การตัดชิ้นเนื้อและการตรวจชิ้นเนื้อคืออะไร?

การตัดชิ้นเนื้อเป็นวิธีการที่ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ โดยเฉพาะมะเร็ง
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
การตัดชิ้นเนื้อและการตรวจชิ้นเนื้อคืออะไร?


แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตัดชิ้นเนื้อเป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ทำการตัดเนื้อเยื่อหรือตัวอย่างเซลล์มาจากร่างกายเพื่อทำการตรวจทางกล้องจุลทรรศน์หรือทางเคมี การตัดชิ้นเนื้อนี้สามารถทำได้กับทุกส่วนของร่างกาย และเป็นวิธีการทดสอบเพื่อให้ได้การวินิจฉัยโรควิธีเดียวในการระบุเนื้อเยื่อและเซลล์ที่เป็นมะเร็ง

ทำไมถึงต้องทำการตัดชิ้นเนื้อ

การตัดชินเนื้อมักทำเพื่อระบุเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็ง แต่ก็สามารถทำเพื่อตรวจภาวะอื่นๆ ได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น

  • การตัดชิ้นเนื้อตับสามารถใช้วินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ C, ตับแข็ง และการติดเชื้อ
  • การตัดชิ้นเนื้อจากไตสามารถตรวจหาภาวะของไตที่ทำให้เกิดไตวายหรือไตอักเสบ
  • การตัดชิ้นเนื้อจากเส้นประสาท สามารถนำไปตรวจการทำลายเส้นประสาทหรือการอักเสบที่เส้นประสาท
  • การตัดกล้ามเนื้อสามารถวินิจฉัยการติดเชื้อและความผิดปกติในกล้ามเนื้อ และโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและหลอดเลือด
  • การตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนัง สามารถตรวจหาการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังได้ เช่นไฝ
  • การตัดชิ้นเนื้อจากทางเดินอาหาร อาจตรวจพบการอักเสบของลำไส้ เช่น Crohn’s disease และ ulcerative colitis

ประเภทของการทำการตัดชิ้นเนื้อ

การทำการตัดชิ้นเนื้อสามารถแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ คือการใช้เข็ม การทำแบบเปิด แบบปิด และผิวหนัง การตัดชิ้นเนื้อโดยใช้เข็ม เป็นการนำเนื้อเยื่อหรือเซลล์ออกมาผ่านเข็มซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นกับประเภทและปริมาณของเซลล์ที่ต้องการ

การทำ Fine-needle aspiration biopsies เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กมากต่อเข้ากับไซริงก์ ซึ่งจะทำให้สามารถนำสารน้ำและเนื้อเยื่อขนาดเล็กออกมาได้ และบางครั้งอาจต้องทำหลายครั้งเพื่อให้ได้ตัวอย่างที่มากพอสำหรับการนำไปตรวจ

การทำ Core needle biopsies เป็นการใช้เข็มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และตรงกลางกลวง ทำให้สามารถนำเนื้อเยื่อออกมาทั้งแถวได้ การทำการตัดชิ้นเนื้อเหล่านี้มักทำภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่ และบางครั้งอาจใช้ร่วมกับเครื่องมือดูดสูญญากาศเพื่อทำให้ได้เนื้อเยื่อที่มากขึ้น หากต้องการเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไป จะต้องใช้เทคนิคทางภาพวินิจฉัยเข้ามาร่วมด้วยเช่นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการทำเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตัดชิ้นเนื้อแบบเปิดเป็นการตัดชิ้นเนื้อโดยใช้การผ่าตัด หรือการลงแผลบนผิวหนังและร่างกาย มักทำภายใต้การดมยาสลบ การตัดชิ้นเนื้อแบบปิดหรือการตัดชิ้นเนื้อโดยการส่องกล้องเป็นการตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างผ่านการส่องกล้องซึ่งมีขนาดผอม ยืดหยุ่น และมีกล้องและไฟอยู่ที่ปลายท่อ โดยเริ่มจากการใส่กล้องเข้าไปทางปาก ทวารหนัก หรือท่อปัสสาวะ หรือผ่านแผลขนาดเล็ก (เล็กกว่าการตัดชิ้นเนื้อแบบเปิด) ก่อนที่จะใช้เครื่องมือตัดชนิดพิเศษผ่านทางกล้องเพื่อเข้าไปเก็บตัวอย่างเนื้อยเอ การตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนัง เป็นการตัดเซลล์ออกจากบริเวณผิวของร่างกาย เช่นการขูดผิวหนัง การตัดผิวหนังขนาดเล็กหรือใหญ่ หรือใช้เครื่องมือในการทำให้เกิดรูผ่านผิวหนัง

