กรดโฟลิก และโฟเลท

เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กรดโฟลิก และโฟเลท

กรดโฟลิก (folic acid) และโฟเลท (folate) ต่างกันอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วเราจะใช้คำว่า โฟเลท เป็นชื่อสามัญสำหรับกลุ่มของสารเคมีที่มีโครงสร้างพื้นฐานมาจากกรดโฟลิก โฟเลทหรือวิตามินบี 9 เป็นหนึ่งใน 13 วิตามินจำเป็นที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี 9 ขึ้นมาเองได้ ส่วนกรดโฟลิก จะหมายถึงสารที่สังคราะห์ขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้งโฟลิกและโฟเลทไม่ได้อยู่ในรูปที่ร่างกายพร้อมใช้งาน แต่สารทั้งสองจะต้องผ่านกระบวนการเมทาบอลิซึมของร่างกายให้อยู่ในรูปของ L-5-methyltetrahydrofolate (L-methylfolate) สำหรับใช้ในกระบวนการทางชีววิทยาของร่างกายต่อไป

กรดโฟลิกจำเป็นต่อหญิงตั้งครรภ์อย่างไร

กรดโฟลิกนั้นมีความจำเป็นสำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. กรดโฟลิกกับการป้องกันหลอดประสาทไม่ปิดในทารก

การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิกสามารถป้องกันหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defect; NTD) กับทารกที่อยู่ในครรภ์ในหญิงที่มีแผนตั้งครรภ์ หรือหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ภาวะ NTD คือความผิดปกติในการสร้างหลอดประสาท มีผลต่อไขสันหลังและสมอง เป็นภาวะที่เกิดในช่วงระยะแรกของการพัฒนาเป็นฟีตัส ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ฟีตัสมีพัฒนาการในการสร้างไขสันหลังและสมอง ถ้าหากมีความผิดพลาดของพัฒนาการฟีตัสในช่วงนี้จะส่งผลต่อความผิดปกติของสมองและไขสันหลังของทารกหลังคลอด อาจทำให้สมองขาดหายไป (anencephaly) หรือเกิดเป็นภาวะที่กระดูกสันหลังไม่เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนเพื่อล้อมไขสันหลัง ทำให้เกิดการโป่งออกของเหลวบริเวณไขสันหลัง เรียกว่า spina bifida

การรับประทานกรดโฟลิกเสริมได้แก่จากวิตามินรวม และจากธัญพืชที่ผ่านกระบวนการเสริมกรดโฟลิกมาแล้ว อย่างแป้ง ซีเรียล หรือพาสตา ก็สามารถป้องกันการเกิด NTD ในทารกได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐอเมริกามีข้อแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงในการเกิด NTD (ได้แก่ ตัวคุณแม่หรือบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็น NTD มีบุตรคนก่อนหน้าเป็น NTD หรือได้รับยาต้านการชัก) ให้ได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิก 5 มิลลิกรัมต่อวันก่อนการตั้งครรภ์ ในระหว่างช่วงการตั้งครรภ์ และหลังการตั้งครรภ์ และข้อแนะนำสำหรับหญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ให้ได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิก 0.4 ถึง 1 มิลลิกรัม ต่อวัน อย่างน้อย 2 ถึง 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ ในระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังการตั้งครรภ์

2. กรดโฟลิกกับการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

การคลอดก่อนกำหนด (preterm birth; PTB) หมายถึงการคลอดก่อนระยะครรภ์ 37 สัปดาห์ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและการเป็นโรคของทารกหลังคลอด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้นของระบบทางเดินหายใจ ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาทส่วนกลาง หรือส่งผลในระยะยาว คือการทำงานของกล้ามเนื้อ พฤติกรรมการเรียนรู้ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท มีหลักฐานการศึกษาสนับสนุนว่าโฟเลตมีความสำคัญกับระยะเวลาการตั้งครรภ์ และส่งผลอย่างมีนัยสำคัญในการลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ ทารกมีน่ำหนักหลังคลอดน้อย ภาวะทารกตัวเล็ก และภาวะโลหิตจางในมารดา ยังมีการศึกษาถึงการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิกว่าสามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดการแท้ง ความผิดปกติของอวัยวะในทารก การตั้งครรภ์แฝด และการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ ข้อมูลในปัจจุบันสนับสนุนว่านอกจากขนาดของกรดโฟลิกที่ได้รับแล้ว ขนาดที่ได้รับนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน และมีความเสี่ยงต่ำที่สุดในหญิงที่มีรายงานการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์ 1 ปี

3. ประโยชน์อื่นของการได้รับกรดโฟลิก

นอกเหนือจากการป้องกันภาวะ NTD และการคลอดก่อนกำหนดแล้ว การได้รับกรดโฟลิกในระหว่างตั้งครรภ์สามารถก่อให้เกิดประโยชน์อื่น ได้แก่ หัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart disease) และเพดานโหว่ (oral cleft) โดยกลไกที่กรดโฟลิกใช้สำหรับป้องกันการเกิดความผิดปกติของอวัยวะนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมเมทาบอลิซึมของโฮโมซิสเตอีน

แม้ว่ายังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบในส่วนของระยะเวลาที่ควรได้รับ ขนาด และตำรับยา แต่ข้อมูลในปัจจุบันก็เพียงพอต่อการสนับสนุนว่าการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิกนั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับหญิงในวัยเจริญพันธุ์ รวมถึงหญิงที่มีการวางแผนจะตั้งครรภ์ อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ และหลังจากการตั้งครรภ์


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Folate vs Folic Acid - Facts About Vitamin B. American Pregnancy Association. (https://americanpregnancy.org/infertility/folate-vs-folic-acid-what-you-need-to-know/)
What is the difference between folate and folic acid?. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/qa/what-is-the-difference-between-folate-and-folic-acid)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป