อะซิทิลคอลีนคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

อะซีทิลคอลีน (Acetylcholine) เป็นสารสื่อประสาทที่สร้างขึ้นภายในสมอง มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ การคิด และกระบวนการทำงานของความจำ หรือความสามารถของสมองในการเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว 

การมีปัญหาเกี่ยวกับการสร้างและการใช้อะซิทิลคอลีน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะทางการแพทย์หลายชนิด เช่น โรคความจำเสื่อม หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตัวรับ Acetylcholine คืออะไร?

ตัวรับอะซิทิลคอลีน เป็นโปรตีนที่จับกับอะซีทิลคอลีน ทำให้สามารถส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้ ยาที่ส่งผลต่อตัวรับสารสื่อประสาทชนิดนี้ มีใช้ทางการแพทย์มากมาย โดยยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับอะซิทิลคอลีนจะเรียกว่าอะโกนิสต์ (Agonist) ในขณะที่ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของตัวรับจะเรียกว่าแอนตาโกนิสต์ (Antagonist)

Acetylcholine กับโรคอัลไซเมอร์

ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะผลิตสารสื่อประสาทชนิดนี้ลดลง จึงต้องใช้ยาที่ออกฤทธิ์โดยการหยุดกระบวนการสลายของอะซิทิลคอลีนในสมอง (Cholinesterase inhibitors) ยากลุ่มนี้อาจช่วยป้องกันอาการเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ช้าลง เช่น อาการกระสับกระส่าย เห็นภาพหลอน หรือสับสนได้ในระยะเวลาช่วงหนึ่ง อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้อาจมีประสิทธิภาพลดลง หากสมองสร้าง สารดังกล่าวน้อยลงเรื่อยๆ

Acetylcholine ในอาหารและอาหารเสริม

ไม่มีอาหารหรืออาหารเสริมชนิดใดที่มีส่วนผสมของอะซิทิลคอลีน แต่อาหารที่มีคอลีน (Choline) สูง เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ เนื้อปลา และธัญพืช อาจช่วยเพิ่มระดับของสารสื่อประสาทชนิดนี้ในสมองได้ 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medicalnewstoday.com, Acetylcholine (https://www.medicalnewstoday.com/articles/326638.php), October 11, 2019
ncbi.nlm.nih.gov, Acetylcholine (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK11143/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)