การตรวจชิ้นเนื้อนั้นเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการนำเนื้อเยื่อร่างกายชิ้นเล็ก ๆ มาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่นำมาใช้สามารถเป็นชิ้นเนื้อจากส่วนใดของร่างกายก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง อวัยวะภายใน หรือโครงสร้างอื่น ๆ

การตรวจชิ้นเนื้อนั้นมักจะหมายถึงการนำตัวอย่างชิ้นเนื้อมาตรวจสอบ หรือการนำตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมาก็ได้

ต้องตรวจชิ้นเนื้อเมื่อไร?

การตรวจชิ้นเนื้อจะใช้ตรวจสอบหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายผู้ป่วย ซึ่งรวมไปถึง:

  • ความผิดปกติทางการทำงาน: อย่างเช่นปัญหาของตับหรือไต
  • ความผิดปกติทางโครงสร้าง: อย่างเช่นการบวมขึ้นของอวัยวะ

เมื่อมีการตรวจชิ้นเนื้อที่นำมาด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะทำให้แพทย์สามารถระบุถึงเซลล์ที่ผิดปกติได้ ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยได้ในที่สุด

หากมีการวินิจฉัยโรคไปแล้ว การตรวจชิ้นเนื้อจะช่วยประเมินความรุนแรงของภาวะ (อย่างเช่นภาวะความรุนแรงของการอักเสบ) และระยะของโรคแทน (เช่นการลุกลามของเซลล์มะเร็ง เป็นต้น)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อแพทย์อย่างมาก เนื่องจากสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมไปตามกรณี และเพื่อประเมินการตอบสนองต่อการรักษาที่ใช้ อีกทั้งยังใช้ในการพยากรณ์โรคได้อีกเช่นกัน

ตัวอย่างของภาวะที่ได้รับผลประโยชน์จากการตรวจสอบชื้อเนื้อมีดังนี้:

การตรวจทั่วไปอาจไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าก้อนเนื้อใต้ผิวหนังหรือภายในร่างกายของคุณเป็นเซลล์อันตรายเพียงใดได้ ทำให้จึงมีการตรวจสอบชื้อเนื้อเข้ามาเพื่อความแม่นยำในการตรวจโรค

ประเภทของการตรวจสอบชิ้นเนื้อ

การตรวจสอบชิ้นเนื้อเพื่อชี้ชัดภาวะของร่างกายมีอยู่หลายประเภทดังนี้

  1. การเจาะผิว: จะมีการใช้เครื่องมือพิเศษในการเจาะรูที่ผิวหนังเพื่อนำตัวอย่างหนังออกมา มักใช้กับการตรวจสอบสภาวะบนผิวหนัง
  2. การตัดชิ้นเนื้อออกด้วยเข็ม: จะมีการใช้เข็มแกนกลวงแบบพิเศษประกอบกับวิธีการเอกซเรย์ ซีทีสแกน หรือ MRI เพื่อการนำเนื้อเยื่อออกจากอวัยวะใต้ผิวหนัง
  3. การตัดชิ้นเนื้อด้วยการส่องกล้อง: จะมีการใช้กล้องสอดเข้าช่องปากในการนำเนื้อเยื่อออกมา มักใช้กับการนำเนื้อเยื่อจากระบบย่อยอาหารอาหารมาตรวจ
  4. การตัดรอยโรค: เป็นการผ่าตัดโดยการตัดเนื้อเยื่อที่เกิดโรคออกเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่
  5. การผ่าวินิจฉัยระหว่างการผ่าตัด: เป็นวิธีวินิจฉัยระหว่างการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งต้องให้ผู้ป่วยยินยอมรับการผ่าวินิจฉัยประเภทนี้ก่อน โดยแพทย์จะทำการทดสอบวินิจฉัยชิ้นเนื้อที่นำออกมาทันทีเพื่อเป็นแนวทางการผ่าตัดหรือประกอบการตัดสินใจเลือกการรักษาต่อ ๆ ไป

กรรมวิธีการผ่าวินิจฉัยที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับตัวอย่างของเนื้อเยื่อที่แพทย์ต้องการ ซึ่งก่อนที่จะถึงขั้นตอนนี้ ผู้ป่วยมักต้องผ่านการสแกนร่างกายเพื่อเป็นข้อมูลก่อนการตัดสินใจจริง

