กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการเรอเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

บทความเดียวรู้ครบเรื่องเรอ ทั้งสาเหตุ พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำให้เรอ วิธีป้องกัน และการรักษาที่ถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการเรอเกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เรอ คืออาการที่มีลมในกระเพาะอาหารอะเกินไป ร่างกายจับขับกลับออกมาทางหลอดอาหาร จนหูรูดหลอดอาหารสั่นสะเทือนเป็นเสียงเรอ 
  • อาการเรอเกิดจากการกินอาหารเยอะเกินไป เร็วเกินไป อาหารย่อยไม่หมด กลืนลมเข้าไปเยอะ เช่น กินน้ำจากหลอด หายใจเร็วไป เป็นต้น
  • การรักษาสามารถทำได้โดยใช้ยาลดกรดและยาขับลม ยาเพิ่มเอนไซม์ที่ช่วยอาหารที่ย่อยมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การป้องกันสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดการพูดคุยขณะกินอาหาร เลี่ยงอาหารที่มีแก๊สเยอะอย่างน้ำอัดลม ดื่มน้ำจากแก้วแทนหลอด หากมีอาการกรดไหลย้อน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
  • ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่

ในปัจจุบันหลายๆ คนมักประสบปัญหากับอาการอาหารไม่ย่อย จนกระทั่งทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง รู้สึกแสบร้อนในท้องช่วงบน หรืออาจจะมีอาการเรอบ่อย (Belching) จนรู้สึกรำคาญตัวเอง เนื่องจากเป็นๆ หายๆ และยังทำให้เสียบุคลิกอีกด้วยเช่นกัน

 สาเหตุของอาการเรอ

สาเหตุหลักๆ ของอาการเรอคือมีปริมาณลมในกระเพาะอาหารจำนวนมาก โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยๆ คือการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในปริมาณมากเกินไป 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีแก๊สมากหรือทำให้เรอบ่อย ได้แก่ น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถั่วต่างๆ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หัวหอม บร็อกโคลี่ กล้วย ขนมปัง และอาหารที่มีแป้งกับน้ำตาลสูง

การกลืนลม (Aerophagia) ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเรอได้เช่นกัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างเช่นการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มเร็วเกินไป 

เช่น การดื่มน้ำจากหลอดดูด เคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ ใส่ฟันปลอมที่มีขนาดไม่พอดี คุยระหว่างรับประทานอาหาร มีกรดในกระเพาะอาหาร มีอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารจำนวนมากแล้วไม่ย่อย

นอกจากนี้อาการเรอยังเกิดจากการหายใจยาวหรือเร็วกว่าปกติ เด็กอ่อนที่ดูดนมแม่ ปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์อย่างเช่นความเครียดวิตกกังวล การรับประทานยาบางชนิด

เช่น ยาระบายประเภทยาซอร์บิทอลและยาแลคทูโตส ยาแก้ปวดประเภทยาไอบูโพรเฟนและยานาพรอกเซน รวมถึงความเจ็บป่วยจากโรคที่เกี่ยวกับช่องท้องและภาวะการแพ้อาหารบางชนิด

 อาการเรอมีลักษณะอย่างไร

อาการเรอจะทำให้ร่างกายขับลมออกจากกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารแล้วออกทางปาก ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนของหูรูดหลอดอาหารกลายเป็นเสียง และมีกลิ่นของอาหารที่ยังคงตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ซึ่งในกระเพาะอาหารมีลมมากเกินไปจนทำให้กระเพาะอาหารพองตัวนั่นเอง โดยการเรอจะช่วยลดการพองตัวของกระเพาะอาหารได้

 วิธีรักษาอาการเรอ

  1. ยาลดกรดและยาขับลม ช่วยในการรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก ลดอาการเรอเปรี้ยว เช่น ยาไซเมทิโคน ถ่านกัมมันต์

  2. เอนไซม์จากตับอ่อน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารที่ผิดปกติ อันเกิดมาจากภาวะการทำงานของตับอ่อนบกพร่อง เพื่อช่วยเพิ่มเอนไซม์ที่ขาดหายไป

  3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเอนไซม์ จะช่วยย่อยน้ำตาลในผักหรือธัญพืชที่ย่อยได้ยาก หรือก่อให้เกิดแก๊สปริมาณมาก

  4. ปรึกษาแพทย์ กรณีที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หรือหาโปรแกรมตรวจสุขภาพเป็นระยะ เพื่อเช็กสุขภาพร่างกายโดยรวมว่ามีสิ่งใดผิดปกติและอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหารหรือไม่ 

 วิธีป้องกันอาการเรอ

เราสามารถลดหรือบรรเทาอาการเรอด้วยตัวเองได้แบบง่ายๆ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหาร เริ่มตั้งแต่การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มให้ช้าลง 

ไม่พูดคุยขณะเคี้ยวอาหาร ลดปริมาณการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแก๊สเยอะ รวมถึงการบริโภคน้ำตาลแล็กโทส ฟรุกโทส หรือสารให้ความหวานซอร์บิทอล

สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้นมโค ให้รับประทานโยเกิร์ตแทนเพราะทำให้เกิดแก๊สได้น้อยกว่า เนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในโยเกิร์ตจะช่วยย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาในการย่อยของบางคนนั่นเอง 

ควรดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มจากแก้วแทนการใช้หลอด รวมทั้งลดการเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมและการสูบบุหรี่ จะช่วยลดการนำเอาแก๊สเข้าสู่กระเพาะอาหารได้พอสมควร

ผู้ที่ใส่ฟันปลอมควรตรวจสอบฟันปลอมอยู่เสมอว่า ใส่แล้วกระชับกับช่องปากดีหรือไม่ เพราะถ้ามีขนาดไม่พอดีจะทำให้เรากลืนอากาศเข้าไปมากขณะที่กำลังรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ

นอกจากนี้ควรทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียดหรือวิตกกังวล ก็จะช่วยบรรเทาอาการเรอได้เช่นกัน

 หากเราปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังคงมีอาการเรอ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคต่อไป เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่เราคาดไม่ถึงก็ได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
By the way, doctor: What can I do about excessive belching and feeling full?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/what-can-i-do-about-excessive-belching-and-feeling-full)
Burping & Excessive Belching: Why It Happens & How To Make It Stop. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/burping-reasons#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)