การบำบัดโรคเอดีเอชดีคืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การบำบัดโรคเอดีเอชดีคืออะไร

การบำบัดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาในผู้ป่วยวัยรุ่นที่เป็นโรคเอดีเอชดีส่วนใหญ่ หากคุณต้องเข้ารับการบำบัด คุณจะมีนัดพบกับนักบำบัดเป็นประจำเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเป็นโรคเอดีเอชดี 

ในระหว่างการบำบัดผู้ป่วยจะได้เรียนรู้ทักษะที่บกพร่องจากการเป็นโรคเอดีเอชดีเช่นการฟังและการใส่ใจสิ่งรอบข้างให้ดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดีเอชดีบางคนอาจจะได้รับการบำบัดอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าการทำกิจกรรมบำบัด การบำบัดนี้จะช่วยทักษะเช่นการทรงตัวหรือการเขียนหนังสือที่มีปัญหาจากการเป็นโรคเอดีเอชดีหรือโรคการเรียนรู้ช้า

การรักษาโรคเอดีเอชดีนั้นมักมีการใช้ยา ยาเหล่านี้จะเพิ่มการทำงานของสมองและทำให้สามารถใส่ใจสิ่งต่างๆควบคุมตนเองและกระสับกระส่ายลดลง ยานี้จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อใช้ร่วมกับการบำบัดเพื่อสอนวิธีการใช้ทักษะต่างๆ

ทำไมผู้ป่วยจึงต้องการบำบัด

การบำบัดนั้นจะช่วยให้วัยรุ่นที่เป็นโรคเอดีเอชดีใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียนและที่บ้านได้ดีขึ้นตัวอย่างเช่นผู้ป่วยจะเรียนรู้

การตั้งสมาธิกับบทเรียน

  • การฟังและให้ความสนใจกับสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
  • การเข้าสังคมกับคนอื่น
  • มีปัญหาพฤติกรรมลดลง

ผู้ป่วยบางคนอาจต้องการการบำบัดเพื่อลดอารมณ์ที่รุนแรงซึ่งเกิดจากโรคเอดีเอชดีตัวอย่างเช่นผู้ป่วยอาจรู้สึกสูญเสียความมั่นใจหรือรู้สึกว่าตัวเองทำให้คนรอบข้างหงุดหงิดซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการซึมเศร้าหรือกังวลและกระสับกระส่ายได้เมื่อผู้ป่วยได้เรียนรู้ทักษะที่จะจัดการกับโรคเอดีเอชดีแล้วพวกเขาก็จะสามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้นการบำบัดนี้ยังช่วยให้พวกเขามีความสุขและมีความมั่นใจมากขึ้นอีกด้วย

การบำบัดโรคเอดีเอชดีนั้นจะช่วยได้อย่างไร

ในการบำบัดนั้นผู้ป่วยจะได้เรียนรู้จากการทำ นักบำบัดจะใช้กิจกรรมและแนวต่างๆเพื่อเน้นการสร้างทักษะที่ผู้ป่วยต้องการเช่นทักษะการเรียน ทักษะการใส่ใจกับอารมณ์ของคนรอบข้างหรือการหายใจ

ในระหว่างการบำบัดหากผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บำบัดนั้นก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีกำลังใจและได้รับการสนับสนุนในระหว่างที่เรียน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในระหว่างการบำบัดนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ในช่วงแรกของการบำบัดนักบำบัดจะเริ่มจากการพูดคุยถามคำถาม และฟังถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรคเอดีเอชดี ก่อนที่จะร่วมกันวางแผนการรักษาเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการพัฒนา

ในระหว่างการบำบัดผู้ป่วย นักบำบัดอาจจะ

พูดคุย: นักบำบัดมักจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของตนซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจความรู้สึกเหล่านี้และแสดงมันออกมาในรูปแบบของการพูดแทนการ กระทำ การพูดและการฟังจะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจผู้ป่วยและเปิดใจรับผู้ป่วย นอกจากนั้นยังช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะใส่ใจและตั้งใจฟังมากขึ้น

ทำกิจกรรมช่วยสอน: นักบำบัดมักจะมีการสอนบทเรียนต่างๆเกี่ยวกับอารมณ์การจัดการกับกิจกรรมที่โรงเรียน การเรียนหรือการทำความเข้าใจผู้อื่นซึ่งอาจมีกิจกรรมหรือแบบฝึกหัดเพื่อทำให้การเรียนเหล่านี้น่าสนใจมากขึ้น

ฝึกฝนทักษะใหม่ๆ: นักบำบัดมักจะสอนทักษะต่างๆเช่นการทำสมาธิและการฝึกหายใจ ทักษะเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยสงบลงและมีสมาธิดีขึ้น ในระหว่างการบำบัดนักบำบัดจะให้ผู้ป่วยเรียนรู้จากการทำ

การแก้ปัญหา: นักบำบัดจะถามผู้ป่วยเกี่ยวกับปัญหาที่โรงเรียนและที่บ้านซึ่งเกิดจากการเป็นโรคเอดีเอชดีก่อนที่จะเริ่มพูดคุยถึงปัญหาดังกล่าวและหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการบำบัดโรคเอดีเอชดีนานเท่าไหร่

ระยะเวลาที่ต้องบำบัดนั้นจะขึ้นกับเป้าหมายของการรักษาส่วนมากนักบำบัดจะนัดพบคุณสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลาติดต่อกันหลายเดือน

คุณจะช่วยตัวเองได้อย่างไร

การเป็นโรคเอดีเอชดีนั้นไม่ใช่ความผิดของคุณแต่มันมีทักษะหลายอย่างที่คุณสามารถเรียนรู้ได้จากการบำบัดที่จะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณพัฒนาสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากการบำบัด

  • เตรียมพร้อมที่จะเติบโต แม้ว่าคุณจะเป็นโรคเอดีเอชดีคุณก็สามารถมีสมาธิอารมณ์และพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้
  • ขอความช่วยเหลือ บอกผู้ปกครอง ครูหรือและเพื่อนเพื่อขอความช่วยเหลือและการสนับสนุนนอกจากนั้นนักบำบัดก็สามารถช่วยคุณได้เช่นกัน
  • หากคุณรับประทานยาให้รับประทานตามที่แพทย์สั่งตามเวลาและขนาดที่กำหนด
  • เน้นข้อดีของคุณ ลองใช้เวลาในการสังเกตและพัฒนาฝึกฝนสิ่งที่เป็นข้อดีของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
  • ดูแลสุขภาพตัวเอง ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์และนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ฝึกเทคนิคการหายใจและการทำสมาธิ

8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ADHD (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/adhd.html)
What is ADHD?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/ncbddd/adhd/facts.html)
What Is ADHD? Attention Deficit Hyperactivity Disorder Overview. WebMD. (https://www.webmd.com/add-adhd/childhood-adhd/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ก้าวข้ามความรู้สึกท้อถอยจากการเล่นกีฬา
ก้าวข้ามความรู้สึกท้อถอยจากการเล่นกีฬา

การกำจัดความเหนื่อยล้าจากเล่นกีฬาหมายถึงการหยุดพักเสียหน่อย แต่เราต้องหยุดพักอย่างไร ?

อ่านเพิ่ม