หลังจากที่เนื้อเยื่อถูกนำออกมาแล้ว แพทย์จะตรวจสอบชิ้นเนื้อนั้นด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาต้นตอของปัญหา ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะที่เป็นได้อย่างตรงไปตรงมา

อีกทั้งประเภทของสารที่ใช้ทดสอบเนื้อเยื่อดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับว่าแพทย์กำลังพิสูจน์เนื้อเยื่อนั้นกับภาวะทางการแพทย์ใด

การพักฟื้นหลังการตรวจชิ้นเนื้อ

การตรวจชิ้นเนื้อส่วนมากมักใช้แค่ยาชาทั่วๆ ไป ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องค้างที่โรงพยาบาล แต่หากมีการใช้ยาสลบ แพทย์มักจะให้ผู้ป่วยนอนค้างเพื่อความปลอดภัย

การตรวจชิ้นเนื้อที่ใช้ยาชาส่วนมากมักไม่สร้างความเจ็บปวดระหว่างดำเนินการ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งไหนที่โดนเจาะเนื้อเยื่อไป แต่หลังการผ่าตรวจนั้น ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดได้ ซึ่งมักจะบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดจากแพทย์หรือศัลยแพทย์เอง

หลังการตรวจชิ้นเนื้อบางประเภทอาจต้องให้ผู้ป่วยพักฟื้นที่โรงพยาบาลไม่กี่ชั่วโมงเพื่อทำการเย็บแผลก่อนส่งตัวกลับ

การรับผลตรวจชิ้นเนื้อ

ผู้ป่วยจะได้รับผลการตรวจชิ้นเนื้อเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับความฉุกเฉินของภาวะที่เป็นกับนโยบายของทางโรงพยาบาลนั้น ๆ

ผลตรวจมักจะได้ภายในไม่กี่วัน ซึ่งก็ยากที่จะคาดเดาเนื่องจากอาจมีการทดสอบเนื้อเยื่อเพิ่มเติมมากกว่าหนึ่งครั้งก็เป็นได้ บางกรณีอาจต้องส่งแผ่นสไลด์เนื้อเยื่อไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจอีกทีก็เป็นได้

ในบางกรณีที่มีการเก็บชิ้นเนื้อระหว่างการผ่าตัดใหญ่  จะมีการใช้กรรมวิธีที่เรียกว่า “แช่เข็ง” เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นกับศัลยแพทย์ในการดำเนินการรักษาในขณะนั้นไปก่อน

แพทย์หรือพยาบาลเจ้าของไข้จะเป็นผู้ชี้แจงผลการตรวจให้กับผู้ป่วย ซึ่งบางกรณี การผ่าวินิจฉัยก็ไม่อาจสรุปผลของภาวะได้จริง ๆ จึงอาจต้องมีการผ่าชิ้นเนื้ออีกครั้ง หรือมีการทดสอบอื่นๆ แทน เพื่อให้ได้ผลที่สามารถสรุปภาวะในร่างกายของผู้ป่วยได้  

เกิดอะไรขึ้นระหว่างการตรวจชิ้นเนื้อ?

มีวิธีการที่ใช้นำเนื้อเยื่อออกมาหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของเนื้อเยื่อ

มักมีการใช้เทคนิคอย่างการเอกซเรย์ ซีทีสแกน หรือ MRI เพื่อระบุตำแหน่งจุดที่ต้องทำการผ่าชิ้นเนื้อก่อน

1. การตรวจชิ้นเนื้อด้วยการเจาะผิว

เป็นกรรมวิธีที่สามารถใช้เพื่อตรวจสอบภาวะของผิวหนังได้หลายประเภท

ระหว่างการเจาะผิวหนัง จะมีการใช้เครื่องมือเจาะชนิดพิเศษที่สามารถสร้างรูขนาดเล็กบนผิวหนังและดึงเนื้อเยื่อผิวหนังชั้นบนออก ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับยาชาก่อนเพื่อให้บริเวณที่ต้องถูกเจาะหมดความรู้สึก

หรืออีกวิธีคือการใช้มีดผ่าตัดในการผ่าผิวหนังชั้นบนออก โดยจะมีการเย็บปิดแผลหลังจากเสร็จสิ้นแล้ว

2. การตัดชิ้นเนื้อด้วยเข็ม

การวินิจฉัยด้วยเข็มขนาดเล็ก (FNA) มักใช้เพื่อนำตัวอย่างเซลล์จากอวัยวะหรือก้อนใต้ผิวหนังออกมาตรวจ หากแพทย์ต้องการชิ้นตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่กว่านั้น จะมีการใช้เข็มเจาะตัดเนื้อเยื่อ (CNB) แทน

