กลูเตน (Gluten)

กลูเตน (Gluten) คืออะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กลูเตน (Gluten)

กลูเตน (Gluten) เป็นชื่อของโปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเสมือน 'กาว’ ในการเชื่อมส่วนของอาหารไว้ด้วยกัน พบได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะในธัญพืชกลุ่ม ดังต่อไปนี้

  • ข้าวสาลี
  • ข้าวไรย์
  • ข้าวบาร์เลย์
  • ทริทีเคลี (Triticale)[1]

นอกจากนี้ กลูเตนสามารถพบได้ในอาหารทั่วไป รวมถึงยาเม็ดหรือยาแคปซูลบางชนิด ดังนั้นหากคุณจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงกลูเตน จึงควรศึกษาฉลากสินค้าหรือฉลากยาอย่างละเอียดก่อนรับประทานทุกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หอสมุดแพทย์แห่งชาติในประเทศสหรัฐอเมริกาได้แนะนำ 2 แหล่งข้อมูลหลัก ที่คุณสามารถศึกษาองค์ประกอบในยาต่างๆ ได้ คือ Pillbox และ DailyMed แต่ต้องคำนึงไว้เสมอว่า ไม่ใช่ยาทุกชนิดที่จะมีรายละเอียดชี้แจง ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ว่ายาที่คุณได้รับมีกลูเตนเป็นองค์ประกอบหรือไม่

การรับประทานอาหารปราศจากกลูเตน

การรับประทานอาหารปราศจากกลูเตน คือการรับประทานอาหารที่มีปริมาณกลูเตนอยู่น้อยมาก มักใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคเซลีแอค (Celiac disease) เนื่องจากโรคเซลิแอค เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ลำไส้เล็กของผู้ป่วยได้รับความเสียหาย ทำให้เมื่อร่างกายของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับกลูเตน จะทำให้สำไส้เล็กเกิดการอักเสบ และอาจส่งผลในระยะยาวให้เกิดความเสียหายต่อผนังสำไส้เล็ก ทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ไม่เต็มที่ มีผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา เช่น กระดูกพรุน มีบุตรยาก เส้นประสาทเสียหาย หรือชัก เป็นต้น

นอกเหนือจากโรคเซลีแอคแล้ว ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งร่างกายไวต่อกลูเตนมากกว่าปกติ แต่ไม่ถึงขั้นเป็นโรค เมื่อคนกลุ่มนี้ได้รับกลูเตน จะทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง และอาการจะดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหารปราศจากกลูเตน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีกระแสเกี่ยวกับการรับประทานอาหารปราศจากกลูเตนมากขึ้น ด้วยเหตุผลอื่นๆ นอกเหนือจากปัญหาการแพ้กลูเตน เช่นเพื่อการลดน้ำหนัก เพื่อการสร้างพลังงาน เพื่อการรักษาภาวะออทิสติก หรือบางคนอาจเชื่อว่าช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยหรือหลักฐานที่แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการรับประทานอาหารปราศจากกลูเตนกับผลที่เกิดขึ้น

ก่อนการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลูเตน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากอาหารหลายชนิดที่มีกลูเตนเป็นองค์ประกอบ มีสารอาหารอื่นที่จำเป็นต่อร่างกายด้วย เช่น วิตามินบี  กรดโฟลิก และไฟเบอร์ ซึ่งการได้รับสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้จากอาหารอื่นจะสามารถช่วยชดเชยการขาดสารอาหารจากการกินอาหารปราศจากกลูเตนได้

อาหารปราศจากกลูเตน

อาหารที่ปราศจากกลูเตนตามธรรมชาติ หมายถึง หากอาหารเหล่านี้ไม่ผ่านกระบวนการผลิตใดๆ และไม่มีการปรุงแต่งรสชาติหรือใส่สารกันเสียที่มีส่วนผสมของกลูเตน อาหารเหล่านี้จะปราศจากกลูเตนโดยสิ้นเชิง ซึ่งมีอาหาร ดังต่อไปนี้

  • ถั่วชนิดต่างๆ
  • เมล็ดพืช
  • เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และอาหารทะเล
  • ผักและผลไม้สด
  • ผลิตภัณฑ์จากนม

ส่วนอาหารประเภทแป้งที่ปราศจากกลูเตน ได้แก่

  • ข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด มันฝรั่ง
  • แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวฟ่าง แป้งท้าวยายม่อม แป้งซอร์กัม[2]
  • ถั่วเหลืองหรือแป้งจากถั่วอื่นๆ
  • แป้งจากผักโขม (Amaranth)
  • บัควีท (Buckwheat)[3]
  • คอร์นมีล (Cornmeal)[4]
  • เมล็ดแฟล็ก (Flax)
  • โฮมินี (Hominy)[5]
  • ควินัว (Quinoa)[6]

[1] ทริทิเคลี คือ พืชลูกผสมระหว่างข้าวสาลีกับข้าวไรย์
[2] แป้งซอร์กัม คือ แป้งจากการบดเมล็ดซอร์กัม
[3] บัควีท คือ พืชชนิดหนึ่ง เมื่อนำเมล็ดมาทำเป็นแป้งจะมีกลิ่นคล้ายแป้งสาลี นิยมนำมาประกอบอาหาร
[4] คอร์นมีล คือ แป้งที่ทำจากข้าวโพดรูปแบบหนึ่ง ลักษณะแตกต่างจากแป้งข้าวโพด
[5] โฮมินี คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเมล็ดข้าวโพดรูปแบบหนึ่ง จัดเป็นอาหารอเมริกันพื้นเมือง
[6] ควินัว คือ พืชชนิดหนึ่งในตระกูลหัวบีท พบมากในทวีปอเมริกาใต้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adda Bjarnadottir, What is gluten, and why is it bad for some people? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318606.php) 3 June 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป