เลือดไหลไปยังสมองลดลง เกิดจากอะไร? ที่นี่มีคำตอบ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เลือดไหลไปยังสมองลดลง เกิดจากอะไร? ที่นี่มีคำตอบ

Vertebrobasilar circulatory disorders คือ ภาวะที่ทำให้เลือดไหลไปยังสมองด้านหลังลดลง ทำให้สมองขาดเลือด และทำให้ผู้ป่วยเวียนศีรษะและพูดไม่ค่อยชัด หากมีสิ่งใดที่หยุดหรือขัดขวางการไหลเวียนของเลือดตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย มันก็จะเรียกว่า การขาดเลือดเฉพาะที่ (Ischemia) ถ้าเกิดขึ้นที่สมอง มันก็สามารถทำให้เซลล์สมองเสียหาย และนั่นก็จะทำให้ปัญหาสุขภาพตามมา

สาเหตุ

มีหลายสาเหตุที่ทำให้เลือดไหลไปยังสมองไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น เส้นเลือดตีบ เส้นเลือดอุดตัน เลือดจับตัวเป็นลิ่ม เส้นเลือดฉีกขาด ฯลฯ อย่างไรก็ดี ภาวะหลอดเลือดแข็งเป็นสาเหตุทั่วไปของการมีเส้นเลือดตีบหรืออุดตัน ซึ่งเกิดจากการมีไขมันหรือคราบพลัคสะสมภายในเส้นเลือดแดง ทั้งนี้คราบพลัคมีคอเลสเตอรอลและแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เส้นเลือดแดงแข็ง การสะสมของคราบพลัคและการแข็งตัวของหลอดเลือดจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการ

อาการของคนที่เลือดไหลไปยังสมองน้อยมีความคล้ายคลึงกับคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หากมีอาการที่เราจะกล่าวหลังจากนี้ คุณควรรีบไปพบแพทย์

  • พูดไม่ชัด
  • แขนขาอ่อนแรงแบบฉับพลัน
  • กลืนยากขึ้น
  • สูญเสียความสามารถในการทรงตัว
  • สูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือทั้งหมด หรือมองเห็นภาพซ้อน
  • เวียรศีรษะหรือรู้สึกหมุน
  • เหน็บชา
  • สับสน
  • อาเจียนหรือคลื่นไส้

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว แต่การมีหลอดเลือดที่ตีบแคบหรืออุดตันมักไม่แสดงอาการออกมา

ภาวะแทรกซ้อน

1.โรคหลอดเลือดสมอง

เซลล์สมองจะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นหากเลือดไหลเวียนไปยังสมองลดลงหรือหยุดไหล ซึ่งมันจะไปยับยั้งไม่ให้สมองทำงานได้ตามปกติ หากเลือดไม่ไหลเวียนเป็นเวลานาน มันก็สามารถทำให้เซลล์สมองเสียหายหรือตาย และนั่นก็สามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง

2.ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ

ลิ่มเลือดหรือชิ้นส่วนของพลัคที่ติดอยู่ตามผนังของเส้นเลือดแดงสามารถทำให้เส้นเลือดอุดตัน หากเกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ มันก็อาจทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ แม้ว่าภาวะดังกล่าวไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวร แต่มันก็เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งอาการจะคงอยู่เพียงแค่ไม่กี่นาที ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน อ่อนแอ เหน็บชา สูญเสียการทรงตัว หรือปวดศีรษะแบบฉับพลันและรุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3.โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง

เส้นเลือดในสมองสามารถอ่อนแอและบวม เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง อย่างไรก็ดี ตัวการที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวคือ การมีความดันโลหิตสูง การมีหลอดเลือดตีบ หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ หากเส้นเลือดในสมองแตก มันก็สามารถทำให้เลือดไหลในสมอง และทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย

ปัจจัยเสี่ยง

  • เพศ
  • อายุ
  • ประวัติของคนในครอบครัวและพันธุกรรม
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหลอดเลือดแดง
  • การสูบบุหรี่
  • การไม่ออกกำลังกายและโรคอ้วน

อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรค Vertebrobasilar circulatory disorders อาจเลือกที่จะปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้การเลิกสูบบุหรี่ การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอล และการออกกำลังกายเป็นประจำก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ทั้งนี้แพทย์อาจจ่ายยาที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลหรือควบคุมความดันโลหิต

แพทย์วินิจฉัยอย่างไร?

นอกจากแพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการและประวัติการเป็นโรคแล้ว แพทย์ก็อาจใช้วิธีดังนี้

1.อัลตราซาวด์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การอัลตราซาวด์เพื่อดูเส้นเลือดแดงเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม ซึ่งมันไม่ทำให้ผิวเสียหาย หรือส่งผลต่ออวัยวะภายในร่างกาย แพทย์จะใช้เจลใสทาที่ผิว แล้วใช้อุปกรณ์เคลื่อนผ่านอย่างเบามือ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งคลื่นเสียงที่สะท้อนเส้นเลือดแดงจนทำให้เกิดภาพ และทำให้เรารู้ว่าเส้นเลือดอุดตันหรือมีลิ่มเลือดหรือไม่

2.การทำ MRI (Magnetic resonance imaging)

MRI ช่วยให้เราเห็นภาพในสมองได้อย่างชัดเจน ซึ่งแพทย์แนะนำวิธีนี้สำหรับคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือคนที่เป็นโรคที่คล้ายกันในอดีต อย่างไรก็ดี การทำ MRI จะทำให้เห็นหลอดเลือด Vertebral และ Basilar รวมถึงทำให้เห็นการอุดตันหรือเห็นการโป่งพองของหลอดเลือด

3.เอ็กซเรย์

เส้นเลือดแดงมักไม่ปรากฏบนภาพเอ็กซ์เรย์ แต่การจะรู้ว่าเส้นเลือดแดงเสียหายหรืออุดตันหรือไม่นั้น แพทย์จะใช้สารทึบรังสีฉีดเข้าไปในหลอดเลือดแดงบริเวณคอเพื่อให้เห็นภาพ

วิธีรักษา

  • ผ่าตัด
  • ทานยาที่ช่วยรักษาภาวะหลอดเลือดตีบ
  • ทานยาที่ช่วยเจือจางเลือด
  • ทานยาที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  • ทานยาที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...322275.php


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vertebrobasilar circulatory disorders. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/001423.htm)
Vertebrobasilar circulatory disorders: Symptoms and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322275)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)