate)” เช่น เนื้อสัตว์ ผักโขม มะเขือเทศ มันฝรั่ง

ความหมายของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder stone) คือ ก้อนนิ่วที่สะสมอยู่ในไต หรือท่อไตแล้วหลุดเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ และยังเกิดขึ้นได้จากการขับปัสสาวะไม่หมด หรือการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ จนทำให้น้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะมากเกินไป 

เมื่อเวลาผ่านไป น้ำปัสสาวะก็จะตกตะกอนเป็นของแข็ง และกลายเป็นก้อนนิ่วในที่สุด

อาการของผู้ป่วยเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะจะมีดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูง
  • รู้สึกไม่สบายตัว หรือเจ็บอวัยวะเพศหลังจากปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
  • มีปัสสาวะกะปริบกะปรอย
  • ปวดเจ็บท้องน้อย หรือเอวข้างที่มีนิ่ว
  • ปัสสาวะมีเลือดปน

สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

นอกจากสาเหตุทำให้เกิดนิ่วที่กล่าวไปข้างต้น สาเหตุโดยเจาะจงที่ทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้แก่

  • ปัญหากระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele) จนส่งผลกระทบต่อการไหลออกของน้ำปัสสาวะ และทำให้ในกระเพาะปัสสาวะมีของเสียคั่งค้างอยู่ในปริมาณมาก

  • นิ่วในไต (Kidney Stones) ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า ก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะสามารถเกิดได้จากนิ่วที่อยู่ในไตก่อนหน้านี้ แล้วได้หลุดเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะภายหลัง

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Bladder inflammation) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วแทบทุกชนิด ซึ่งการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะนั้นยังสามารถเกิดได้จากการรักษาทางรังสี (Radiation therapy) อีกด้วย เพราะจะทำให้กระเพาะปัสสาวะขยายใหญ่ขึ้น จนปัสสาวะตกค้างอยู่ได้ง่าย

  • โรคต่อมลูกหมากโต (Prostate enlargement) ซึ่งมีส่วนกดทับทางเดินปัสสาวะ และทำให้การไหลของน้ำปัสสาวะไม่คล่องอย่างที่ควรจะเป็น จนทำให้ปัสสาวะตกค้างกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ และเกิดเป็นนิ่วในภายหลัง

  • ระบบประสาทผิดปกติจนส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะ (Neurogenic Bladder: NB) ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือมีอาการหลอดเลือดสมอง จนทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะเสียหาย และทำให้ไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้หมด

  • การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง ขาดการบำรุงร่างกายด้วยวิตามินเอ และวิตามินบี มีส่วนทำให้เกิดก้อนนิ่วในร่างกายได้ ไม่เพียงแค่ในกระเพาะปัสสาวะเท่านั้น

การรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

หลังจากวินิจฉัยพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะแล้ว หากพบว่า ก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับก้อนนิ่วออกมาทางปัสสาวะเอง แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีรักษาอื่น เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การผ่าตัด ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดมากกว่า 2 เซนติเมตร เพื่อนำก้อนนิ่วออกจากกระเพาะปัสสาวะให้หมด โดยช่องทางที่จะนำก้อนนิ่วออกมีหลายทาง เช่น กรวยไต บริเวณหน้าท้องเหนือหัวหน่าว

  • การขบนิ่ว (Cystolitholapaxy) เป็นการทำลายก้อนนิ่วด้วยเลเซอร์ คลื่นเสียงความถี่สูง หรือการส่องกล้องเพื่อสลายก้อนนิ่วให้มีขนาดเล็กลง แล้วล้างออกจากกระเพาะปัสสาวะ

การสลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะอาจต้องทำหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาด ความแข็ง และจำนวนก้อนนิ่ว ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน ร่างกายฟื้นฟูโดยเร็ว เช่น

  • งดยกของหนักประมาณ 1 สัปดาห์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้มากๆ ประมาณ 3-4 ลิตรต่อวัน เพื่อขับเศษนิ่วออกให้หมด
  • รับประทานยาแก้ปวดเมื่อปวดแผล

แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ในกรณีเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะร่วมกับมีอาการอักเสบ หรืออาจเป็นยารักษากรดด่างในปัสสาวะเพื่อรักษาอาการอื่นๆ เพิ่มเติม

หากตรวจพบว่า มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะก็ควรรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะนิ่วในกระเพาะปัสสาวะสามารถลุกลามทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรังได้ 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรังเป็นโรคที่ยากต่อการรักษาให้หายขาด ทั้งยังทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือเจ็บอวัยวะเพศขณะปัสสาวะด้วย

นอกจากนี้นิ่วยังมีส่วนทำให้การทำงานของไตหนักขึ้นจนไตทั้ง 2 ข้างอาจเสื่อมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้ขับของเสียลำบาก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

หากมีโอกาส ผู้ป่วยนิ่วในกระเพาะปัสสาวะควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตพื้นฐานควบคู่กันไป ก็จะเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันโรคไตไปด้วยในตัว หรือช่วยให้รู้เท่าทันโรคมากยิ่งขึ้น   

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีป้องกันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะสามารถป้องกันได้ดังต่อไปนี้

  • ไม่กลั้นปัสสาวะ เมื่อปวดปัสสาวะให้รีบไปเข้าห้องน้ำ
  • เมื่อตรวจพบนิ่ว ให้รีบรักษาก่อนที่ปริมาณนิ่วจะเพิ่มมากขึ้นและก้อนนิ่วจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
  • ดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อไม่ให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นเกินไป และอยู่ในปริมาณเจือจางเหมาะสมกับร่างกาย
  • รับประทานอาหารให้เหมาะสม หากจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่เสี่ยงทำให้เกิดนิ่ว ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น หรือควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานเลยจะดีที่สุด
  • หากสังเกตว่า ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะมีเลือดปน ปวดท้องหลังขับปัสสาวะ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัยทันที

การเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณอวัยวะอื่นๆ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย และบางปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วก็ยากต่อการควบคุมไม่ให้เกิดได้

ดังนั้นนอกจากคำแนะนำที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว คุณควรไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอประกอบกับการมีพฤติกรรมดูแลตนเองอย่างเหมาะสมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในร่างกายให้น้อยที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Minesh Khatri, What Are Bladder Stones? (https://www.webmd.com/kidney-stones/what-are-bladder-stones#2), 26 August 2020.
Judith Marcin, All about bladder stones (https://www.medicalnewstoday.com/articles/184998), 26 August 2020.
ผศ.นพ.เอกรินทร์ โชติกวาณิชย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์, มารู้จัก...นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1334), 28 กันยายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม