ธัญพืชมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ธัญพืชมีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

พืชที่ผู้คนทั่วโลกนิยมนำมาเป็นอาหารมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ และจัดว่าเป็นแหล่งพลังงานแก่มนุษย์มากที่สุด นั่นคือ “ธัญพืช” โดยรับประทานเป็นอาหารหลักหรือนำไปแปรรูปเป็นอาหารรูปแบบอื่น แต่จะให้ประโยชน์อย่างสูงสุดคือต้องไม่นำไปแปรรูปหรือขัดสี บี้ และบด เนื่องจากจะทำให้สารอาหารในธัญพืชนั้นถูกทำลายนั่นเอง

9 ธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ธัญพืชที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักและรับประทานกันมาก ได้แก่ ถั่วต่างๆ ข้าวโพด ลูกเดือย แมงลัก เม็ดบัว สะตอ มะม่วงหิมพานต์ งา เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงบางส่วนเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ข้าวหอมนิล

อุดมไปด้วยวิตามินบีและโฟเลตในปริมาณสูง ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง ไนอาซีนจะช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี อีกทั้งธาตุเหล็กก็ยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สร้างเม็ดเลือดแดง เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ บำรุงสายตา ลดระดับไขมันในหลอดเลือด และเสริมสร้างคอลลาเจน

2. ข้าวโพด

เป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางสารอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน มีเบต้าแคโรทีนที่ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเป็นโรคกระจกตา โฟเลตจะช่วยสร้างสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกาย ต้านโรคมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ทำให้ระบบการย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ ลดอาการท้องผูก และบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง

3. ลูกเดือย

ให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูงเช่นเดียวกับธัญพืชในกลุ่มข้าว มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยแก้ร้อนใน บรรเทาอาการกระหายน้ำ บำรุงร่างกายและอวัยวะภายใน ช่วยขับปัสสาวะและทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เพราะมีปริมาณกากใยสูง มีสารคอกซิโนไลด์ที่ช่วยยับยั้งการเกิดเนื้องอก มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการและไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงมาก

4. แมงลัก

ช่วยดูดซับขับไขมันเลวแล้วขับออกจากร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง เป็นยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระไม่เกาะลำไส้ ลดอาการท้องผูก นอกจากนี้เม็ดแมงลักยังเป็นธัญพืชที่ไม่มีพลังงาน ดังนั้นเมื่อรับประทานแล้วช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องและควบคุมอาหารได้

5. พืชตระกูลถั่ว

เป็นธัญพืชที่ให้พลังงานสูง มีโปรตีนที่ย่อยง่ายและเต็มไปด้วยแร่ธาตุมากมาย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีไขมันดีที่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล มีโอเมกา 3 ช่วยบำรุงร่างกายและหัวใจ บำรุงสมอง บำรุงเลือด ทำให้ลำไส้ทำงานตามปกติ

6. งา

เป็นธัญพืชอีกชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้รักสุขภาพ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ หลายชนิด เช่น ไบโอติน ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไอโอดีน สังกะสี และแคลเซียม เป็นต้น งาจะช่วยบำรุงร่างกาย เส้นผม และหนังศีรษะ ทำให้ร่างกายสดชื่น บำรุงสมอง ช่วยเผาผลาญไขมัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

7. เม็ดบัว

อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ช่วยบำรุงประสาท บำรุงไต รักษาอาการท้องร่วง เด่นในด้านการบำรุงเลือด บำรุงหลอดเลือดหัวใจ เป็นธัญพืชที่สามารถรับประทานสดๆ โดยไม่ต้องแกะต้นอ่อนออก และยังช่วยบำรุงถุงน้ำดี

8. เม็ดทานตะวัน

อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินอี โปรตีน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม เมื่อรับประทานบ่อยๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดภายในร่างกายดีขึ้น หัวใจทำงานเป็นปกติ บำรุงสายตา ช่วยเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้มากขึ้น

9. ลูกเกด

ถือว่าเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารไม่ด้อยไปกว่าธัญพืชชนิดอื่นๆ เป็นแหล่งรวมแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยบำรุงกระดูก ควบคุมน้ำหนัก ทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดี มีน้ำตาลฟรุกโตสที่ดูดซึมง่าย ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ยับยั้งความเสื่อมของร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับถ่าย บำรุงผิวพรรณ 

    ธัญพืชเป็นพืชที่ให้ประโยชน์ด้วยเมล็ด ซึ่งเราสามารถหามารับประทานได้ไม่ยาก อีกทั้งราคาก็ไม่แพงด้วยเช่นกัน โดยเราอาจจะประกอบเป็นอาหารคาวหวานเพื่อให้รับประทานง่ายและมีรสชาติดี หากรับประทานควบคู่กับอาหารหลักเป็นประจำ ร่างกายก็จะมีความแข็งแรงและห่างไกลโรคหลายชนิด


    5 แหล่งข้อมูล
    กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
    Whole grains and public health. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4908313/)
    Whole Grains. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/what-should-you-eat/whole-grains/)

    บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

    ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

    ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
    (1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

    บทความต่อไป