มะเร็งชนิดนี้มักตรวจพบหลังจากการปัสสาวะมีเลือดปน
ในช่วงแรก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะอาจไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ เลย หรืออาจเป็นอาการเล็กน้อยกินไปก่อน
อย่ารอสุขภาพดี! คุณเริ่มได้วันนี้ แค่คลิก
เลือกดูสินค้าและบริการสุขภาพดีๆที่เราคัดมาให้ที่ Health Shop

อาการที่อาจเกิดได้ประกอบด้วย
- ปัสสาวะมีเลือดปน (ไม่ว่าจะทั้งจากที่มองเห็นในกล้องหรือมองเห็นด้วยตาเปล่า)
- ปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะแสบขัด
- รู้สึกปวดไปทางด้านหลังของอุ้งเชิงกราน
ในรายที่เป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะลุกลาม อาจทำให้เกิด
- ไม่สามารถปัสสาวะได้
- ปวดหลัง โดยเฉพาะเป็นข้างเดียว
- ปวดเชิงกรานหรือปวดก้น
- ซีด
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
- ขาและเท้าบวม
- มีอาการปวดกระดูกหรือมีกระดูกหัก
การวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
คุณอาจสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเมื่อคุณเริ่มปัสสาวะมีเลือดปน และหากสงสัย แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดว่าคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะหรือไม่ คุณจะถูกตรวจร่างกายอย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึงการตรวจภายในในผู้หญิงและการตรวจทางทวารหนักในผู้ชาย การตรวจนี้อาจทำให้พบก้อนในอุ้งเชิงกรานซึ่งอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคนี้ได้
การทดสอบที่ใช้เพื่อวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะประกอบด้วย
การตรวจปัสสาวะ : การตรวจตัวอย่างปัสสาวะในห้องปฏิบัติการอาจทำให้พบเลือดที่ปนออกมา พบการติดเชื้อ หรือความผิดปกติอื่นๆ ได้
การเพาะเชื้อจากปัสสาวะ : ตัวอย่างของปัสสาวะจะถูกนำไปใส่ถาดพิเศษในห้องทดลองเพื่อดูว่ามีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราเจริญขึ้นมาหรือไม่
อย่ารอสุขภาพดี! คุณเริ่มได้วันนี้ แค่คลิก
เลือกดูสินค้าและบริการสุขภาพดีๆที่เราคัดมาให้ที่ Health Shop

การตรวจเซลล์ในปัสสาวะ และ/หรือการตรวจสารเกี่ยวกับมะเร็ง: ตัวอย่างปัสสาวะสามารถนำไปตรวจเพื่อดูว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่ หรือว่าตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่เซลล์มะเร็งมีการสร้างขึ้นมาหรือไม่
การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ : เป็นการใช้กล้องผ่านเข้าไปทางรูเปิดของปัสสาวะเพื่อเข้าไปดูภายในกระเพาะปัสสาวะหลังจากนั้นจะทำการตรวจภายในกระเพาะปัสสาวะ และสามารถใช้เครื่องมือเล็กๆ เข้าไปตัดชิ้นเนื้อของกระเพาะปัสสาวะมาตรวจได้ และสามารถเก็บสารน้ำที่อยู่ภายในเพื่อทำการตรวจหาเซลล์มะเร็งต่อได้เช่นกัน
การตรวจทางภาพวินิจฉัย : การทำเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์,เอกซเรย์คลื่นไฟฟ้าแม่เหล็ก ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการตรวจทางภาพวินิจฉัยอื่นๆ สามารถทำให้เห็นภาพของกระเพาะปัสสาวะได้ โดยคุณอาจจะต้องดื่มน้ำที่เป็นสารทึบแสงซึ่งจะทำให้เห็นกระเพาะปัสสาวะง่ายขึ้นในแต่ละการตรวจ การตรวจทางภาพนี้ยังสามารถใช้เพื่อให้เห็นตำแหน่งที่จะทำการแทงเข็มเข้าไปเพื่อเก็บเซลล์ตัวอย่างจากเนื้องอก
ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูว่าเป็นมะเร็งระยะที่เท่าไหร่ การตรวจนี้จะรวมถึงการประเมินการโตของก้อนและตรวจสอบว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนอื่นแล้วหรือยัง การรู้ระยะของโรคเป็นเรื่องที่สำคัญในการกำหนดวิธ๊การรักษาที่ดีที่สุด
การตรวจที่สามารถใช้เพื่อแบ่งระยะของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้เช่น
- เอกซเรย์ปอด
- การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- การทำ Bone scan
ระยะของโรคมะเร็งสามารถแบ่งได้ตั้งแต่ 0 จนถึง IV และมีระดับย่อยๆ เพื่ออธิบายก้อนเนื้องอกและตำแหน่งที่มีการแพร่กระจาย ระยะที่ลุกลามมากที่สุดคือระยะที่ IV
ต่อไปนี้เป็นการอธิบายถึงแต่ละระยะโดยคร่าวๆ
ระยะที่ 0 : มะเร็งเป็นชนิดที่ลุกลามและมีการโตอยู่เฉพาะในเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะชั้นในเท่านั้น
ระยะที่ 1 : มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ใต้เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ แต่ยังไม่เลยกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ
ระยะที่ 2 : มะเร็งมีการแพร่กระจายถึงชั้นกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ แต่ยังไม่เกินเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่รอบกระเพาะปัสสาวะ
ระยะที่ 3 : มะเร็งมีการแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อไขมันที่อยูรอบกระเพาะปัสสาวะ หรือแพร่กระจายไปที่ต่อมลูกหมาก ช่องคลอด หรือมดลูก แต่ยังไม่ไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่นอกอุ้งเชิงกราน
ระยะที่ 4 : มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอุ้งเชิงกรานหรือผนังหน้าท้อง, ต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไปเช่นกระดูก ปอด หรือตับ