สำหรับการใช้เข็มตัดเนื้อเยื่อ จะมีการใช้ยาชากับผู้ป่วยเพื่อให้สอดเข็มแกนกลวงผ่านผิวหนังลงไปยังจุดที่ต้องการได้โดยไม่สร้างความเจ็บปวดแก่คนไข้ โดยมักมีการใช้เอกซเรย์ ซีที หรือ MRI ร่วมเพื่อนำเข็มไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง

เมื่อเข็มอยู่ที่จุดที่ต้องการแล้ว เข็มจะทำการตัดเนื้อเยื่อชิ้นเล็ก ๆ ออกมา

  • การตรวจก้อนที่เต้านมด้วยเข็ม หลาย ๆ กรณีก็มีการใช้การผ่าวินิจฉัยด้วยเข็มเพื่อตรวจสอบก้อนเนื้อที่อยู่ในเต้านม โดยจะมีการเสียบเข็มเข้าไปถึงชั้นก้อนปริศนานั้นและทำการนำตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมาตรวจ หากเป็นกรณีที่ต้องสงสัยว่าก้อนเนื้อดังกล่าวเป็นซีสต์ (เนื้องอกไม่อันตรายที่บวมออกเนื่องจากการสะสมกันของของเหลว) จะมีการใช้ กระบวนการ CNB เพื่อดูดของเหลวภายในออกมาตรวจ (การตรวจทางเซลล์วิทยา)
  • การตรวจอวัยวะอื่นด้วยเข็ม สำหรับอวัยวะอย่างตับหรือไตนั้นจะมีการใช้เข็มกลวงที่หนากว่า ซึ่งมักดำเนินการร่วมกับเทคนิคฉายภาพอื่น ๆ (อัลตราซาวด์หรือซีทีสแกน) ซึ่งผู้ป่วยต้องกลั้นหายใจเป็นเวลาไม่กี่วินาทีในขณะที่เข็มถูกเสียบผ่านช่องท้อง
  • การตรวจไขกระดูกด้วยเข็ม สำหรับกรณีการตรวจตัวอย่างจากไขกระดูก (เนื้อเยื่อนุ่ม ๆ คล้ายเยลลี่ที่อยู่แกนกลางของกระดูกขนาดใหญ่) จะมีการใช้เข็มกลวงหนาแทน การวินิจฉัยไขกระดูกมักดำเนินการเพื่อหาเหตุผลว่า:

                              - ทำไมเซลล์เม็ดเลือดแดงของคุณมีปริมาณน้อยเกินหรือมากเกินไป

                              - ทำไมเซลล์เม็ดเลือดขาวของคุณมีปริมาณน้อยเกินหรือมากเกินไป

                              - ทำไมเซลล์เกล็ดเลือดของคุณมีปริมาณน้อยเกินหรือมากเกินไป

ความผิดปกติของร่างกายหลายอย่างอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติของเลือดสามประเภทดังกล่าว ซึ่งการวินิจฉัยตัวอย่างจากไขกระดูกจะช่วยตรวจสอบผลการตอบสนองต่อการรักษาที่ผ่านมา อาทิเช่นกรณีโรคลูคีเมีย เป็นต้น ตัวอย่างไขกระดูกอาจถูกนำมาเพื่อหาระดับการลุกลามของเซลล์มะเร็งบางประเภทก็ได้ การผ่าตัววินิจฉัยไขกระดูกมักดำเนินการที่กระดูกเชิงกรานส่วนบนที่อยู่ใต้เอวลงไป โดยจะมีการใช้ยาชากับบริเวณดังกล่าว และอาจมีการให้ยาระงับประสาทกับผู้ป่วยหากเกิดความเครียดหรือไม่สบายตัว

3. การตัดชิ้นเนื้อด้วยการส่องกล้อง

จะมีการใช้กล้องส่องขนาดเล็กเพื่อส่องภายในร่างกาย โดยตัวกล้องจะเชื่อมกับท่อขนาดบางที่ยืดหยุ่นและมีไฟฉายติดอยู่ โดยด้านหนึ่งของกล้องก็จะมีอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้ตัดอยู่ด้วย

กล้องส่องสามารถถูกสอดผ่านลำคอ (ตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน) หรือจากทวารก็ได้ (ตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ต้องการตรวจสอบ

สำหรับยาระงับประสาทที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ทำการตรวจสอบกับช่องทางที่สอดกล้องลงไป

