Cellulitis คืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Cellulitis คืออะไร

Cellulitis นั้นเป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังซึ่งพบได้บ่อย โดยอาจจะเริ่มจากการที่ผิวหนังนั้นมีสีแดง บวม และร้อนเมื่อจับได้ ก่อนที่จะลามอย่างรวดเร็ว ส่วนมากมักมีอาการปวด

ในผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดที่ขาเพียงข้างเดียว แต่การติดเชื้อนี้สามารถเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดในร่างกายก็ได้ ส่วนมากมักเกิดที่ผิวหนังแต่ก็อาจจะเกิดที่เนื้อเยื่อชั้นที่ลึกลงไปใต้ผิวหนังก็ได้ และยังสามารถแพร่กระจายผ่านต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อนั้นอาจจะยิ่งแพร่กระจายและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที

อาการของโรค cellulitis

อาการของโรคนี้อาจจะประกอบด้วย

  • อาการปวดและบวมที่บริเวณดังกล่าว
  • ผิวหนังแดงหรืออักเสบ
  • มีอาการปวดหรือเป็นผื่นที่ผิวหนังที่ลามอย่างรวดเร็ว
  • รู้สึกอุ่นที่บริเวณที่มีอาการ
  • ตรงกลางของบริเวณดังกล่าวนั้นมีหนอง
  • มีไข้

อาการบางอย่างที่อาจจะแสดงว่ามีการติดเชื้อที่รุนแรงเช่น

อาการต่อไปนี้อาจจะแสดงว่าโรคกำลังลามไปยังบริเวณอื่น

  • ง่วงนอน
  • อ่อนเพลียไม่มีแรง
  • มีตุ่มน้ำ
  • มีรอยเส้นสีแดง

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังที่กล่าวไป

ปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค cellulitis

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Cellulitis นั้นเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียบางชนิดนั้นเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยแยกหรือแผลที่ผิวหนัง ส่วนมากมักเกิดจากแบคทีเรียสายพันธุ์ Staphylococcus และ Streptococcus

การบาดเจ็บที่ผิวหนังเช่นมีแผล มีแมลงกัดต่อย หรือการผ่าตัดนั้นมักจะเป็นบริเวณที่เกิดการติดเชื้อได้บ่อย ปัจจัยต่อไปนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้

ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยประกอบด้วย

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • โรคทางผิวหนังที่ทำให้ผิวหนังแตกเช่นผิวหนังอักเสบและติดเชื้อราที่เท้า
  • การให้สารน้ำทางเส้นเลือด
  • โรคเบาหวาน
  • เคยมีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน

การวินิจฉัยโรค

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคได้จากการมองเห็น แต่มักจะต้องทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค เช่น

  • การดูการบวมของผิวหนัง
  • ความแดงและอุ่นของบริเวณดังกล่าว
  • มีต่อมน้ำเหลืองโต

แพทย์อาจจะเลือกติดตามอาการสักระยะหนึ่งเพื่อดูว่ามีการลามหรือไม่ขึ้นกับความรุนแรงของอาการที่คุณเป็น ในบางกรณีแพทย์อาจจะทำการตรวจเลือดและเพาะเชื้อจากแผลเพื่อดูว่ามีเชื้อแบคทีเรียหรือไม่

การรักษา

แพทย์มักจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ 10-21 วันเพื่อรักษาโรคนี้ ระยะเวลาที่ใช้ยานั้นจะขึ้นกับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น และถึงแม้ว่าอาการของคุณจะดีขึ้นแล้วแต่ก็ยังต้องรับประทานยาจนครบ ระหว่างที่รับประทานยาควรสังเกตว่าอาการของคุณดีขึ้นหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วอาการมักจะดีขึ้นและหายไปได้ในเวลาไม่กี่วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบางรายอาจจะมีการให้ยาแก้ปวดร่วมด้วย คุณควรจะพักจนกว่าอาการจะดีขึ้น เวลาที่คุณพักคุณควรยกแขน/ขาข้างที่มีอาการขึ้นสูงกว่าหัวใจเพื่อลดอาการบวม

ควรไปพบแพทย์ทันทีหากอาการของคุณยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 วันหลังจากเริ่มการรักษา หรือหากอาการแย่ลงหรือมีไข้

โรคนี้มักจะหายภายในเวลา 7-10 วันหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะ แต่อาจจะต้องได้รับการรักษาที่นานขึ้นหากการติดเชื้อนั้นรุนแรง เช่นหากคุณเป็นโรคเรื้อรังหรือระบบภูมิคุ้มกันนั้นบกพร่อง

ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังบางโรคหรือมีปัจจัยเสี่ยงอาจจะต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการระหว่างการรักษา เช่น

  • หากคุณมีอุณหภูมิกายสูง
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีการติดเชื้อที่ไม่ดีขึ้นหลังจากให้ยาปฏิชีวนะ
  • มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากโรคประจำตัวอื่นๆ
  • ต้องใช้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดหากการใช้ยากินนั้นไม่ได้ผล

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีการติดเชื้อลามไปทั่วร่างกาย เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดได้ ในบางกรณีอาจจะเข้าสู่เนื้อเยื่อชั้นที่ลึกขึ้นได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ประกอบด้วย

  • การติดเชื้อในกระแสเลือด
  • การติดเชื้อที่กระดูก
  • ทางเดินน้ำเหลืองอักเสบ
  • เนื้อเยื่อนั้นตายหรือขาดเลือด

การป้องกัน

หากคุณมีแผลที่ผิวหนัง ให้ทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวทันทีและใช้ยาปฏิชีวนะแบบทาเป็นประจำ ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์และทำความสะอาดทุกวันจนกว่าจะเป็นสะเก็ด สังเกตว่ามีอาการแดง มีสารคัดหลั่งหรือปวดที่แผลหรือไม่เพราะเป็นอาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ

ผู้ที่มีระบบไหลเวียนเลือดไม่ดีหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ควรติดตามอาการและดูแลแผลอย่างใกล้ชิดเช่น

  • ดูแลให้ผิวหนังชุ่มชื้นเพื่อป้องกันการแตก
  • รีบรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังเช่นการติดเชื้อราที่เท้า
  • ใส่อุปกรณ์ป้องกันเวลาทำงานหรือออกกำลังกาย ตรวจดูเท้าเป็นประจำว่ามีแผลหรือติดเชื้อหรือไม่

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alana Biggers, M.D., MPH, What you need to know about cellulitis (https://www.medicalnewstoday.com/articles/152663.php), August 19, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)