4. การตัดรอยโรค

การผ่าตัดรอยโรคเป็นการตัดเนื้อเยื่อออกเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างเช่นก้อนเนื้อทั้งก้อน เพื่อนำไปตรวจสอบ โดยการใช้ยาระงับประสาทก่อนดำเนินการขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่จะวินิจฉัย

5. การผ่าวินิจฉัยระหว่างการผ่าตัด

บางครั้งการผ่าวินิจฉัยก็เกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัดจริง ซึ่งอาจจะดำเนินการด้วยเหตุผลเดียวกันหรือไม่ก็ได้

ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่นำออกมาระหว่างการผ่าตัดจะถูกตรวจสอบทันที (แช่แข็ง) เพื่อให้ได้ข้อมูลให้แก่ศัลยแพทย์ที่ทำหน้าที่อยู่ ณ ขณะนั้น ซึ่งช่วยประกอบการตัดสินใจรักษาไปด้วย

ก้อนเนื้อที่พบระหว่างการผ่าตัดจะถูกนำออกมาทั้งหมดหากการผ่าตัดนั้นมีการใช้ยาสลบกับคนไข้ไว้ก่อนแล้ว 

การทดสอบตัวอย่างเนื้อเยื่อ

หลังจากนำเนื้อเยื่อและถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการณ์แล้ว จะมีการตรวจสอบเซลล์นั้น ๆ ด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์โดยนักมิญชวิทยา (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างของเนื้อเยื่อ) เพื่อชี้ชัดความผิดปกติที่มี ยกตัวอย่างเช่นเซลล์มะเร็งจะมีหน้าตาและการแสดงออกที่ต่างจากเซลล์ปกติ

อีกทั้งอาจมีการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อด้วยการทดสอบทางเคมีหรือพันธุกรรมเพิ่มเติม อย่างการมองหาโรคเรื้อรังที่ส่งต่อผ่านทางพันธุกรรม เป็นต้น

การพักฟื้นหลังจากการตรวจชิ้นเนื้อ

การตรวจชิ้นเนื้อเป็นกระบวนการที่ตรงไปตรงมาที่มีการใช้ยาชา ส่วนมากมักเป็นกระบวนการกับผู้ป่วยนอกทำให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล แต่สำหรับการผ่าวินิจฉัยบางกรณีที่ต้องเจาะนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากอวัยวะภายใน ซึ่งต้องมีการใช้ยาระงับประสาท และต้องให้ผู้ป่วยพักฟื้นจากฤทธิ์ยาที่โรงพยาบาลก่อน

หลังจากการตรวจชิ้นเนื้อผู้ป่วยจะไม่หลงเหลือความรู้สึกเจ็บปวดใด ๆ แต่หากเป็นการนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากอวัยวะสำคัญอย่างตับหรือไขกระดูก ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวได้ ซึ่งทางแพทย์หรือศัลยแพทย์มักจะจ่ายยาแก้ปวดไว้เพื่อบรรเทาอาการ

หากการผ่าวินิจฉัยต้องทำการกรีดผิวหนัง แพทย์ต้องทำการปิดแผลกรีดด้วยการเย็บ ซึ่งอาจมีการตกแต่งแผลไว้ให้กับคนไข้เช่นกัน

หากมีการนำเนื้อเยื่อออกจากอวัยวะภายใน อย่างเช่นตับหรือไต ผู้ป่วยอาจต้องพักที่โรงพยาบาลเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังเสร็จสิ้นการผ่า เพื่อให้แพทย์สอดส่องอาการเผื่อเอาไว้ ซึ่งมีไม่บ่อยนักที่การผ่าวินิจฉัยจะก่อให้เกิดภาวะเลือดออกรุนแรง หากเกิดขึ้น แพทย์จะได้พาผู้ป่วยไปถ่ายเลือดทันที หรือหากสถานการณ์เลวร้ายกว่าที่คาด (ซึ่งหายากมาก ๆ ) อาจต้องมีการผ่าตัดรักษาขึ้น

ผู้หญิงที่ผ่านการตรวจชิ้นเนื้อเยื่อจากระบบสืบพันธุ์อย่างการผ่าวินิจฉัยที่ปากมดลูก อาจมีอาการเลือดออกจากช่องคลอดชั่วคราว ซึ่งแพทย์จะให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดไว้


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Biopsy: Purpose, Types, and Risks. Healthline. (https://www.healthline.com/health/biopsy)
Biopsy: Types of biopsy procedures used to diagnose cancer. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cancer/in-depth/biopsy/art-20043922)
Biopsy: Types, What to Expect, and Uses. WebMD. (https://www.webmd.com/cancer/what-is-a-biopsy#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)